การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางรม แต่ ชนิดอื่นๆ ทั้งที่ทําการเพาะเป็นรายย่อยและการเพาะเห็ดเป็นอุตสาหกรรม ได้ดําเนินการ ค่อนข้างแพร่หลาย โดยผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และผลิตเพื่อจําหน่ายในตล ทั้งภายในและส่งไปขายยังต่างประเทศ ถือได้ว่าการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ดีอย่างหนึ่งของ เกษตรกรและผู้ที่สนใจในด้านนี้

กองฟางจากนาข้าวที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง
กองฟางจากนาข้าวที่ใช้ในการเพาะเห็ดฟาง

ในการเพาะเห็ดแต่ละครั้งจําเป็นต้องใช้วัสดุสําหรับเพาะ และชนิดของวัสดุที่ใช้เพาะ แตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ด กล่าวคือ ในการเพาะเห็ดฟาง วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นฟางข้าว ที่ใช้ได้ทั้งตอซังข้าวและฟางข้าวที่เก็บเกี่ยวขึ้นมา หรือในบางท้องที่ที่มีการปลูกถั่วเขียวหรือ ถั่วลิสงเป็นจํานวนมาก ก็สามารถใช้ใบและฝักแห้งที่ละเอียดมาใช้แทนฟางข้าว สําหรับ การเพาะเห็ดหอมหรือเห็ดนางรมนิยมใช้ขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้มะขาม ขี้เลื่อย ไม้กระถินณรงค์ และขี้เลื่อยจากไม้เบญจพรรณ ในการเพาะเห็ดหอมถ้าหากไม่ใช้ขี้เลื่อย จะใช้เพาะบนท่อนไม้ดังกล่าวก็ได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารเสริมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณ และคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น การเพาะเห็ดฟางนิยมใช้ขี้ฝ่าย ไส้นุ่น ต้นกล้วยสับ หรือผักตบชวา สับตากแห้ง เป็นต้น การเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดจําเป็นต้องใช้วัสดุต่างๆ เพื่อให้เกิดหัวเชื้อก่อนนํา ไปเพาะบนวัสดุเพาะ เช่น การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อเห็ดฟางนิยมใช้มูลสัตว์ประเภทขี้ม้าสด ถ้า ไม่มีจะใช้มูลสัตว์อื่นๆ แทนก็ได้ แต่คุณภาพจะไม่ดี

กองเห็ดฟาง
กองเห็ดฟาง

นอกจากนี้ยังมีการผสมสารเคมีบางชนิดเพื่อปรับสภาพและเป็นอาหารของหัวเชื้อก่อนนําไปเพาะ วัสดุที่ใช้ทําการเพาะเห็ดตาม ชนิดของเห็ดต่างๆ เมื่อใช้เพาะเห็ดในระยะหนึ่งแล้ว วัสดุดังกล่าวก็จะลดประสิทธิภาพในการ ทําให้เกิดดอกเห็ด เนื่องจากธาตุอาหารในวัสดุเพาะถูกเห็ดนําไปสร้างดอก จึงมีไม่เพียงพอ ในการสร้างคอกเห็ดต่อไป ผู้ประกอบการเพาะเห็ดจึงขนวัสดุไปทิ้งหรือนําไปเผาทําลาย โดย ม่นํามาใช้เป็นประโยชน์ ซึ่งความจริงแล้ววัสดุเหลือใช้ดังกล่าวสามารถนํามาปรุงแต่งให้เกิด

การทําปุ๋ยหมักจากฟางที่เหลือจากการเพาะเห็ด
การทําปุ๋ยหมักจากฟางที่เหลือจากการเพาะเห็ด

ประโยชน์ในการเพาะเห็ดครั้งต่อไปได้ หรือนําไปใช้ประโยชน์เป็นวัสดุปรับปรุงบํารุงดิน โดย ผลิตเป็นปุ๋ยหมักใช้ปรับปรุงบํารุงดิน เพื่อทําการเพาะปลูกของตนเองได้ โดยลดการใช้ปุ๋ย ชนิดอื่นๆ ที่ต้องซื้อมา ถ้ามีในปริมาณมากก็สามารถผลิตออกจําหน่ายเป็นรายได้เพิ่มเติม จากการเพาะเห็ดได้อีกด้วย

อุปกรณ์ที่ใช้ในการทําปุ๋ยหมัก

อุปกรณ์ที่จําเป็นส่วนใหญ่ผู้ที่ทําการเพาะเห็ดไม่ว่ารายเล็กและรายใหญ่มีพร้อมแล้ว เช่น บัวรดน้ํา จอบ พลัว เข่ง ปัง ถุงบรรจุปุ๋ยหมักที่เป็นถุงพลาสติก และกระสอบ พลาสติกสาน

วัสดุเสริมหรือสารเร่งในการผลิตปุ๋ยหมัก

วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดเป็นวัสดุที่ด้อยคุณภาพกว่าเดิม เนื่องจากธาตุอาหารพืช ถูกเห็ดนําไปใช้สร้างดอก แต่อย่างไรก็ดี การย่อยสลายจะเกิดขึ้นได้เร็วกว่าเดิม เพราะ จุลินทรีย์และเห็ดได้ช่วยย่อยไปบางส่วนแล้ว ฉะนั้นเพื่อให้ปุ๋ยหมักมีคุณภาพดี และจุลินทรีย์ ย่อยสลายวัสดุดังกล่าวให้เป็นปุ๋ยหมักใช้ได้รวดเร็ว จําเป็นต้องเพิ่มเติมสารบางชนิดลงไป เช่น มูลสัตว์ ปุ๋ยเคมี รําข้าว และเชื้อจุลินทรีย์บางชนิดที่ใช้ย่อยเศษพืช

