สาร 2,4-D ไดเมทิลแอมโมเนียม นี้มีชื่อเต็มว่า 2,4-Dichlorophenoxyacetic acid หากใช้ในระดับความเข้มข้นต่ำๆ สารนี้ก็มีคุณสมบัติในการส่งเสริมการเจริญเติบโตในพืช หากใช้ในบริมาณที่เหมาะสมจะเป็น สารกำจัดวัชพืช (Herbicide) กลุ่มประเภทพืชใบเลี้ยงคู่ (Dicots) หรือที่มักเรียกกันว่าพืชใบกว้าง แต่ไม่มีผลต่อพืชใบแคบหรือพืชใบเลี้ยงเดี่ยว (Monocots) เช่น ข้าว (ยกเว้นพืชในวงศ์ Cyperaceae เช่น กกนา แห้วหมู กกธูปฤาษี เป็นต้น)
ดังนั้น สาร 2,4-D ถูกใช้เป็นสารหลักใน การกำจัดวัชพืชในนาข้าว ไม่ควรใช้ในสวนไม้ผล เพราะ พืชหลายชนิดจะอ่อนไหวต่อ 2,4-D มาก เช่น มะละกอ เสาวรส พืชตระกูลแตงต่าง ๆ โดยอาการที่แสดงออกคล้ายผลที่เกิดจากโรคไวรัส ผลกระทบที่เกิดกับต้นทุเรียน จะแสดงอาการทำให้ใบบิดเป็นเกลียว
ประวัติของ 2,4-D
การค้นพบ 2,4-D 2,4,5-T และ MCPA เกิดขึ้นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง โดย William G. Templeman จากสหราชอาณาจักร William Tempelman พบว่าเมื่อใช้กรดอินโดล-3-อะซิติก (IAA) ในปริมาณความเข้มข้นสูง สามารถหยุดการเจริญเติบโตของพืชได้ ในปีพ.ศ. 2483 ได้เริ่มมีการใช้ ฆ่าพืชใบกว้าง
ออกซินใหม่ทั้งหมดได้รับการพัฒนา เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของความพยายามทำสงครามเคมี และ สารกำจัดวัชพืชที่ได้รับการพัฒนาคือ 2,4-D แต่ท้ายที่สุดก็ไม่ได้นำมาใช้ในสงคราม แต่ถูกกลับมาพัฒนาใช้เพื่อการเกษตรในช่วงหลังจากสิ้นสุดสงคราม 2,4-D ได้รับปล่อยขายในเชิงพาณิชย์ ในฐานะสารกำจัดวัชพืชเพื่อควบคุมวัชพืชใบกว้างในพืชเมล็ดพืช เช่น ข้าวและข้าวสาลี และในปี 1950 ได้มีการจดทะเบียนในสหรัฐอเมริกาเพื่อควบคุมขนาดและ ช่วยเพิ่มสีผิวในมันฝรั่งโดยไม่กระทบต่อผลผลิต ในปี 2000 ได้พัฒนาเกลือโคลีน รุ่นใหม่ของ 2,4-D (2,4-D choline) สารที่ลดการลอยตัว รูปแบบเกลือโคลีนของ 2,4-D มีความผันผวนน้อยกว่า 2,4-D
2,4-D ทำงานยังไง
กลไกการออกฤทธิ์ ของ 2,4-D เป็นออกซินสังเคราะห์ สามารถถูกดูดซึมเข้าทางใบของวัชพืช และ ออกฤทธิ์เคลื่อนไปยังเนื้อเยื่อที่ปลายยอดวัชพืช ทำให้เกิดปัญหาในการเจริญเติบโตที่ควบคุมไม่ได้ ใบวัชพืชจะหงิกงอ และ ทำให้พืชตายลงในที่สุด นิยมใช้ในรูปเกลือเอไมด์ และเอสเทอร์
กรด 2,4-ไดคลอโรฟีนอกซีแอซีติก (2,4-D) เป็นสารที่หากใช้ในความเข้มข้นต่ำจะกระตุ้นการเจริญเติบโต แต่ถ้าใช้ในความเข้มข้นสูงจะเป็นสารกำจัดวัชพืชใบกว้าง เพราะมีฤทธิ์ของความเป็นออกซินสูง โดยที่พืชใบเลี้ยงคู่ไวต่อการตอบสนองต่อ 2,4- D มากกว่าพืชใบเลี้ยงเดี่ยว สารเคมีบริสุทธิ์จะอยู่ในรูปผลึกสีขาว ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ยกเว้นเป็นในรูปของเกลือโซเดียมจะละลายในน้ำได้ แต่จะมีพิษต่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในระดับปานกลาง
