Adiruj Mahaniyom

Agricultural Chemicals นักวิชาด้านเคมีการเกษตร

(การทำพืชไร่) ฝ้าย การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ฝ้าย ฝ้ายเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปลูกขึ้นเพื่อนําเส้นใยจากผลของ ฝ่ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม เป็นต้น แต่ในสมัยก่อนปลูกกันจํานวนน้อยไว้ใช้สําหรับ ในครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้ปลูกเป็นอาชีพหรือไว้จําหน่าย ต่อมาในสมัยหลัง ๆ ประชากรเพิ่มมากขึ้น ประเทศชาติเจริญขึ้น ความต้องการผ้ายเพื่อใช้ทอเป็นเครื่องนุ่งห่มก็มีมากขึ้น การปลูกฝ้ายจึงขยายพื้นที่ ปลูกเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเป็นอาชีพเพื่อจําหน่าย จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบัน ความต้องการฝ้ายยิ่งทวี จํานวนมากขึ้น จนมีไม่เพียงพอ ต้องสั่งซื้อผ้ายจากต่างประเทศเข้ามาปีละจํานวนมาก ลักษณะของฝ้าย ฝ้ายเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีขนาดและทรงต้นไม่สูงนัก จัดอยู่ในจําพวกไม้พุ่มขนาดกลาง มีกิ่งก้าน สาขาแตกแยกออกจากลําต้นจํานวนมาก ใบของฝ่ายจะเป็นแฉก ๆ มี 3-7 แฉก ที่บริเวณใบและลําต้น จะมีขนเล็กปกคลุมแผ่ทั่วไป ดอกของฝ่ายจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนก้านใบเหนือข้อ ดอกเป็นดอก สมบูรณ์เพศ เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลีบรองหุ้มอยู่ 3 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีสีขาวหรือเหลือง ดอกมี 5 กลีบ ซ้อนกัน ดอกจะบานอยู่เพียงวันเดียว โดยจะบานในตอนเช้า และในตอนบ่ายจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือ ชมพูและจะเที่ยวในที่สุด ผลของฝ่ายจะเกิดจากดอกที่ผ่านการผสมเกสรแล้ว ผลของฝ่ายเรียกว่า “สมอ ฝ้าย” […]

(การทำพืชไร่) ฝ้าย การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์ Read More »

(การทำพืชไร่) ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์

ข้าวโพดเป็นพืชตระกูลหญ้าชนิดหนึ่ง ที่มีความสําคัญทางเศรษฐกิจของประเทศไทย เพราะนิยม ปลกกันอย่างแพร่หลายทั่วไป และส่งออกไปจําหน่ายยังต่างประเทศ ทํารายได้ให้ประเทศไทยปีละ จํานวนมาก ข้าวโพดเป็นพืชประเภทเดียวกันกับข้าว ข้าวฟ่าง ซึ่งใช้เมล็ดเป็นอาหาร นิยมเรียกพืช ตระกูลหญ้าที่ใช้เมล็ดเป็นอาหารนี้ว่า “ธัญพืช ประโยชน์ของข้าวโพด ข้าวโพดเป็นพืชที่สามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ใช้ผักสดรับประทานในรูปของ ข้าวโพดต้ม ข้าวโพดเผา ขนมข้าวโพด ฝักอ่อนใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงเลียง ผัด ข้าวโพดฝักอ่อน เมล็ดข้าวโพดที่ตากแห้งแล้วนํามาคั่วเป็นข้าวโพดคั่ว ซึ่งเป็นที่นิยมกันมาก นอกจาก ข้าวโพดจะนําไปใช้เป็นอาหารคนโดยตรงแล้ว ยังแปรรูปเป็นข้าวโพดเพื่อประกอบอาหารอื่น ๆ ได้อีก หลายชนิด เช่น ส่วนต่าง ๆ ของข้าวโพดนําไปใช้ในงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ ได้อีกมาก เช่น ทําน้ํามันพืช ทําน้ําตาล ทําแอลกอฮอล์ ทําน้ําหอม ทํากระดาษ ทําอาหารกระป๋อง ทําสี เป็นต้น ประโยชน์ที่ สําคัญอีกประการหนึ่ง คือ เมล็ดและต้นข้าวโพดสามารถใช้เป็นอาหารสัตว์ชนิดต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี ลักษณะของข้าวโพด

