(การทำพืชสวน) ปาล์มน้ํามัน ชนิด และ ประโยชน์ ของต้นปาล์ม

การทําสวนปาล์มน้ํามัน

ปาล์มน้ํามันเป็นพืชเศรษฐกิจที่ทํารายได้มาสู่ประเทศมากเช่นเดียวกับพืชเศรษฐกิจชนิดอื่น ก่อน ปี พ.ศ. 2516 ประเทศไทยต้องสั่งซื้อน้ํามันปาล์มมาจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งผลิตน้ํามันปาล์มได้มากเป็น อันดับหนึ่งของโลก แหล่งผลิตน้ํามันปาล์มของโลกที่สําคัญ คือ มาเลเซีย อินโดนีเซีย ซาอีร์ และ โกตดิวัวร์ ปัจจุบันประเทศไทยสามารถปลูกต้นปาล์มน้ํามัน และผลิตน้ํามันปาล์มใช้เองได้อย่างพอเพียง และยังมีส่งขายต่างประเทศอีกด้วย

การทําสวนปาล์มน้ํามัน

ปาล์มน้ํามันมีประโยชน์ทั้งด้านการบริโภคและอุตสาหกรรม ใช้ทดแทนน้ํามันพืชชนิดอื่นที่มี ราคาสูงกว่า ทําให้ลดการสั่งซื้อน้ํามันพืชหลายชนิดที่สั่งจากต่างประเทศ เช่น น้ํามันถั่วเหลือง ข้าวโพด งา ถังลิสง ดอกทานตะวัน เป็นต้น ประมาณ 1/4 ของน้ํามันที่ใช้บริโภคในประเทศได้มาจากน้ํามัน ปาล์ม สาเหตุที่ทําให้มีผู้นิยมบริโภคน้ํามันปาล์มมากขึ้น เนื่องจากวงการแพทย์ค้นพบว่าน้ํามันปาล์มมี ปริมาณคอเลสเทอรอลต่ํา

ธรรมชาติของต้นปาล์มน้ํามัน

ต้นปาล์มน้ํามันเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวในตระกูลปาล์มเช่นเดียวกับต้นมะพร้าว ต้นหมาก ต้นตาล ลําต้นตั้งตรงสูง 40-50 ฟุต อายุยืน 50-60 ปี แต่ชาวสวนปาล์มนิยมเก็บผลปาล์มในระยะ 20-25 ปี เท่านั้น หลังจากนั้นก็โค่นปลูกใหม่ เนื่องจากปาล์มที่มีอายุมากจะให้ผลผลิตต่ําไม่คุ้มกับการลงทุน และประหยัดค่าใช้จ่ายในการเก็บเกี่ยว ดอกปาล์มมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกัน ออก ผลเป็นทะลายปีละ 2 ครั้ง ตั้งแต่ออกดอกจนผลสุกใช้เวลาประมาณ 6 เดือน ทะลายอ่อนมีสีค่อนข้างดํา ผลปาล์มมีลักษณะคล้ายหมากแต่เล็กกว่า เมื่อสุกเต็มที่จะเป็นสีแดงแสดหรือแดงก่ํา

ต้นปาล์มน้ํามันเจริญเติบโตง่าย ขึ้นได้ดีในพื้นที่ราบ ถ้าเป็นที่ลาดชันไม่ควรเกิน 30 องศา ชอบ ดินร่วนที่ระบายน้ําได้ดีและอุดมสมบูรณ์ ความชื้นสูง มีฝนตกชุกตลอดปี ปริมาณน้ําฝน 1,500-2,000 มิลลิเมตร แต่ไม่ชอบที่แฉะและมีน้ําขังเป็นเวลานาน มีแสงแดดพอควรไม่น้อยกว่าวันละ 5 ชั่วโมง อุณหภูมิเฉลี่ยต่อวัน 25-30 องศาเซลเซียส บริเวณที่เหมาะแก่การปลูกปาล์มน้ํามัน ได้แก่ ภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป ปลูกกันมากในจังหวัดกระบี่ สุราษฎร์ธานี ชุมพร ตรัง และสตูล ส่วนภาค ตะวันออกปลูกได้ดีในจังหวัดจันทบุรีและระยอง

