(การทำพืชไร่) ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ข้าวโพดเป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะนิยม ปลกกันอย่างแพร่หลายทั่วไป และส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศ ทํารายได้ให้ประเทศไทยปีละ จํานวนมาก ข้าวโพดเป็นพืชประเภทเดียวกันกับข้าว ข้าวฟ่าง ซึ่งใช้เมล็ดเป็นอาหาร นิยมเรียกพืช ตระกูลหญ้าที่ใช้เมล็ดเป็นอาหารนี้ว่า “ธัญพืช

ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ประโยชน์ของข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ผักสดรับประทานในรูปของ ข้าวโพดต้ม ข้าวโพดเผา ขนมข้าวโพด ฝักอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง ผัด ข้าวโพดฝักอ่อน เมล็ดข้าวโพดที่ตากแห้งแล้วนํามาคั่วเป็นข้าวโพดคั่ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก นอกจาก ข้าวโพดจะนําไปใช้เป็นอาหารคนโดยตรงแล้ว ยังแปรรูปเป็นข้าวโพดเพื่อประกอบอาหารอื่น ๆ ได้อีก หลายชนิด เช่น ส่วนต่าง ๆ ของข้าวโพดนําไปใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น ทําน้ํามันพืช ทําน้ําตาล ทําแอลกอฮอล์ ทําน้ําหอม ทํากระดาษ ทําอาหารกระป๋อง ทําสี เป็นต้น ประโยชน์ที่ สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ เมล็ดและต้นข้าวโพดสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี

ลักษณะของข้าวโพด

ข้าวโพดมีลําต้นเจริญคล้ายข้าวฟ่างและอ้อย ลําต้นตั้งตรงมีข้อและปล้องชัดเจน ใบเรียวยาว และมีก้านใบหุ้มลําต้น ฝักข้าวโพดหรือดอกตัวเมียจะเกิดตรงบริเวณข้อกลาง ๆ ลําต้น ดอกตัวผู้จะ เกิดบริเวณปลายลําต้น

ประเภทและพันธุ์ของข้าวโพด

ข้าวโพดสามารถแบ่งตามวัตถุประสงค์ของการใช้ประโยชน์ได้ 3 ประเภท คือ
1. ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อใช้เมล็ดเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ
2. ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อตัดลําต้นสดมาเลี้ยงสัตว์
3. ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อรับประทานผักสด

ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อใช้เมล็ดเลี้ยงสัตว์และอุตสาหกรรมต่าง ๆ ข้าวโพดประเภทนี้ปลูกกันมากที่ สุดในประเทศไทย เพื่อนําเมล็ดไปใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือส่งโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เพื่อแปรรูปเป็น ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ข้าวโพดประเภทนี้ ได้แก่ ข้าวโพดไร่ชนิดหัวแข็ง ข้าวโพดไร่ชนิดหัวบุบ ข้าวโพด น้ํามัน ข้าวโพดคั่ว เป็นต้น

ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อตัดลําต้นสดมาเลี้ยงสัตว์ ข้าวโพดประเภทนี้นิยมปลูกในทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เมื่อลําต้นเจริญเติบโตดีแล้ว ก็ตัดมาให้สัตว์กินเช่นเดียวกับหญ้า

ข้าวโพดที่ปลูกเพื่อรับประทานผักสด ข้าวโพดประเภทนี้นิยมปลูกกันทั่วไปตามบ้านเรือนและ ชาวสวน เพื่อนําผักสดมารับประทานโดยตรงทั้งฝักอ่อนและฝักแก่ ข้าวโพดประเภทนี้ ได้แก่ ข้าวโพด หวาน ข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นต้น

สภาพภูมิอากาศที่เหมาะแก่การปลูกข้าวโพด

ข้าวโพดเป็นพืชไร่ที่มีความทนทาน สามารถขึ้นได้ดีในสภาพอากาศที่มีความแตกต่างกัน แต่ ข้าวโพดจะเจริญเติบโตและได้ผลดี เมื่อปลูกในเขตอบอุ่นและมีฝนตกตลอดฤดูกาลเพาะปลูก ประเทศที่ ปลูกข้าวโพดมาก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา เม็กซิโก บราซิล อาร์เจนตินา สหภาพโซเวียต ฝรั่งเศส แอฟริกาใต้ จีน และไทย เป็นต้น

เดินที่เหมาะแก่การปลูกข้าวโพด

ข้าวโพดสามารถขึ้นได้ดีในดินเกือบทุกชนิด แต่จะให้ผลผลิตสูงเมื่อปลูกในดินร่วนปนทรายที่ ระบายน้ําได้ดี มีธาตุอาหารพืชสมบูรณ์เพียงพอ

แหล่งปลูกข้าวโพดในประเทศไทย

ประเทศไทยปลูกข้าวโพดกันมากในหลายจังหวัด เช่น เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครราชสีมา นครสวรรค์ สระบุรี พิษณุโลก สุโขทัย พิจิตร อุตรดิตถ์ อุทัยธานี กําแพงเพชร ตาก ลําปาง อุดรธานี ขอนแก่น ศรีสะเกษ ชัยภูมิ ปราจีนบุรี จันทบุรี เพชรบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น