ขั้นตอนการผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดจะต้องพิจารณาถึงลักษณะทาง กายภาพและสมบัติทางเคมีของวัสดุที่ใช้ โดยแบ่งออกเป็น 3 วิธี คือ

การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุประเภทฟางข้าวหรือวัสดุที่มีลักษณะเดียวกัน คือ เป็นท่อนยาว เป็นประเภทที่มีการย่อยสลายตัวได้ง่าย การผลิตแบบนี้ให้นําเศษพืชมากอง เป็นชั้นๆ โดยให้ใช้อัตราส่วนของวัสดุดังกล่าวกับสารเร่งและอาหารเสริมดังนี้

  • ฟางข้าว 1 ตัน
  • มูลสัตว์ 200 kg
  • ปุ๋ยยูเรียหรือปุ๋ยเคมีสูตร 16-20-0 2kg
  • เชื้อจุลินทรีย์ 1ถุง

นําวัสดฟางข้าวมากองในพื้นที่ที่กําหนดไว้ ให้มีขนาดกว้างของกอง 2 เมตร ยาว 4 เมตร สูง 1.20 เมตร โดยแบ่งเป็นชั้นๆ ชั้นแรกกองให้สูง 30 เซนติเมตร รดน้ําให้ชุ่ม แบ่งมูลสัตว์ 50 กิโลกรัมมาโรยทับข้างบน แบ่งปุ๋ยเคมีครึ่งกิโลกรัมโรยทับลงไปบนมูลสัตว์ แล้วนําสารละลายของจุลินทรีย์ที่ได้จากการนําจุลินทรีย์ผง 1 ถุง มาละลายน้ํา 40 ลิตร คน ให้เข้ากันเป็นอย่างดี เป็นเวลา 10 นาที แบ่งมา 10 ลิตร ราดลงบนชั้นที่ 1 ส่วนชั้นที่ 2 ก็ทํา เช่นเดียวกัน ทําจนครบ 4 ชั้น ก็จะได้กองปุ๋ยหมักที่มีความสูง 1.20 เมตร แล้วใช้ทางมะพร้าว คลุมกองปุ๋ยเพื่อป้องกันสัตว์เข้าไปคุ้ยเขียและช่วยลดการระเหยของน้ําจากกองปุ๋ยหมัก

กองปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด
กองปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

ลักษณะของปุ๋ยหมักที่ได้จากการใช้วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

1 การเปลี่ยนแปลงของสีของวัสดที่ใช้หมัก ถ้าเปลี่ยนจากสีน้ําตาลเดิมเป็นสีน้ําตาล หรือน้ําตาลดํา แสดงว่าวัสดุนั้นเริ่มเป็นปุ๋ยหมักแล้ว

2. เมื่อหยิบชิ้นส่วนในกองปุ๋ยมาบีบดู ถ้าบีบแล้วชิ้นส่วนแตกออกจากกันได้ง่าย แสดง ว่าวัสดุดังกล่าวถูกย่อยสลายไปแล้ว

3. ความร้อนในกองปุ๋ยและความร้อนภายนอกไม่แตกต่างกัน หรือเย็น แสดงว่าเป็น ปุ๋ยใช้ได้

4. หากเมล็ดวัชพืชงอกขึ้นบนกองปุ๋ย แสดงว่าปุ๋ยหมักใช้ได้แล้ว

การนําปุ๋ยหมักที่ได้จากการใช้วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดไปใช้ประโยชน์

ปุ๋ยหมักที่หมักได้ที่จนเป็นปุ๋ยใช้ได้แล้ว จะนําไปใช้ทันทีหรือจะเก็บไว้ใช้เมื่อถึงฤดูกาล เพาะปลูกก็ได้ ถ้านําไปใช้ทันที ขอแนะนําให้ใช้ปรับปรุงบํารุงดินเพื่อการเพาะปลูกได้ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นดินเหนียว ดินทราย ดินลูกรัง ดินเปรี้ยว ดินเค็ม และดินด่าง เพราะปุ๋ยหมัก เป็นปุ๋ยอินทรีย์ ช่วยปรับปรุงบํารุงดินให้ดีถ้าหากมีการใช้อย่างต่อเนื่อง กล่าวคือ ช่วยให้ ดินอุ้มน้ําได้ดีขึ้นเมื่อใช้ในดินทราย ทําให้ดินเหนียวร่วนซุย ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการปลูกพืช นอกจากนี้จะเป็นการเพิ่มแร่ธาตุอาหารพืช เพิ่มปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์ที่เป็น ประโยชน์ และช่วยให้โครงสร้างของดินดีขึ้น อันเป็นผลให้ได้ปริมาณผลผลิตและคุณภาพ ของพืช
ถ้าหากผู้ผลิตปุ๋ยหมักผลิตในปริมาณมาก เหลือจากการใช้ในการเพาะปลูกแล้ว ก็สามารถจําหน่ายให้เกิดรายได้เพิ่มขึ้น จะจําหน่ายโดยตรงหรือจําหน่ายโดยบรรจุถุงพลาสติก หรือบรรจุถุงกระสอบป่านก็ได้

.ประโยชน์ที่ได้จากการใช้วัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

1. เป็นการนําวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ดให้เกิดประโยชน์ เป็นวัสดุปรับปรุงบํารุงดน

2. เป็นการเพิ่มรายได้จากการเพาะเห็ดอีกส่วนหนึ่ง

3. ช่วยให้เกิดความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อย เป็นการทําลายแหล่งโรคและแมลง ที่เป็นศัตรูเห็ดได้เป็นอย่างดี

4. ทําให้สภาวะแวดล้อมบริเวณโรงเพาะเห็ดดีขึ้น

แบ่งปันบทความ