(การทำพืชไร่) อ้อย ประโยชน์ ความสำคัญ วิธีปลูก

อ้อย

อ้อย

อ้อย เป็นพืชที่ปลูกเพื่อใช้ทําน้ําตาลเช่นเดียวกับตาล มะพร้าว หัวผักกาดหวาน แต่อ้อยเป็นพืช ที่ให้ปริมาณน้ําตาลมากที่สุด อ้อย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง สันนิษฐานว่าอ้อยมีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบหมู่เกาะนิวกินี

อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่งในบรรดาพืชไร่ทั้งหลาย ปลูกกันมากเพื่อผลิตเป็นน้ําตาล สําหรับใช้บริโภคภายในประเทศ ตลอดจนส่งเป็นสินค้าออกที่สําคัญไปจําหน่ายต่างประเทศ ทํารายได้ให้ แก่ประเทศไทยปีหนึ่งเป็นจํานวนมาก

ประโยชน์และความสําคัญของอ้อย

อ้อยนอกจากปลูกเพื่อผลิตน้ําตาลสําหรับใช้บริโภคเป็นหลักแล้ว อ้อยยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ อีกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรม ในปัจจุบันได้พยายามค้นคว้าส่วนต่าง ๆ ของอ้อยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น กากอ้อยนําไปผลิตเป็นวัตถุดิบสําหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น ทํากระดาษชานอ้อย หรือไม้สําหรับทําเครื่องเรือน ใช้ทําเยื่อกระดาษ ทําอาหารสัตว์ ทําปุ๋ย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังสามารถนําไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้พลังงานแก่เครื่อง ยนต์ทดแทนน้ํามันได้อีกด้วย ในสมัยโบราณถือว่าอ้อยเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง และใช้เป็นพืชประกอบในพิธีมงคลต่างๆ

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร นครพนม หนองคาย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ และเลย เป็นต้น

ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี สุพรรณบุรี ราชบุรี เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครปฐม ลพบุรี สิงห์บุรี อ่างทอง ชัยนาท อุทัยธานี สระบุรี และเพชรบูรณ์ เป็นต้น

ภาคตะวันออก ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี เป็นต้น

สําหรับภาคใต้นั้นไม่ได้ปลูกอ้อยเป็นอุตสาหกรรม แต่จะมีปลูกกันบ้างเล็กน้อยสําหรับใช้บริโภค ทั่ว ๆ ไป เช่น ทําอ้อยเคี้ยว หรือหีบเป็นน้ําอ้อยสดเสียมากกว่า

การปลูกอ้อย

การเตรียมดิน เนื่องจากอ้อยเป็นพืชที่ปลูกกันทั่ว ๆ ไปในทุกภาคของประเทศไทย ซึ่งแต่ละภาค จะมีลักษณะดินและสภาพพื้นที่แตกต่างกันออกไป ฉะนั้น วิธีการเตรียมดินจึงแตกต่างกันออกไปตาม ความเหมาะสม เช่น ในพื้นที่บางแห่งที่ดินมีความอุดมสมบูรณ์สูง ดินร่วนหรือดินทราย ชาวไร่จะเตรียม ดินโดยการโค่นถางป่าแล้วจุดไฟเผา เพื่อทําลายต้นไม้กิ่งไม้ที่ไม่ต้องการให้พื้นที่โล่งเตียน จากนั้นก็ใช้ จอบขุดหลุมแล้วปลูกอ้อยลงไปในหลุม บางพื้นที่ที่ปลูกอ้อยมากๆ และปลูกเป็นอุตสาหกรรม จะมีการ เตรียมดินที่ดีและละเอียดมากยิ่งขึ้น เพราะถือว่าการเตรียมดินที่ดีนั้นช่วยทําให้ได้ผลผลิตเพิ่มมากขึ้นและ ช่วยประหยัดเวลา แรงงาน และค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาภายหลังจากการปลูก นอกจากนั้น การปลูก อ้อยครั้งหนึ่งสามารถไว้ตอหรือเก็บอ้อยได้ประมาณ 2-3 ครั้ง แล้วจึงจะเตรียมดินอีก โดยทั่ว ๆ ไปการ เตรียมดินปลูกอ้อยจะมีขั้นตอนดังนี้ คือ

