คลังความรู้

ทำไม สารกำจัดแมลง ถึงเขียนว่า “ห้ามใช้ในนาข้าว”

“ห้ามใช้ในนาข้าว” มีใครเคยเห็นคำนี้บ้างครับมันจะอยู่ตรง บนมุมซ้าย ของขวดยา หรือ กล่องยา ที่เราใช้กัน ส่วนมากจะเป็นสารพวกในกลุ่ม ไพรีทรอยด์ หรือ อะเวอร์เมกติน พวก ไซเพอร์เมทริน อะบาเมกติน นั่นเอง 💊 มันเป็นเพราะอะไรกันทำไมต้องมีข้อความเขียนด้วยว่าห้ามใช้ในนาข้าว ❓ วันนี้จะมาเล่าให้ฟัง เริ่มเรื่องเลย 😊 มันมีอยู่ว่าสารกลุ่มพวกนั้น มันไปฆ่าแมลงที่เขากินพวก ไข่พวกตัวอ่อน หรือ ว่าตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดด 🐌 พูดง่ายๆก็คือสารพวกนี้ มันจะไปกำจัดแมลงพวกนั้น ที่เป็นศัตรูพืชของเพลี้ยกระโดด อีกทีนึง ทางกรมเนี่ยเขาก็เลยกลัวว่า การควบคุมเพลี้ยกระโดดที่มันระบาด อาจทำได้ยากขึ้นหรือว่าควบคุมไม่ได้เขาก็เลยบังคับเป็นกฎหมายขึ้น ว่าต้องเขียนคำว่า ห้ามใช้ในนาข้าว กับสารกลุ่มเหล่านั้นนั่นเอง 🍂 ถ้าถามว่าสามารถใช้ได้ไหม? ก็ต้องดูว่า ในพื้นที่ที่เราอยู่ในเขตนั้นเนี่ย มันมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็สามารถใช้ได้ตามปกติเลย

ทำไม สารกำจัดแมลง ถึงเขียนว่า “ห้ามใช้ในนาข้าว” Read More »

หน่วยงานที่ส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวนของทางราชการ

การปลูกพืชไร่และพืชสวนของประเทศไทยเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน สอบัน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคและอุปโภคของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นตาม เจ้าดับ นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงความต้องการในการส่งออกขายต่างประเทศ เพื่อนํารายได้เข้ามาสู่ประเทศ จากความต้องการดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เป็นความต้องการผลผลิตจากการปลูกพืชไร่และพืชสวน ใน ปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะใช้วิธีการปลูกตามธรรมชาติ หรือตามธรรมดาอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต รัฐบาล จึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่จะส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวนขึ้น เพื่อทําให้การปลูกพืชไร่และพืชสวนได้ รับผลผลิตที่ดีเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับการปลูกพืชไร่และพืชสวนก็คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่จะรับมอบหมายหน้าที่จากรัฐบาลมา ปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลตามเป้าหมายของการส่งเสริมชาวไร่และชาวสวน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีหน่วยงานย่อยที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติเฉพาะอย่าง หน่วยงานย่อยของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนสําคัญมากในการส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวน มีดังนี้ 1. สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ หน่วยงานนี้จะมีหน่วยงานย่อยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวนอยู่ 2 หน่วยงาน คือ กองบินเกษตร กองบินเกษตรจะทําหน้าที่ช่วยในด้านการใช้เครื่องบินปฏิบัติการฉีด หรือโปรยสารเคมีที่ใช้ใน การทําลายศัตรูพืชและโรคพืช ในพื้นที่ที่ต้องการ สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวง จะมีหน้าที่ช่วยเหลือชาวไร่และชาวสวน ในขณะที่ประสบกับภาวะฝนแล้ง ซึ่งเป็นอันตราย ต่อพืช โดยจะทําให้เกิดฝนเทียมตกลงในพื้นที่ที่ประสบกับความแห้งแล้งนั้น 2. กรมชลประทาน กรมชลประทานจะทําหน้าที่ในการสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ํา และอื่น ๆ

หน่วยงานที่ส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวนของทางราชการ Read More »