(การทำพืชไร่) ข้าวโพด การปลูก ชนิดและพันธุ์ ประโยชน์ Read More »

มันสำปะหลัง การดูแลรักษา ชนิดและพันธุ์ การเก็บเกียว

มันสําปะหลัง มันสําปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่ง ในจํานวนพืชไร่หลายชนิดที่ปลูกกันมากใน ประเทศไทย มันสําปะหลังเป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ในรูปของมันอัด เม็ด มันปูน ใช้ทําแป้งมั่นในการปรุงเป็นอาหารและทําขนมต่างๆ ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ทํา กาว ทําผงชูรส ทําสาคู ทําสีผสมอาหาร ทําแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นพลังงานแทนน้ํามัน เป็นต้น ในปัจจุบันประเทศไทยส่งมันสําปะหลังไปจําหน่ายต่างประเทศ ทํารายได้ให้แก่ประเทศปีละ หลายล้านบาท มันสําปะหลังจัดอยู่ในประเภทไม้ยืนต้นที่มีพุ่มเตี้ย มีอายุอยู่ได้หลายปี ส่วนที่จะนํามาใช้ ประโยชน์ ได้แก่ ราก หรือที่เรานิยมเรียกว่า หัว นั่นเอง ซึ่งหัวของมันสําปะหลังจะเกิดอยู่บริเวณโคนต้น ลึกลงไปในดินประมาณ 6-8 หัว ลําต้นของมันสําปะหลังจะเป็นข้อ ๆ มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งข้อนั้นเกิด ขึ้นจากรอยแผลของก้านใบที่ร่วงหล่นไปนั่นเอง มันสําปะหลังมีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ เช่น ประเทศเม็กซิโก และบราซิล การปฏิบัติดูแลรักษา ภายหลังจากการปลูกแล้วอ้อยจะเริ่มเจริญเติบโต การที่อ้อยจะเจริญเติบโตช้าหรือเร็ว งอกงาม มากน้อย หรือจะให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดูแลรักษา เช่น การให้น้ํา ให้ปุ๋ย การพรวนดิน

มันสำปะหลัง การดูแลรักษา ชนิดและพันธุ์ การเก็บเกียว Read More »

(การทำพืชไร่) อ้อย ประโยชน์ ความสำคัญ วิธีปลูก

อ้อย อ้อย เป็นพืชที่ปลูกเพื่อใช้ทําน้ําตาลเช่นเดียวกับตาล มะพร้าว หัวผักกาดหวาน แต่อ้อยเป็นพืช ที่ให้ปริมาณน้ําตาลมากที่สุด อ้อย เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ข้าว ข้าวโพด และข้าวฟ่าง สันนิษฐานว่าอ้อยมีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบหมู่เกาะนิวกินี อ้อยเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่งในบรรดาพืชไร่ทั้งหลาย ปลูกกันมากเพื่อผลิตเป็นน้ําตาล สําหรับใช้บริโภคภายในประเทศ ตลอดจนส่งเป็นสินค้าออกที่สําคัญไปจําหน่ายต่างประเทศ ทํารายได้ให้ แก่ประเทศไทยปีหนึ่งเป็นจํานวนมาก ประโยชน์และความสําคัญของอ้อย อ้อยนอกจากปลูกเพื่อผลิตน้ําตาลสําหรับใช้บริโภคเป็นหลักแล้ว อ้อยยังใช้ประโยชน์อย่างอื่นได้ อีกทั้งทางตรงและทางอ้อม โดยเฉพาะทางด้านอุตสาหกรรม ในปัจจุบันได้พยายามค้นคว้าส่วนต่าง ๆ ของอ้อยให้เกิดประโยชน์มากที่สุด เช่น กากอ้อยนําไปผลิตเป็นวัตถุดิบสําหรับการก่อสร้างที่อยู่อาศัย เช่น ทํากระดาษชานอ้อย หรือไม้สําหรับทําเครื่องเรือน ใช้ทําเยื่อกระดาษ ทําอาหารสัตว์ ทําปุ๋ย เป็นต้น นอกจากนั้น ยังสามารถนําไปผลิตเป็นแอลกอฮอล์ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงให้พลังงานแก่เครื่อง ยนต์ทดแทนน้ํามันได้อีกด้วย ในสมัยโบราณถือว่าอ้อยเป็นสมุนไพรชนิดหนึ่ง และใช้เป็นพืชประกอบในพิธีมงคลต่างๆ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น นครราชสีมา สกลนคร นครพนม หนองคาย ชัยภูมิ ร้อยเอ็ด ยโสธร กาฬสินธุ์ และเลย เป็นต้น

