คลังความรู้

การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางรม แต่ ชนิดอื่นๆ ทั้งที่ทําการเพาะเป็นรายย่อยและการเพาะเห็ดเป็นอุตสาหกรรม ได้ดําเนินการ ค่อนข้างแพร่หลาย โดยผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และผลิตเพื่อจําหน่ายในตล ทั้งภายในและส่งไปขายยังต่างประเทศ ถือได้ว่าการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ดีอย่างหนึ่งของ เกษตรกรและผู้ที่สนใจในด้านนี้ ในการเพาะเห็ดแต่ละครั้งจําเป็นต้องใช้วัสดุสําหรับเพาะ และชนิดของวัสดุที่ใช้เพาะ แตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ด กล่าวคือ ในการเพาะเห็ดฟาง วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นฟางข้าว ที่ใช้ได้ทั้งตอซังข้าวและฟางข้าวที่เก็บเกี่ยวขึ้นมา หรือในบางท้องที่ที่มีการปลูกถั่วเขียวหรือ ถั่วลิสงเป็นจํานวนมาก ก็สามารถใช้ใบและฝักแห้งที่ละเอียดมาใช้แทนฟางข้าว สําหรับ การเพาะเห็ดหอมหรือเห็ดนางรมนิยมใช้ขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้มะขาม ขี้เลื่อย ไม้กระถินณรงค์ และขี้เลื่อยจากไม้เบญจพรรณ ในการเพาะเห็ดหอมถ้าหากไม่ใช้ขี้เลื่อย จะใช้เพาะบนท่อนไม้ดังกล่าวก็ได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารเสริมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณ และคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น การเพาะเห็ดฟางนิยมใช้ขี้ฝ่าย ไส้นุ่น ต้นกล้วยสับ หรือผักตบชวา สับตากแห้ง เป็นต้น การเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดจําเป็นต้องใช้วัสดุต่างๆ เพื่อให้เกิดหัวเชื้อก่อนนํา ไปเพาะบนวัสดุเพาะ เช่น การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อเห็ดฟางนิยมใช้มูลสัตว์ประเภทขี้ม้าสด ถ้า ไม่มีจะใช้มูลสัตว์อื่นๆ แทนก็ได้ แต่คุณภาพจะไม่ดี นอกจากนี้ยังมีการผสมสารเคมีบางชนิดเพื่อปรับสภาพและเป็นอาหารของหัวเชื้อก่อนนําไปเพาะ วัสดุที่ใช้ทําการเพาะเห็ดตาม ชนิดของเห็ดต่างๆ เมื่อใช้เพาะเห็ดในระยะหนึ่งแล้ว วัสดุดังกล่าวก็จะลดประสิทธิภาพในการ …

การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด Read More »

การผลิตปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้

โรงเลื่อยไม้จะเริ่มระบบการทํางานจากการรับไม้จากเกษตรกรที่ผ่านการเข้าเครื่อง และวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว จะถูกรถยกนําเข้าสู่สายพานรังไม้เพื่อลําเลียงไม้เข้า เครื่องปอกเปลือกไม้ มีลักษณะเป็นช่องทางไหลของท่อนไม้ที่มีเดือยหมุนสําหรับลอกเปลือกไข เปลือกไม้ส่วนนี้คือส่วนที่จะใช้ทําปุ๋ยหมักได้ จะถูกสายพานลําเลียงออกทางด้านหลังเครื่อง ส่วนไม้ที่ปอกเปลือกแล้วจะไหลจากสายพานเข้าไปสู่เครื่องทําชิ้นไม้สับต่อไป และปลือกได้ ที่ได้จากการลอกเปลือกแล้วดังกล่าวจะถูกลําเลียงมารวมกันไว้เป็นกอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการ ผลิตปุ๋ยหมัก วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ 1. เปลือกไม้ 2. ยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักเปลือกไม้ที่ใช้ 3. มูลไก่ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักเปลือกไม้ที่ใช้ ขั้นตอนการทําปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ นําส่วนผสมอันได้แก่ เปลือกไม้ ยูเรีย และมูลไก่ โดยใช้รถตักทําการผสมคลุกเคล้า ส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี แล้วรวมเป็นกองไว้ จากนั้นจึงคอยรดน้ําในทุกๆ 3 วัน ถึง 1 สัปดาห์ โดยการรดน้ําจะมีการรดน้ําครั้งละ 5 มิลลิเมตร (ใช้หน่วยเดียวกับการวัดปริมาณ น้ําฝน) และจะต้องมีการกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 20 วัน และในทุกๆ สัปดาห์จะต้องมีการ ตรวจวัดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 60 – 70 องศาเซลเซียสอยู่เสมอ หากมีอุณหภูมิสูงกว่านี้ จะต้องรีบกลับกองปุ๋ยทันที เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นไปถึง …

การผลิตปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ Read More »

การผลิตดินหมัก

เนื่องจากดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชโดยทั่วไปจะมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยลง จึงได้ มีการศึกษาถึงวิธีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นส่วนผสมในการเตรียมดินในอัตราต่างๆ แต่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดจะต้องใช้เวลา และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุโดยการทํา ดินหมัก ดินหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ระยะเวลาในการหมักสั้น เพียง 1 เดือนเท่านั้น ดินหมักจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้แก่ดิน ทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น โดยปรับสภาพให้ดินนั้นมีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืชและสามารถให้ผลผลิตดีขึ้น การทําดินหมักเป็นวิธีการหนึ่งของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ดินหมักนี้เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “ไบโยโกะ” มีส่วนประกอบดังนี้ คือ– ดินร่วน 300 กิโลกรัม – มูลไก่ไข่ (แห้ง) 300 กิโลกรัม – รําละเอียด 15-30 กิโลกรัม – เชื้อสารเร่ง (พด.-1) 1 ซอง ขั้นตอนการทําดินหมัก 1. เตรียมหัวเชื้อสารเร่ง (พด. – 1) จํานวน 1 ซอง โรยให้ทั่วบนกองรําละเอียดที่เท เกลี่ยไว้บนพื้น แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน …

การผลิตดินหมัก Read More »

การผลิตปุ๋ยหมักอัดแท่ง

ปุ๋ยหมักอัดแท่ง หรือ ปุ๋ยหมักไฮ – คอมเพล็กซ์ เป็นการนําปุ๋ยหมักที่ใช้ประโยชน์ ได้แล้วมาอัดให้เป็นแท่งหรือเป็นเม็ด แล้วนําไปผ่านกระบวนการที่สามารถทําให้แห้งโดยแสงแดด หรือผ่านความร้อนที่อุณหภูมิเหมาะสม และให้มีความชื้นอยู่ในปริมาณที่ต่ํา สามารถเก็บรักษา ไว้ได้นาน ปุ๋ยหมักอัดแท่งที่ได้นี้จึงอยู่ในสภาพที่แห้ง เป็นแท่งหรือเม็ด สะดวกที่จะนําไปใช้ ในไร่นา และเมื่อถูกน้ําหรือความชื้นจะยุ่ยและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชส่วนหนึ่งออกมาอย่าง รวดเร็ว ส่วนสารอินทรีย์ที่เหลืออยู่จะค่อยๆถูกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ในดินใช้เป็นอาหาร และย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารที่เหลืออยู่ลงดิน และเป็นอาหารพืชต่อไปภายหลังได้ โดยปกติปุ๋ยหมักจะมีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อทําให้แห้ง ความชื้นจะ ลดลงเหลือน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าความชื้นจะลดลงไปประมาณ 1 ใน 3 ดังนั้น ปุ๋ยหมักในขณะที่มีความชื้นสูง 1,000 กิโลกรัม ถ้ามาทําให้แห้งก็จะมีน้ําหนักเพียง 300 กิโลกรัมเท่านั้น และสามารถเก็บปุ๋ยหมักที่อยู่ในสภาพที่แห้งไว้ใช้ได้ในระยะเวลาที่นานกว่า การเก็บปุ๋ยหมักในสภาพชิ้น ขั้นตอนการอัดแท่งปุ๋ยหมัก 1. กองปุ๋ยหมักโดยวิธีการทําปุ๋ยหมักโดยทั่วไป ซึ่งจะใช้เวลาในการกองประมาณ 2 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการกองและวัสดุที่ใช้ในการกอง 2. นําปุ๋ยหมักที่ได้มาตรวจสอบความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมในการอัดแท่งประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก …

