ยาฆ่าหญ้า

น้ำส้มควันไม้ คืออะไร? มีประโยชน์ หรือ โทษอย่างไร?

น้ำส้มควันไม้ สีน้ำตาลแกมแดง นี้เชื่อว่าหลายคนคงได้ยินชื่อมาบ้าง มาดูว่ามันคืออะไร แล้วสามารถนำไปใช้ประโยชน์ อย่างไร ได้บ้าง น้ำส้มควันไม้ คือ อะไร? น้ำส้มควันไม้ เป็นผลผลิตที่ได้จากการเผาถ่าน ซึ่งได้จากการควบแน่นควันที่เกิดจากไม้ที่กำลังเปลี่ยนเป็นถ่านที่อุณหภูมิ 300 – 400 องศาเซลเซียสแล้วกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ มีกลิ่นควันไฟ ลักษณะเป็นของเหลวสีน้ำตาล โดยจะแยกชั้นตกตะกอนอีกประมาณ 3 เดือน เป็นชั้นน้ำมันเบา ชั้นน้ำส้มควันไม้ และชั้นน้ำมันทาร์ จึงจะได้น้ำส้มควันไม้ที่บริสุทธิ์นำไปใช้ได้สารพัดประโยชน์ สารประกอบต่างๆในไม้จะถูกสลายด้วยความร้อนเกิดเป็นสารใหม่ๆ มากกว่า 200 ชนิด มีสารประกอบที่สำคัญ ได้แก่ น้ำ 85%, กรดอินทรีย์ 3%, สารอินทรีย์อื่นๆอีก 12%, มีค่าความเป็นกรดประมาณ 2-3 ประโยชน์ ของ น้ำส้มควันไม้ กำจัดแมลงในนาข้าว พวกแมลงสิง แมลงบั่ว เพลี้ยไฟ เพลี้ยกระโดดในนาข้าวมักมาดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นข้าว ทำให้เมล็ดลีบ ส่งผลต่อการผลิต ในช่วงระบาดควรอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง แมลงดังกล่าวจะไม่มาเกาะต้นข้าว กำจัดเชื้อโรค และแมลงศัตรพืชที่ตกค้างในดิน ก่อนปลูกพืช […]

น้ำส้มควันไม้ คืออะไร? มีประโยชน์ หรือ โทษอย่างไร? Read More »

ยาฆ่าหญ้า “ฆ่าหญ้า หรือ ฆ่าคน” ?

คณะกรรมการ วัตถุอันตรายแห่งประเทศไทย ได้แบนวัตถุอันตรายอย่าง ยาฆ่าหญ้า พาราควอต ซึ่งเป็นสารเคมี กำจัดศัตรูพืช ห้ามมีครอบครอง ห้ามใช้ และห้ามขาย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2563 มาดูกันว่าสารเคมีดังกล่าวมีอันตรายอย่างไร พาราควอต คืออะไร ? เป็นสารเคมีที่ที่สามารถทำลายการสังเคราะห์แสงของใบไม้เขียว โดยจะทำให้วัชพืชเหี่ยวและตายไป ซึ่งสารเคมีจะมีผลต่อศัตรูพืชเท่านั้นจะไม่มีกลไกในการทำลายระบบโคนต้นและราก ด้วยคุณสมบัติและราคาต่ำทำให้เกษตรกรนิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ความอันตรายของ พาราควอต จากงานวิจัยพบว่า พาราควอนที่เกษตรกรฉีดพ่นลงดินนั้นสามารถแพร่กระจายไปยังสัตว์และแหล่งน้ำอื่นๆ โดยพบการตกค้างของผัก ผลไม้ในห้างสรรพสินค้าเกินมาตรฐาน ทั้งนี้ยังไม่สามารถล้างออกได้ ถึงแม้จะนำไปต้มที่อุณหภูมิ 300 องศาเซลเซียสก็ตาม ทำให้เราสามารถรับพาราควอตเข้าสู่ร่างกายผ่านการกินผักผลไม้  นอกจากการบริโภคแล้ว ยังสามารถรับพาราควอตได้จากการสัมผัส โดยเกษตรกรจะมีโอกาสได้รับสูงมาก เนื่องมาจากการไม่สวมอุปกรณ์ป้องกันในขณะที่ทำเกษตรกรรม โดยจากงานวิจัยพบว่า พาราควอตทำให้ระบบภูมิคุ้มกันต่ำลง ส่งผลให้ติดเชื้อง่ายขึ้น ซึ่งเชื้อสาเหตุมักเป็นกลุ่มของแบคทีเรียที่มักพบในแหล่งน้ำจืด ก่อให้เกิดโรคเนื้อเน่า กลุ่มตัวอย่างที่พบ ในจังหวัดยโสธร มีหมู่บ้านห้องแซง ในตำบลเลิงนกทา ถูกรายล้อมไปด้วยไร่อ้อยไร่มันสำปะหลัง และสวนยาง ซึ่งส่วนใหญ่ใช่สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เกษตรกรในพื้นที่จึงมีข้อตกลงร่วมกันว่า หากพื้นที่ใดใช้สารเคมี จะนำสารเคมีที่ใช้มาแขวนเตือนเอาไว้ ซึ่งแตกต่างกับคนนอกพื้นที่ที่เข้ามาเช่าทำไร่อ้อยไร่มันสำปะหลังแปลงใหญ่มักจะใช่รถฉีดพ่น ทำให้คนในพื้นที่ไม่สามารถควบคุมและป้องกันได้ ส่งผลให้ชาวบ้านที่นี่เป็นโรคเนื้อเน่ามากขึ้น จากข้อมูลของโรงพยาบาลส่วนตำบลพบว่ามีคนที่เป็นโรคเนื้อเน่าเพิ่มขึ้นทุกเดือน

ยาฆ่าหญ้า “ฆ่าหญ้า หรือ ฆ่าคน” ? Read More »