(การทำพืชไร่) อ้อย ประโยชน์ ความสำคัญ วิธีปลูก Read More »

ปุ๋ยชีวภาพ

ความหมายของปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยชีวภาพ หรือปุ๋ยจุลินทรีย์ หมายถึง การที่นําเอาจุลินทรีย์มาใช้ปรับปรุงดิน ทางชีวภาพ ทางกายภาพ ทางชีวเคมี และการย่อยสลายอินทรียวัตถุ พืช จากอินทรีย์ หรือจากอนินทรียวัตถุ หรือปุ๋ยชีวภาพในอีกความหมาย เป็นจุลินทรีย์ที่นํามาใช้เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต หรือเพิ่มความต้านทานของโรคพืช ดังนั้นจากความหมายของคําว่า “ปุ๋ยชีวภาพ” จะเห็นได้ว่าในดินทั่วๆ ไป ถ้ามีจุลินทรีย์ ที่มีประโยชน์อยู่แล้ว แสดงว่าในดินชนิดนั้นๆ จะมีปุ๋ยชีวภาพอยู่บ้างแล้วในปริมาณต่างๆ กัน ดินที่มีลักษณะทางชีวภาพที่ดีจึงหมายถึง ดินที่ประกอบไปด้วยจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ที่มี ประโยชน์ในการเพิ่มการเจริญเติบโตให้กับพืช ดังนั้นวิธีการที่จะช่วยปรับปรุงบํารุงดินได้ อย่างมีประสิทธิภาพอีกวิธีหนึ่งก็คือ การใส่ปุ๋ยชีวภาพ นอกจากความหมายของ “ปุ๋ยชีวภาพ” แล้ว มีความหมายของสิ่งที่เกี่ยวข้องซึ่งควร ทราบเพิ่มเติมในการที่จะใช้และซื้อหรือจําหน่ายปุ๋ยชีวภาพ ดังนี้ “หัวเชื้อจุลินทรีย์” หมายถึง จุลินทรีย์ที่มีจํานวนเซลล์ต่อหน่วยสูง ซึ่งถูกเพาะเลี้ยง โดยกรรมวิธีทางวิทยาศาสตร์ เช่น สารเร่งพด.-1 ของกรมพัฒนาที่ดิน “วัสดุรองรับ” หมายถึง สิ่งที่นํามาใช้ในการผสมกับหัวเชื้อจุลินทรีย์ในกระบวนการ ผลิตปุ๋ยชีวภาพ “ปริมาณจุลินทรีย์รับรอง” หมายถึง ปริมาณจุลินทรีย์ขั้นต่ําที่มีผู้ผลิตหรือผู้นํา หรือสั่งเข้ามาในราชอาณาจักร รับรองถึงจํานวนเซลล์รวมหรือจํานวนสปอร์รวม หรือ

