การผลิตดินหมัก

วิธีผลิตดินหมัก
วิธีผลิตดินหมัก

เนื่องจากดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชโดยทั่วไปจะมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยลง จึงได้ มีการศึกษาถึงวิธีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นส่วนผสมในการเตรียมดินในอัตราต่างๆ แต่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดจะต้องใช้เวลา และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุโดยการทํา ดินหมัก

ดินหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ระยะเวลาในการหมักสั้น เพียง 1 เดือนเท่านั้น ดินหมักจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้แก่ดิน ทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น โดยปรับสภาพให้ดินนั้นมีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืชและสามารถให้ผลผลิตดีขึ้น

การทําดินหมักเป็นวิธีการหนึ่งของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ดินหมักนี้เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “ไบโยโกะ” มีส่วนประกอบดังนี้ คือ
– ดินร่วน 300 กิโลกรัม
– มูลไก่ไข่ (แห้ง) 300 กิโลกรัม
– รําละเอียด 15-30 กิโลกรัม
– เชื้อสารเร่ง (พด.-1) 1 ซอง

ผลิตดินหมัก
ผลิตดินหมัก

ขั้นตอนการทําดินหมัก

1. เตรียมหัวเชื้อสารเร่ง (พด. – 1) จํานวน 1 ซอง โรยให้ทั่วบนกองรําละเอียดที่เท เกลี่ยไว้บนพื้น แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน โดยพรมน้ําให้มีความชื้นพอหมาดๆ

2. คลุมกองรําไว้ด้วยกระสอบป่านเป็นเวลา 3-5 วัน จึงนํามาใช้เป็นหัวเชื้อได้

3. นําดินร่วนผสมกับมูลไก่ไข่ให้เข้ากันดี โดยพรมน้ําให้มีความชื้นพอหมาดๆ เช่นกัน และนําหัวเชื้อที่เตรียมไว้มาผสมกับมูลไก่และดิน โดยเกลี่ยกองดินที่ผสมกับมูลไก่บนพื้น โรยหัวเชื้อที่เตรียมไว้ให้ทั่วผิวหน้า จากนั้นใช้พลั่วหรือจอบช่วยผสมวัสดุให้เข้ากันดี ถ้า ความชื้นไม่พอก็พรมน้ําอีกจนวัสดุมีความชื้นหมาดๆ ทํากองแล้วคลุมด้วยกระสอบป่านหรือฟางข้าว เพื่อป้องกันไม่ให้กองปุ๋ยแห้ง

4. กลับกองดินหมัก 2 ครั้ง โดยทําการกลับกองดินหมักครั้งที่ 1 เมื่อกองดินหมัก ครบ 1 สัปดาห์ และกลับครั้งที่ 2 เมื่อครบสัปดาห์ที่ 2 เพื่อช่วยลดอุณหภูมิและเพื่อเพิ่ม อากาศ หากกองดินหมักมีความชื้นสูงเกินไปจะมีกลิ่นเหม็น จะต้องแก้ไขโดยแผ่กองปุ๋ย ออกฝั่งให้ความชื้นลดลง แล้วทํากองใหม่

ดินหมัก
ดินหมัก

การใช้ดินหมัก

นําดินหมักโรยบางๆทั่วแปลง หนาประมาณ 1 เซนติเมตร แล้วใช้จอบสับคลุกเคล้า กับดินให้เข้ากัน และระหว่างการเจริญเติบโตของพืช ใช้ดินหมักทําเป็นน้ําสกัดชีวภาพ โดย ใช้ดินหมัก 3 กิโลกรัม ผสมน้ํา 200 ลิตร ใช้ไม้คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 1 คืน ธาตุอาหาร จะละลายอยู่ในน้ํา ซึ่งสามารถใช้นํานี้ไปรดต้นพืชได้

แบ่งปันบทความ