การผลิตปุ๋ยหมักอัดแท่ง Read More »

การทําปุ๋ยหมักแบบใหม่

การทําปุ๋ยหมักแบบใหม่เป็นการหมักวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและขยะจากชุมชน โดยการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ อาหารเสริม และปุ๋ยไนโตรเจน เข้าไปทําการย่อยสลายวัสดุ ดังกล่าวให้เปลี่ยนสภาพเป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพสูง และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และเป็นการกองปุ๋ยหมักแบบกองรวม ไม่ต้องกองเป็นชั้นๆ ไม่ต้องมีการกลับกอง ปุ๋ยหมัก และไม่ต้องใช้ปุ๋ยคอก จึงเหมาะสําหรับการทําปุ๋ยหมักในบริเวณที่ไม่มีแหล่งของปุ๋ยคอก 1. ส่วนประกอบของการทําปุ๋ยหมักแบบใหม่ จํานวน 1 ตัน ประกอบด้วย 1.1 วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและชุมชนจํานวน 12 ลูกบาศก์เมตร 1.2 หัวเชื้อจุลินทรีย์จํานวน 1 ซอง 1.3 อาหารเสริมหนัก 1-2 กิโลกรัม 1.4 ปุ๋ยไนโตรเจนหนัก 2-5 กิโลกรัม1.5 ดินร่วนหรือดินเหนียวตากแห้ง บดย่อยละเอียดจํานวน 2 ลูกบาศก์เมตร  2. การเตรียมส่วนประกอบของปุ๋ยหมักแบบใหม่ จํานวน 1 ตัน มีดังนี้ 2.1 วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและชุมชน สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ตาม ลักษณะของชิ้นส่วนวัสดุ ดังนี้1) วัสดุชิ้นหยาบ …

การทําปุ๋ยหมักแบบใหม่ Read More »

สูตรผลิตปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในไร่นา

ในการผลิตปุ๋ยหมักควรมีหลักเกณฑ์ที่พิจารณาถึงปัจจัยที่จําเป็นต่อการทําปุ๋ยหมัก ดังนี้ คือ 1.การเลือกสถานที่ที่จะใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก การเลือกสถานที่หรือบริเวณที่จะ ผลิตปุ๋ยหมักมีความสําคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสะดวก ประหยัดแรงงานและเวลาในการจัดทํา กองปุ๋ยหมัก จึงมีหลักในการพิจารณาดังนี้ คือ ควรเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีซากพืชและซากสัตว์มากที่สุด เพื่อ ความสะดวกในการขนย้ายในการทําปุ๋ยหมัก และสะดวกในการขนย้ายไปใช้ในเรน เช่น ลานนวดข้าว ลานสีข้าวโพด และข้าวฟ่าง เป็นต้น ควรเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ํา ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรดน้ําให้กอ ปุ๋ยหมัก แต่ควรมีระยะห่างจากแหล่งน้ําบริโภค ควรเป็นบริเวณที่ดอน น้ําท่วมไม่ถึง และมีระดับพื้นราบเรียบเสมอ” ให้มากที่สุด 2.แรงงาน ในการกองปุ๋ยหมักปริมาณมากๆ จะต้องใช้แรงงานในการขนย้ายวัสดุและ กลับกองปุ๋ยหมัก ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงปริมาณแรงงานที่จะใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง 3.การเตรียมวัสดุต่างๆ ที่นํามาใช้ผลิตปุ๋ยหมัก ในแต่ละท้องถิ่นจะมีวัสดุต่างๆ ที่นํา มาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักได้แตกต่างกัน ซึ่งจําแนกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้ ซากพืช ได้แก่ ซากพืชชนิดต่างๆ ที่เหลือทิ้งไว้ในไร่นาหลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตไปแล้ว สามารถนํามากองทําเป็นปุ๋ยหมักได้ เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ใบอ้อย ต้นและใบฝ่าย ซากหญ้าชนิดต่าง …

สูตรผลิตปุ๋ยหมักเพื่อใช้ในไร่นา Read More »