ปุ๋ยชีวภาพ Read More »

การทําปุ๋ยหมักชีวภาพจากน้ําสกัดชีวภาพ

วัสดุที่ใช้ 1. มูลสัตว์แห่งละเอียด 3 ส่วน 2. แกลบดํา 1 ส่วน 3. อินทรียวัตถุอื่น ๆ ที่หาได้ง่าย เช่น แกลบ ชานอ้อย ขี้เลื่อย เปลือกถั่วลิสง เปลือกถั่วเขียว และขุยมะพร้าว เป็นต้น อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายอย่างรวมกัน 3 ส่วน 4. รําละเอียด 1 ส่วน 5. เตรียมน้ําสกัดชีวภาพ 1 ส่วน น้ําตาล 1 ส่วน : น้ํา 100 ส่วน คนจนละลายเข้ากันดี ขั้นตอนในการทําปุ๋ยหมักชีวภาพ 1. นําวัสดุต่างๆ มากองซ้อนกันเป็นชั้นๆ แล้วคลุกเคล้าจนเข้ากันดี 2. เอาส่วนผสมของน้ําสกัดชีวภาพกับน้ําตาลและน้ําใส่บัว รดบนกองวัสดุปุ๋ยหมัก คลุกเคล้าให้เข้ากัน ให้มีความชื้นพอหมาดๆ อย่าให้แห้งหรือขึ้นเกินไป 3. วิธีหมักทําได้ 2

การทําปุ๋ยหมักชีวภาพจากน้ําสกัดชีวภาพ Read More »

การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด

การเพาะเห็ดในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นเห็ดฟาง เห็ดหอม เห็ดนางรม แต่ ชนิดอื่นๆ ทั้งที่ทําการเพาะเป็นรายย่อยและการเพาะเห็ดเป็นอุตสาหกรรม ได้ดําเนินการ ค่อนข้างแพร่หลาย โดยผลิตเพื่อใช้บริโภคในครัวเรือน และผลิตเพื่อจําหน่ายในตล ทั้งภายในและส่งไปขายยังต่างประเทศ ถือได้ว่าการเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ดีอย่างหนึ่งของ เกษตรกรและผู้ที่สนใจในด้านนี้ ในการเพาะเห็ดแต่ละครั้งจําเป็นต้องใช้วัสดุสําหรับเพาะ และชนิดของวัสดุที่ใช้เพาะ แตกต่างกันไปตามชนิดของเห็ด กล่าวคือ ในการเพาะเห็ดฟาง วัสดุที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นฟางข้าว ที่ใช้ได้ทั้งตอซังข้าวและฟางข้าวที่เก็บเกี่ยวขึ้นมา หรือในบางท้องที่ที่มีการปลูกถั่วเขียวหรือ ถั่วลิสงเป็นจํานวนมาก ก็สามารถใช้ใบและฝักแห้งที่ละเอียดมาใช้แทนฟางข้าว สําหรับ การเพาะเห็ดหอมหรือเห็ดนางรมนิยมใช้ขี้เลื่อยจากไม้ยางพารา ขี้เลื่อยไม้มะขาม ขี้เลื่อย ไม้กระถินณรงค์ และขี้เลื่อยจากไม้เบญจพรรณ ในการเพาะเห็ดหอมถ้าหากไม่ใช้ขี้เลื่อย จะใช้เพาะบนท่อนไม้ดังกล่าวก็ได้ นอกจากนี้ยังมีอาหารเสริมเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีปริมาณ และคุณภาพที่ดีขึ้น เช่น การเพาะเห็ดฟางนิยมใช้ขี้ฝ่าย ไส้นุ่น ต้นกล้วยสับ หรือผักตบชวา สับตากแห้ง เป็นต้น การเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดจําเป็นต้องใช้วัสดุต่างๆ เพื่อให้เกิดหัวเชื้อก่อนนํา ไปเพาะบนวัสดุเพาะ เช่น การเพาะเลี้ยงหัวเชื้อเห็ดฟางนิยมใช้มูลสัตว์ประเภทขี้ม้าสด ถ้า ไม่มีจะใช้มูลสัตว์อื่นๆ แทนก็ได้ แต่คุณภาพจะไม่ดี นอกจากนี้ยังมีการผสมสารเคมีบางชนิดเพื่อปรับสภาพและเป็นอาหารของหัวเชื้อก่อนนําไปเพาะ วัสดุที่ใช้ทําการเพาะเห็ดตาม ชนิดของเห็ดต่างๆ เมื่อใช้เพาะเห็ดในระยะหนึ่งแล้ว วัสดุดังกล่าวก็จะลดประสิทธิภาพในการ