ชนิดของต้นปาล์มน้ํามัน

ต้นปาล์มน้ํามันมีหลายชนิด แต่ในทางการค้าแบ่งตามลักษณะผลเป็น 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. พันธุ์ดูรา (Dura) ทะลายค่อนข้างใหญ่ น้ําหนักมาก ผลกลมโต ให้น้ํามันไม่มากนัก จึงไม่ นิยมปลูก

2. พันธุ์พิสิเฟอรา (Pisifera) ทะลายไม่ใหญ่นัก ผลยาวมน ไม่นิยมปลูก เพราะยุ่งยากในการ แยกเมล็ดออกจากกะลาซึ่งบางมาก และให้น้ํามันไม่มากนัก

3. พันธุ์เทเนอรา (Tenera) เป็นพันธุ์ผสมระหว่างดูรากับพิสิเฟอรา ทะลายขนาดปานกลาง ให้ ผลดก นิยมปลูกกันแพร่หลาย เพราะให้น้ํามันมาก

ประโยชน์ของปาล์มน้ํามัน

ส่วนที่เป็นเนื้อปาล์มใช้สกัดทําน้ํามันสําหรับบริโภคและใช้ในการอุตสาหกรรม คือนอกจากใช้ ประกอบอาหารแล้ว น้ํามันปาล์มยังใช้ทําเนยเทียม ไอศกรีม น้ํามันสลัด คอฟฟีเมต สบู่ ผงซักฟอก ยาสีฟัน เครื่องสําอาง ยารักษาโรคบางชนิด น้ํามันหล่อลื่น น้ํายาขัดเงา หมึกพิมพ์ เครื่องดีบุก เป็นต้น น้ํามันจากเมล็ดในใช้ประโยชน์เช่นเดียวกับน้ํามันมะพร้าว เนื้อกากของเมล็ดในใช้เป็นอาหารสัตว์ กะลา และกากเส้นใยที่สกัดเอาน้ํามันออกแล้วใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงงานผลิตน้ํามันปาล์ม ทะลายที่แยกผลออก แล้วใช้ทําปุ๋ย

ประโยชน์ของปาล์มน้ํามัน

งานของชาวสวนปาล์มน้ํามัน

เนื่องจากผลผลิตของปาล์มน้ํามันจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการดูแลรักษา สภาพแวดล้อมและ อายุของต้นปาล์ม ผลผลิตเต็มที่ต่อไร่ประมาณปีละ 3-4 ตัน ดังนั้น ชาวสวนปาล์มน้ํามันจึงต้องปลูกด้วย ความประณีตและบํารุงรักษาอย่างใกล้ชิด ชาวสวนจะปลูกต้นปาล์มน้ํามันโดยใช้เมล็ดพันธุ์ที่กําลังงอก มาเพาะชําในแปลงชํา ประมาณ 10-14 เดือน หรือเมื่อปาล์มน้ํามันมีใบ 8-15 ใบ จึงย้ายไปปลูกในแปลง ปลูก ก่อนที่จะย้ายต้นปาล์มน้ํามันไปปลูก ชาวสวนจะต้องขุดหลุมและใส่ปุ๋ยรองที่ก้นหลุมไว้ล่วงหน้า ประมาณ 10 วัน แต่ละต้นห่างกัน 9 เมตร เนื้อที่ 1 ไร่จะปลูกได้ประมาณ 22 ต้น ต่อจากนั้นชาวสวนจะ ต้องบํารุงรักษาด้วยการใส่ปุ๋ยปีละ 3-4 ครั้ง ต้องหมั่นกําจัดวัชพืช โรค และศัตรูของต้นปาล์ม วัชพืชที่ สําคัญ คือ หญ้าคา สาบเสือ โรคของต้นปาล์มน้ํามัน ได้แก่ โรคยอดเน่า โรคใบจุด โรคราที่ลําต้นและ ทะลาย ศัตรูของต้นปาล์มน้ํามัน เช่น ด้วงกินยอด แมลงปีกแข็ง หนอนผีเสื้อกินใบ เม่น กระรอก กระแต หมูป่า และหนู หลังจากปลูกได้ประมาณ 32 ปี หรือ 42 เดือน ปาล์มน้ํามันก็จะเริ่มให้ผล ชาวสวนปาล์มจะมีงานทําหมุนเวียนกันอยู่ตลอดเวลานับตั้งแต่เริ่มปลูก งานที่จะต้องทําอยู่เสมอ คือ การทําความสะอาดต้น และการตัดทางในระดับพื้นดินให้โปร่ง เพื่อป้องกันโรคระบาด และสะดวกในการ กําจัดวัชพืชบริเวณโคนต้น