(การทำพืชสวน) ปาล์มน้ํามัน ชนิด และ ประโยชน์ ของต้นปาล์ม

การทําสวนปาล์มน้ํามัน ปาล์มน้ํามันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทํารายได้มาสู่ประเทศมากเช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ก่อน ปี พ.ศ. 2516 ประเทศไทยต้องสั่งซื้อน้ํามันปาล์มมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งผลิตน้ํามันปาล์มได้มากเป็น อันดับหนึ่งของโลก แหล่งผลิตน้ํามันปาล์มของโลกที่สําคัญ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอีร์ และ โกตดิวัวร์ ปัจจุบันประเทศไทยสามารถปลูกต้นปาล์มน้ํามัน และผลิตน้ํามันปาล์มใช้เองได้อย่างพอเพียง และยังมีส่งขายต่างประเทศอีกด้วย ปาล์มน้ํามันมีประโยชน์ทั้งด้านการบริโภคและอุตสาหกรรม ใช้ทดแทนน้ํามันพืชชนิดอื่นที่มี ราคาสูงกว่า ทําให้ลดการสั่งซื้อน้ํามันพืชหลายชนิดที่สั่งจากต่างประเทศ เช่น น้ํามันถั่วเหลือง ข้าวโพด งา ถังลิสง ดอกทานตะวัน เป็นต้น ประมาณ 1/4 ของน้ํามันที่ใช้บริโภคในประเทศได้มาจากน้ํามัน ปาล์ม สาเหตุที่ทําให้มีผู้นิยมบริโภคน้ํามันปาล์มมากขึ้น เนื่องจากวงการแพทย์ค้นพบว่าน้ํามันปาล์มมี ปริมาณคอเลสเทอรอลต่ํา ธรรมชาติของต้นปาล์มน้ํามัน ต้นปาล์มน้ํามันเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับต้นมะพร้าว ต้นหมาก ต้นตาล ลําต้นตั้งตรงสูง 40-50 ฟุต อายุยืน 50-60 ปี แต่ชาวสวนปาล์มนิยมเก็บผลปาล์มในระยะ 20-25 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นก็โค่นปลูกใหม่ เนื่องจากปาล์มที่มีอายุมากจะให้ผลผลิตต่ําไม่คุ้มกับการลงทุน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว ดอกปาล์มมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน

(การทำพืชสวน) ปาล์มน้ํามัน ชนิด และ ประโยชน์ ของต้นปาล์ม Read More »

(การทำพืชสวน) ยางพารา การปลูก กรีดยาง และการรักษา

การทําสวนยางพารา ยางพาราเป็นพืชที่สําคัญต่อประเทศไทยรองมาจากข้าว สามารถทํารายได้ให้แก่ประเทศเป็น จํานวนมาก ปัจจุบันความจําเป็นในการใช้ยางมีปริมาณสูงขึ้น เพราะในชีวิตประจําวันของคนเราจะผูก พันอยู่กับยางเสมอ เช่น ทําเสื้อกันฝน ล้อรถ อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การเรียน กระเบื้องยาง เบาะรถ และของเด็กเล่น เป็นต้น เมื่อปี พ.ศ. 2444 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นําเมล็ดยางพารามา ทดลองปลูกที่จังหวัดตรัง โดยนําเมล็ดยางมาจากประเทศมาเลเซีย ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ยางไปปลูก ในบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และระนอง โดยหลวงราชไมตรี (นายปุณ ปุณศรี) จากนั้นต้นยางก็เริ่มมี จํานวนมากขึ้นในแถบจังหวัดภาคใต้ ในปัจจุบันได้มีผู้นําไปทดลองปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยางพารามีถิ่นกําเนิดแถบลุ่มแม่น้ําแอมะซอน ซึ่งอยู่ในประเทศบราซิล คําว่าพารานั้นเป็นชื่อของเมือง ท่าเรือแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการขนส่งยางในสมัยก่อน และยังเป็นภาษาพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ด้วย เราจึงเรียกรวมกันว่า “ยางพารา” การปลูกยางพารา 1. การเพาะด้วยเมล็ด เป็นการนําเมล็ดพันธุ์ยางไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละประมาณ 23 เมล็ด ทิ้งช่วงให้ต้นยางโตได้ขนาดประมาณ 3 เดือน

(การทำพืชสวน) ยางพารา การปลูก กรีดยาง และการรักษา Read More »