การผลิตปุ๋ยหมักจากวัสดุเหลือใช้จากการเพาะเห็ด Read More »

การผลิตปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้

โรงเลื่อยไม้จะเริ่มระบบการทํางานจากการรับไม้จากเกษตรกรที่ผ่านการเข้าเครื่อง และวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางแล้ว จะถูกรถยกนําเข้าสู่สายพานรังไม้เพื่อลําเลียงไม้เข้า เครื่องปอกเปลือกไม้ มีลักษณะเป็นช่องทางไหลของท่อนไม้ที่มีเดือยหมุนสําหรับลอกเปลือกไข เปลือกไม้ส่วนนี้คือส่วนที่จะใช้ทําปุ๋ยหมักได้ จะถูกสายพานลําเลียงออกทางด้านหลังเครื่อง ส่วนไม้ที่ปอกเปลือกแล้วจะไหลจากสายพานเข้าไปสู่เครื่องทําชิ้นไม้สับต่อไป และปลือกได้ ที่ได้จากการลอกเปลือกแล้วดังกล่าวจะถูกลําเลียงมารวมกันไว้เป็นกอง เพื่อเข้าสู่กระบวนการ ผลิตปุ๋ยหมัก วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ในการทําปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ 1. เปลือกไม้ 2. ยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักเปลือกไม้ที่ใช้ 3. มูลไก่ 10 เปอร์เซ็นต์ของน้ําหนักเปลือกไม้ที่ใช้ ขั้นตอนการทําปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ นําส่วนผสมอันได้แก่ เปลือกไม้ ยูเรีย และมูลไก่ โดยใช้รถตักทําการผสมคลุกเคล้า ส่วนผสมทั้งหมดให้เข้ากันดี แล้วรวมเป็นกองไว้ จากนั้นจึงคอยรดน้ําในทุกๆ 3 วัน ถึง 1 สัปดาห์ โดยการรดน้ําจะมีการรดน้ําครั้งละ 5 มิลลิเมตร (ใช้หน่วยเดียวกับการวัดปริมาณ น้ําฝน) และจะต้องมีการกลับกองปุ๋ยหมักทุกๆ 20 วัน และในทุกๆ สัปดาห์จะต้องมีการ ตรวจวัดอุณหภูมิให้อยู่ในระดับ 60 – 70 องศาเซลเซียสอยู่เสมอ หากมีอุณหภูมิสูงกว่านี้ จะต้องรีบกลับกองปุ๋ยทันที เนื่องจากถ้าอุณหภูมิสูงขึ้นไปถึง

การผลิตปุ๋ยหมักจากเปลือกไม้ Read More »