งานที่สําคัญอีกอย่างหนึ่งของชาวสวนปาล์มน้ํามันก็คือ การช่วยผสมเกสรให้แก่ดอกปาล์ม เนื่อง จากดอกปาล์มน้ํามันมีเกสรตัวผู้และตัวเมียอยู่ในต้นเดียวกันแต่คนละช่อ จึงต้องมีการช่วยผสมเกสรใน ขณะที่ปาล์มน้ํามันอายุระหว่าง 4-8 ปี เพื่อเพิ่มปริมาณการติดผลบนทะลาย และเพิ่มปริมาณน้ํามันใน ผลปาล์ม ชาวสวนจะต้องเก็บเกสรตัวผู้ตากแห้งและร่อนละเอียดแล้วเก็บไว้ใช้ผสมกับเกสรตัวเมีย ซึ่ง เป็นงานที่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูงมาก เพราะต้องใช้กําลังคนมาก สวนปาล์มน้ํามันบางแห่งต้องเสียค่าจ้าง คนงานผสมเกสรถึงปีละ 10 ล้านบาท ปัจจุบันงานการผสมเกสรไม่ต้องใช้แรงจากชาวสวนอีกต่อไป เมื่อ มีการนําตัวแมลงชนิดหนึ่งมาช่วยผสมเกสรในปี พ.ศ. 2525 คุณเอกพจน์ วานิช เจ้าของสวนปาล์มน้ํามัน ในจังหวัดกระบี่ได้นําแมลงชนิดหนึ่งมีชื่อว่า Elaeidobins Kamerunicus ไปปล่อยในสวนปาล์มน้ํามัน เป็นแมลงที่มีลําตัวแข็ง บินได้ มีขนาดประมาณ 0.3 เซนติเมตร ขยายพันธุ์ได้เร็ว มีถิ่นกําเนิดในแอฟริกา ตะวันตก แมลงชนิดนี้ช่วยผสมเกสรปาล์มน้ํามันได้เป็นอย่างดี ทําให้ผลผลิตของปาล์มน้ํามันเพิ่มขึ้น และประหยัดค่าแรงงานได้มาก โดยตัดค่าใช้จ่ายในการผสมเกสรออกไปได้ ภาระของชาวสวนจึงลดลง

เมื่อผลปาล์มน้ํามันสุกถึงเวลาที่จะเก็บเกี่ยว ชาวสวนจะช่วยกันเก็บเกี่ยวอย่างรวดเร็ว โดยแยก ย้ายกันไปเป็นกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน คือ คนตัดทะลาย 1 คน คนเก็บทะลาย 2 คน คนเก็บผลร่วงจากทะลาย 2 คน 1 กลุ่มสามารถตัดทะลายผลปาล์มสุกได้ 25-30 ไร่ต่อวัน

การตัดผลปาล์มน้ํามัน ชาวสวนต้องทําด้วยความระมัดระวัง และจะต้องรีบขนส่งโรงงานภายใน เวลา 24-28 ชั่วโมง เพื่อรักษาคุณภาพของปาล์มน้ํามันซึ่งมีความสําคัญต่อราคาของผลปาล์มสดด้วย ดังนั้น โรงงานสกัดน้ํามันปาล์มจึงมักจะตั้งอยู่ใกล้ ๆ สวนปาล์ม

แบ่งปันบทความ