การเตรียมดินปลูกข้าวโพด

การปลูกข้าวโพดเพื่อใช้ทําเป็นอาหารสัตว์หรือส่งโรงงานอุตสาหกรรมนั้น จําเป็นอย่างยิ่งที่จะ ต้องปลูกจํานวนมากในบริเวณพื้นที่กว้างขวาง เพราะฉะนั้น ในการเตรียมดินจึงต้องใช้เครื่องมือทุ่นแรง ช่วย เช่น เครื่องมือที่ใช้แรงงานสัตว์หรือแรงงานเครื่องยนต์ การเตรียมดินที่จําเป็นในการปลูกข้าวโพด ได้แก่ การไถ และการพรวน

วัตถุประสงค์ของการเตรียมดินเพื่อกําจัดวัชพืชและทําให้ดินร่วนซุย อากาศและน้ําถ่ายเทได้ สะดวก เหมาะแก่การงอกของเมล็ดและการเจริญเติบโตของต้นข้าวโพด โดยทั่ว ๆ ไปชาวไร่จะไถดินให้ ลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร แล้วตากดินทั้งไร่ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้ดินแห้ง แล้วไถอีกครั้ง หนึ่ง จากนั้นจะทําการพรวน เพื่อให้ดินแตกเป็นก้อนเล็ก ๆ และพื้นที่ราบสม่ําเสมอ

วิธีปลูก

การปลูกข้าวโพดจะต้องปลูกให้เป็นแถว เพื่อสะดวกในการดูแลรักษาและการเก็บเกี่ยว โดย ทั่วไปแล้วจะทําร่องหรือหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 3-5 เซนติเมตร ห่างกันหลุมละ 30-40 เซนติเมตร ระหว่างแถว 75-100 เซนติเมตร หยอดเมล็ดข้าวโพดลงในร่องหรือหลุม หลุมละ 2-3 เมล็ด กลบด้วยดิน ให้มิดชิด

การปลูกข้าวโพดเพื่อรับประทานผักสดหรือปลูกเป็นสวนครัวนั้น ชาวสวนจะขุดดินให้ลึก ประมาณ 20-25 เซนติเมตร และตากดินให้แห้งประมาณ 1-2 สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์อื่น ๆ ที่สลายตัวดีแล้วลงไปในดิน เพื่อปรับสภาพของดินให้เหมาะสมแก่การเจริญเติบโตของข้าวโพดมากยิ่ง ขึ้น ย่อยดินให้เป็นก้อนเล็ก ๆ เก็บเศษวัชพืชหรืออื่น ๆ ออกให้หมด ขุดหลุมปลูกให้ลึกประมาณ 3-4 เซนติเมตร หยอดเมล็ดพันธุ์ลงในหลุม 3-4 เมล็ด แล้วใช้ดินกลบรดน้ําให้ชุ่ม

ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

การดูแลรักษา

1. การพรวนดิน ควรพรวนดินเพื่อกําจัดวัชพืชเมื่อมีวัชพืชขึ้นรบกวนมากจนเกินไป และในการ พรวนดินแต่ละครั้งควรพูนดินโคนต้นข้าวโพดด้วย เพื่อทําให้ต้นข้าวโพดแข็งแรงมากยิ่งขึ้น

2. การใส่ปุ๋ย ควรใส่ปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมบ้างเพื่อให้ข้าวโพดมีผลผลิตสูงขึ้น ควรให้ปุ๋ยแก่ต้นข้าวโพด ครั้งแรกเมื่อมีอายุได้ 2-3 สัปดาห์ และครั้งที่ 2 เมื่อถึงระยะการออกดอกและฝึก

3. การป้องกันกําจัดโรคและแมลง โรคที่สําคัญของข้าวโพด ได้แก่ โรคราน้ําค้าง หรือ ชาวบ้านเรียกว่า “โรคใบลาย โรคใบไหม้ โรคใบจุด” ส่วนแมลงศัตรูข้าวโพดที่สําคัญ ได้แก่ ตักแตน ปาทังกา เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน ด้วงกุหลาบ หนอนแทะลําต้นข้าวโพด หนอนกระทู้ข้าวโพด หนอนเจาะ ฝักข้าวโพด เป็นต้น ควรป้องกันกําจัดทันทีเมื่อมีโรคและแมลงเข้าทําลาย

การเก็บเกี่ยว

การปลูกข้าวโพดเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์หรือส่งโรงงานอุตสาหกรรม ควรเก็บเกี่ยวเมื่อฝักข้าวโพด แก่จัดหรือผักเริ่มมีสีฟาง ไม่ควรเก็บเร็วเกินไป เพราะจะทําให้ได้เมล็ดข้าวโพดที่มีคุณภาพต่ํา

ส่วนข้าวโพดที่ปลูกเพื่อรับประทานผักสด ควรเก็บเกี่ยวเมื่อข้าวโพดมีอายุได้ 70-80 วันหลังจาก การปลูก หรือหลังจากฝักข้าวโพดออกไหมประมาณ 20-25 วัน

แบ่งปันบทความ