การผลิตดินหมัก

เนื่องจากดินที่ใช้ในการเพาะปลูกพืชโดยทั่วไปจะมีปริมาณอินทรียวัตถุน้อยลง จึงได้ มีการศึกษาถึงวิธีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุในดินโดยวิธีการต่างๆ เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เป็นส่วนผสมในการเตรียมดินในอัตราต่างๆ แต่การผลิตปุ๋ยอินทรีย์บางชนิดจะต้องใช้เวลา และเป็นการเพิ่มต้นทุนในการผลิตมากขึ้น ดังนั้นจึงมีการเพิ่มปริมาณอินทรียวัตถุโดยการทํา ดินหมัก ดินหมักเป็นปุ๋ยอินทรีย์ชนิดหนึ่งที่ใช้ระยะเวลาในการหมักสั้น เพียง 1 เดือนเท่านั้น ดินหมักจะช่วยเพิ่มธาตุอาหารและจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ให้แก่ดิน ทําให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์ขึ้น โดยปรับสภาพให้ดินนั้นมีปริมาณอินทรียวัตถุเพิ่มขึ้น เหมาะต่อการเจริญ เติบโตของพืชและสามารถให้ผลผลิตดีขึ้น การทําดินหมักเป็นวิธีการหนึ่งของกรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่ง ดินหมักนี้เรียกในภาษาญี่ปุ่นว่า “ไบโยโกะ” มีส่วนประกอบดังนี้ คือ– ดินร่วน 300 กิโลกรัม – มูลไก่ไข่ (แห้ง) 300 กิโลกรัม – รําละเอียด 15-30 กิโลกรัม – เชื้อสารเร่ง (พด.-1) 1 ซอง ขั้นตอนการทําดินหมัก 1. เตรียมหัวเชื้อสารเร่ง (พด. – 1) จํานวน 1 ซอง โรยให้ทั่วบนกองรําละเอียดที่เท เกลี่ยไว้บนพื้น แล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน

การผลิตดินหมัก Read More »

การผลิตปุ๋ยหมักอัดแท่ง

ปุ๋ยหมักอัดแท่ง หรือ ปุ๋ยหมักไฮ – คอมเพล็กซ์ เป็นการนําปุ๋ยหมักที่ใช้ประโยชน์ ได้แล้วมาอัดให้เป็นแท่งหรือเป็นเม็ด แล้วนําไปผ่านกระบวนการที่สามารถทําให้แห้งโดยแสงแดด หรือผ่านความร้อนที่อุณหภูมิเหมาะสม และให้มีความชื้นอยู่ในปริมาณที่ต่ํา สามารถเก็บรักษา ไว้ได้นาน ปุ๋ยหมักอัดแท่งที่ได้นี้จึงอยู่ในสภาพที่แห้ง เป็นแท่งหรือเม็ด สะดวกที่จะนําไปใช้ ในไร่นา และเมื่อถูกน้ําหรือความชื้นจะยุ่ยและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชส่วนหนึ่งออกมาอย่าง รวดเร็ว ส่วนสารอินทรีย์ที่เหลืออยู่จะค่อยๆถูกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ในดินใช้เป็นอาหาร และย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารที่เหลืออยู่ลงดิน และเป็นอาหารพืชต่อไปภายหลังได้ โดยปกติปุ๋ยหมักจะมีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อทําให้แห้ง ความชื้นจะ ลดลงเหลือน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าความชื้นจะลดลงไปประมาณ 1 ใน 3 ดังนั้น ปุ๋ยหมักในขณะที่มีความชื้นสูง 1,000 กิโลกรัม ถ้ามาทําให้แห้งก็จะมีน้ําหนักเพียง 300 กิโลกรัมเท่านั้น และสามารถเก็บปุ๋ยหมักที่อยู่ในสภาพที่แห้งไว้ใช้ได้ในระยะเวลาที่นานกว่า การเก็บปุ๋ยหมักในสภาพชิ้น ขั้นตอนการอัดแท่งปุ๋ยหมัก 1. กองปุ๋ยหมักโดยวิธีการทําปุ๋ยหมักโดยทั่วไป ซึ่งจะใช้เวลาในการกองประมาณ 2 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการกองและวัสดุที่ใช้ในการกอง 2. นําปุ๋ยหมักที่ได้มาตรวจสอบความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมในการอัดแท่งประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก

การผลิตปุ๋ยหมักอัดแท่ง Read More »