(การทำพืชไร่) ฝ้าย การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ฝ้าย ฝ้ายเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปลูกขึ้นเพื่อนําเส้นใยจากผลของ ฝ่ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม เป็นต้น แต่ในสมัยก่อนปลูกกันจํานวนน้อยไว้ใช้สําหรับ ในครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้ปลูกเป็นอาชีพหรือไว้จําหน่าย ต่อมาในสมัยหลัง ๆ ประชากรเพิ่มมากขึ้น ประเทศชาติเจริญขึ้น ความต้องการผ้ายเพื่อใช้ทอเป็นเครื่องนุ่งห่มก็มีมากขึ้น การปลูกฝ้ายจึงขยายพื้นที่ ปลูกเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเป็นอาชีพเพื่อจําหน่าย จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบัน ความต้องการฝ้ายยิ่งทวี จํานวนมากขึ้น จนมีไม่เพียงพอ ต้องสั่งซื้อผ้ายจากต่างประเทศเข้ามาปีละจํานวนมาก ลักษณะของฝ้าย ฝ้ายเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีขนาดและทรงต้นไม่สูงนัก จัดอยู่ในจําพวกไม้พุ่มขนาดกลาง มีกิ่งก้าน สาขาแตกแยกออกจากลําต้นจํานวนมาก ใบของฝ่ายจะเป็นแฉก ๆ มี 3-7 แฉก ที่บริเวณใบและลําต้น จะมีขนเล็กปกคลุมแผ่ทั่วไป ดอกของฝ่ายจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนก้านใบเหนือข้อ ดอกเป็นดอก สมบูรณ์เพศ เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลีบรองหุ้มอยู่ 3 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีสีขาวหรือเหลือง ดอกมี 5 กลีบ ซ้อนกัน ดอกจะบานอยู่เพียงวันเดียว โดยจะบานในตอนเช้า และในตอนบ่ายจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือ ชมพูและจะเที่ยวในที่สุด ผลของฝ่ายจะเกิดจากดอกที่ผ่านการผสมเกสรแล้ว ผลของฝ่ายเรียกว่า “สมอ ฝ้าย”

(การทำพืชไร่) ฝ้าย การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์ Read More »

(การทำพืชไร่) ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ข้าวโพดเป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะนิยม ปลกกันอย่างแพร่หลายทั่วไป และส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศ ทํารายได้ให้ประเทศไทยปีละ จํานวนมาก ข้าวโพดเป็นพืชประเภทเดียวกันกับข้าว ข้าวฟ่าง ซึ่งใช้เมล็ดเป็นอาหาร นิยมเรียกพืช ตระกูลหญ้าที่ใช้เมล็ดเป็นอาหารนี้ว่า “ธัญพืช ประโยชน์ของข้าวโพด ข้าวโพดเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ผักสดรับประทานในรูปของ ข้าวโพดต้ม ข้าวโพดเผา ขนมข้าวโพด ฝักอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง ผัด ข้าวโพดฝักอ่อน เมล็ดข้าวโพดที่ตากแห้งแล้วนํามาคั่วเป็นข้าวโพดคั่ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก นอกจาก ข้าวโพดจะนําไปใช้เป็นอาหารคนโดยตรงแล้ว ยังแปรรูปเป็นข้าวโพดเพื่อประกอบอาหารอื่น ๆ ได้อีก หลายชนิด เช่น ส่วนต่าง ๆ ของข้าวโพดนําไปใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น ทําน้ํามันพืช ทําน้ําตาล ทําแอลกอฮอล์ ทําน้ําหอม ทํากระดาษ ทําอาหารกระป๋อง ทําสี เป็นต้น ประโยชน์ที่ สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ เมล็ดและต้นข้าวโพดสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ลักษณะของข้าวโพด

(การทำพืชไร่) ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์ Read More »

มันสำปะหลัง การดูแลรักษา ชนิดและพันธุ์ การเก็บเกียว

มันสําปะหลัง มันสําปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่ง ในจํานวนพืชไร่หลายชนิดที่ปลูกกันมากใน ประเทศไทย มันสําปะหลังเป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ในรูปของมันอัด เม็ด มันปูน ใช้ทําแป้งมั่นในการปรุงเป็นอาหารและทําขนมต่างๆ ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ทํา กาว ทําผงชูรส ทําสาคู ทําสีผสมอาหาร ทําแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นพลังงานแทนน้ํามัน เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศไทยส่งมันสําปะหลังไปจําหน่ายต่างประเทศ ทํารายได้ให้แก่ประเทศปีละ หลายล้านบาท มันสําปะหลังจัดอยู่ในประเภทไม้ยืนต้นที่มีพุ่มเตี้ย มีอายุอยู่ได้หลายปี ส่วนที่จะนํามาใช้ ประโยชน์ ได้แก่ ราก หรือที่เรานิยมเรียกว่า หัว นั่นเอง ซึ่งหัวของมันสําปะหลังจะเกิดอยู่บริเวณโคนต้น ลึกลงไปในดินประมาณ 6-8 หัว ลําต้นของมันสําปะหลังจะเป็นข้อ ๆ มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งข้อนั้นเกิด ขึ้นจากรอยแผลของก้านใบที่ร่วงหล่นไปนั่นเอง มันสําปะหลังมีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ เช่น ประเทศเม็กซิโก และบราซิล การปฏิบัติดูแลรักษา ภายหลังจากการปลูกแล้วอ้อยจะเริ่มเจริญเติบโต การที่อ้อยจะเจริญเติบโตช้าหรือเร็ว งอกงาม มากน้อย หรือจะให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดูแลรักษา เช่น การให้น้ํา ให้ปุ๋ย การพรวนดิน