ประโยชน์ คุณสมบัติ และ วิธีนำไปใช้
2,4-D ใช้กำจัดวัชพืชหลังงอก (post-emergence) นิยมใช้ใน นาข้าว ไร่ข้าวโพด ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ยางพารา กาแฟ และ พื้นที่ไม่ได้ทำการเกษตร
– สามารถกำจัดวัชพืช ประเภทใบกว้าง เช่น จอก ผักปอดนา เทียนนา โสนหางไก่ ตาลปัตรฤาษี ผักปลาบ ผักบุ้ง หญ้ายาง ผักเบี้ยหิน ผักโขม
– และ วัชพืชตระกูลกก เช่น กกขนาก หนวดปลาดุก แห้วหมู กกทราย ผือนา หญ้าหนวดปลาดุก หญ้าบั่ว หญ้าหลักนา หญ้าไข่เขียด
ในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย นิยมใช้ 2,4-D กำจัดวัชพืช ใบกว้างและ กกในข้าวนาลุ่ม ข้าวน้ำลึก และ นาหว่านน้ำตม ในช่วงเวลา 15-20 วัน หลังข้าวงอก หรือวัชพืชมีใบ 3-4 ใบ สำหรับนาดำในภาคเหนือ ใช้ประมาณ 4-6 สัปดาห์หลังปักดำ สารชนิดนี้จะอยู่ในรูปของเกลือโซเดียม จึงมีขายทั้งแบบเป็นผง และ สารละลาย ก่อนพ่นสารจพเป็นต้องระบายน้ำออกจากนา น้ำกระด้างทำให้ตกตะกอนเป็นเกลือ แคลเซียมและแมกนีเซียม ทำให้ประสิทธิภาพลดลงการใช้งาน แต่ในผลิตภัณฑ์ที่มีขาย มักจะกันการตกตะกอนไว้แล้ว สารเคมีตัวนี้ทำให้เกิดอาการระคายเคืองตาและผิวหนังอย่างแรง สามารถซึมเข้าทางผิวหนังได้ ถ้าหากสูดหายใจเข้าไปนานๆ จะมีอาการไอ วิงเวียน บางรายอาจจะปลายประสาทอักเสบ มีผลต่อการควบคุมกล้ามเนื้อ ในระยะยาวเป็นอันตรายต่อตับ สารตัวนี้ย่อยสลายได้ด้วยจุลชีพ โดยจะสลายตัวได้เร็วภายใน 7 วัน และ ขับออกจากร่างกายได้
อันตราย และ ข้อควรระวัง
ยาฆ่าหญ้า กลุ่มคลอโรฟีน็อกซี เมื่อสัมผัสกับผิวหนังจะรู้สึกระคายเคือง ถ้าหากเข้าปากจะเจ็บในปาก ปวดแสบปวดร้อนภายในลำคอและหลอดอาหาร อาจทำให้เกิดแผลผุพอง และทำลายกล้ามเนื้อรวมถึงเส้นประสาท สารเคมีกำจัดวัชพืชบางชนิดอาจจะมีส่วนผสมของ น้ำมันก๊าด และ น้ำมันเบนซิน หากกลืนกินเข้าไปอาจจะทำให้เกิดอาการภาวะปอดบวมน้ำ ขึ้นในภายหลังได้ ผู้ป่วยส่วนมากที่ได้รับพิษมักมีสาเหตุมาจากการกลืนสารพิษเข้าไปเป็นปริมาณมาก และ สารพิษมีความเข้มข้นสูง ในบางรายที่กลืนกินเข้าไปเป็นปริมาณมากก็อาจจะเสียชีวิตได้ สารเคมีกลุ่มนี้ยังสามารถทำให้เกิดพิษโดยการสูดดมหรือหายใจเอาละอองของสารพิษเข้าไป หรือ การสัมผัสกับสารพิษจำนวนมากและเป็นระยะเวลานาน
ยี่ห้อ/ราคา จำหน่ายในไทย
บทความที่เกียวข้อง
No posts