1. การไถดิน ชาวไร่อาจจะใช้แรงงานสัตว์หรือเครื่องยนต์ก็ได้ การไถดินมีวัตถุประสงค์เพื่อ กําจัดวัชพืชและทําให้ดินร่วนซุย รากอ้อยสามารถเจริญเติบโตชอนไชหาอาหารและน้ําได้สะดวกขึ้น โดยทั่วไปแล้วชาวไร่อ้อยจะไถดินให้ลึกประมาณ 6-12 นิ้ว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและความอุดมสมบูรณ์ของ ดิน แต่ควรไถดินให้ลึก เพราะจะช่วยให้รากอ้อยเจริญเติบโตลงไปได้มาก จะทําให้อ้อยแข็งแรงไม่โค่นล้ม และอ้อยเจริญงอกงามมากยิ่งขึ้น

การไถดินปลูกอ้อย
การไถดินปลูกอ้อย

2. วิธีปลูก การปลูกอ้อยสามารถทําได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และวัตถุประสงค์ของ การปลูก เช่น การยกร่องปลูกเป็นริ้วที่นิยมปฏิบัติกันในการปลูกอ้อยเพื่ออุตสาหกรรมน้ําตาล มีขั้นตอน ดังนี้ คือ เมื่อเตรียมดินเรียบร้อยแล้ว ใช้ไดหรือเครื่องมือทําร่องให้ลึกขนานกันไปตามพื้นที่ห่างกันร่องละ 120-140 เซนติเมตร วางท่อนพันธุ์อ้อยลงไปในร่องให้มีระยะห่างกันประมาณ 35-40 เซนติเมตร แล้วใช้ ดินกลบ

ส่วนการปลูกอ้อยเพื่อใช้เป็นอ้อยเคี้ยวหรือหีบน้ําอ้อยสดนั้น เมื่อไถดินเสร็จก็ใช้จอบยกร่องตื้น ๆ ให้เป็นแนวตามที่ต้องการ วางท่อนพันธุ์ลงในร่องแล้วใช้ดินกลบ บางครั้งอาจจะไม่ต้องยกร่อง เพียงแต่ ใช้จอบขุดดินให้เป็นหลุมลึกพอสมควร วางท่อนพันธุ์ลงในหลุมแล้วใช้ดินกลบก็ได้

วิธีการวางท่อนพันธุ์ ควรให้ตาของท่อนพันธุ์อยู่ทางด้านข้าง เพราะจะทําให้ตาทุก ๆ ตามีโอกาส งอกเป็นต้นใหม่ ๆ เท่า ๆ กัน

เตรียมท่อนพันธุ์สำหรับปลูกอ้อย

3. การเตรียมท่อนพันธุ์สําหรับปลูก ท่อนพันธุ์ หมายถึง ส่วนของอ้อยที่จะนํามาปลูกหรือขยายพันธุ์ต่อไป ท่อนพันธุ์ได้มาจาก ลําต้นอ้อยที่ได้คัดเลือกแล้วว่า เมื่อนํามาปลูกจะสามารถเจริญเติบโตเป็นต้นใหม่ได้ดีและเร็ว โดยทั่ว ไปจะเลือกต้นอ้อยที่ไม่อ่อนหรือแก่จนเกินไป ส่วนที่สําคัญที่สุดของท่อนพันธุ์ที่จะเจริญเติบโตเป็นต้น อ้อยต่อไป คือ “ตา” ซึ่งอยู่ติดกับข้อของต้นอ้อย ท่อนพันธุ์หนึ่ง ๆ ควรตัดให้มีตาประมาณ 3 ตา การตัดควรระวังอย่าให้ตากระทบกระเทือนหรือชํา เพราะอาจจะทําให้ไม่งอกได้

นอกจากการใช้ท่อนพันธุ์แล้ว ส่วนของยอดหรือต้นอ่อนที่แตกจากกออ้อยก็สามารถนํามาปลูกได้ เช่นเดียวกัน โดยปลูกลงไปในหลุมให้ลึกประมาณ 2/3 ของท่อนพันธุ์ และเอียงประมาณ 45 องศา

แบ่งปันบทความ