มันสำปะหลัง การดูแลรักษา ชนิดและพันธุ์ การเก็บเกียว Read More »

(การทำพืชไร่) อ้อย ประโยชน์ ความสำคัญ วิธีปลูก

อ้อย อ้อย เป็นพืชที่ปลูกเพื่อใช้ทําน้ําตาลเช่นเดียวกับตาล มะพร้าว หัวผักกาดหวาน แต่อ้อยเป็นพืช ที่ให้ปริมาณน้ําตาลมากที่สุด อ้อย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง สันนิษฐานว่าอ้อยมีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบหมู่เกาะนิวกินี อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่งในบรรดาพืชไร่ทั้งหลาย ปลูกกันมากเพื่อผลิตเป็นน้ําตาล สําหรับใช้บริโภคภายในประเทศ ตลอดจนส่งเป็นสินค้าออกที่สําคัญไปจําหน่ายต่างประเทศ ทํารายได้ให้ แก่ประเทศไทยปีหนึ่งเป็นจํานวนมาก ประโยชน์และความสําคัญของอ้อย อ้อยนอกจากปลูกเพื่อผลิตน้ําตาลสําหรับใช้บริโภคเป็นหลักแล้ว อ้อยยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ อีกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรม ในปัจจุบันได้พยายามค้นคว้าส่วนต่าง ๆ ของอ้อยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น กากอ้อยนําไปผลิตเป็นวัตถุดิบสําหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น ทํากระดาษชานอ้อย หรือไม้สําหรับทําเครื่องเรือน ใช้ทําเยื่อกระดาษ ทําอาหารสัตว์ ทําปุ๋ย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังสามารถนําไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้พลังงานแก่เครื่อง ยนต์ทดแทนน้ํามันได้อีกด้วย ในสมัยโบราณถือว่าอ้อยเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง และใช้เป็นพืชประกอบในพิธีมงคลต่างๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร นครพนม หนองคาย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ และเลย เป็นต้น

(การทำพืชไร่) อ้อย ประโยชน์ ความสำคัญ วิธีปลูก Read More »

ปุ๋ยชีวภาพ

ความหมายของปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การที่นําเอาจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงดิน ทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรียวัตถุ พืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยชีวภาพในอีกความหมาย เป็นจุลินทรีย์ที่นํามาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต หรือเพิ่มความต้านทานของโรคพืช ดังนั้นจากความหมายของคําว่า “ปุ๋ยชีวภาพ” จะเห็นได้ว่าในดินทั่วๆ ไป ถ้ามีจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์อยู่แล้ว แสดงว่าในดินชนิดนั้นๆ จะมีปุ๋ยชีวภาพอยู่บ้างแล้วในปริมาณต่างๆ กัน ดินที่มีลักษณะทางชีวภาพที่ดีจึงหมายถึง ดินที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มี ประโยชน์ในการเพิ่มการเจริญเติบโตให้กับพืช ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยปรับปรุงบํารุงดินได้ อย่างมีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งก็คือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพ นอกจากความหมายของ “ปุ๋ยชีวภาพ” แล้ว มีความหมายของสิ่งที่เกี่ยวข้องซึ่งควร ทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้และซื้อหรือจําหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์” หมายถึง จุลินทรีย์ที่มีจํานวนเซลล์ต่อหน่วยสูง ซึ่งถูกเพาะเลี้ยง โดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น สารเร่งพด.-1 ของกรมพัฒนาที่ดิน “วัสดุรองรับ” หมายถึง สิ่งที่นํามาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการ ผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง” หมายถึง ปริมาณจุลินทรีย์ขั้นต่ําที่มีผู้ผลิตหรือผู้นํา หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร รับรองถึงจํานวนเซลล์รวมหรือจํานวนสปอร์รวม หรือ

ปุ๋ยชีวภาพ Read More »

การทําปุ๋ยหมักชีวภาพจากน้ําสกัดชีวภาพ

วัสดุที่ใช้ 1. มูลสัตว์แห่งละเอียด 3 ส่วน 2. แกลบดํา 1 ส่วน 3. อินทรียวัตถุอื่น ๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน 4. รําละเอียด 1 ส่วน 5. เตรียมน้ําสกัดชีวภาพ 1 ส่วน น้ําตาล 1 ส่วน : น้ํา 100 ส่วน คนจนละลายเข้ากันดี ขั้นตอนในการทําปุ๋ยหมักชีวภาพ 1. นําวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี 2. เอาส่วนผสมของน้ําสกัดชีวภาพกับน้ําตาลและน้ําใส่บัว รดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ให้มีความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือขึ้นเกินไป 3. วิธีหมักทําได้ 2

การทําปุ๋ยหมักชีวภาพจากน้ําสกัดชีวภาพ Read More »