การปลูกพืชไร่และพืชสวนของประเทศไทยเป็นไปอย่างกว้างขวาง และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ใน สอบัน ทั้งนี้ก็เพื่อตอบสนองความต้องการในการบริโภคและอุปโภคของประชากรที่เพิ่มมากขึ้นตาม เจ้าดับ นอกจากนี้ก็ยังรวมถึงความต้องการในการส่งออกขายต่างประเทศ เพื่อนํารายได้เข้ามาสู่ประเทศ จากความต้องการดังกล่าวจะเห็นได้ว่า เป็นความต้องการผลผลิตจากการปลูกพืชไร่และพืชสวน ใน ปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะใช้วิธีการปลูกตามธรรมชาติ หรือตามธรรมดาอย่างที่เคยเป็นมาในอดีต รัฐบาล จึงได้จัดตั้งหน่วยงานที่จะส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวนขึ้น เพื่อทําให้การปลูกพืชไร่และพืชสวนได้ รับผลผลิตที่ดีเหมาะสมและสอดคล้องกับความต้องการ
หน่วยงานที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรงเกี่ยวกับการปลูกพืชไร่และพืชสวนก็คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์ ซึ่งนับได้ว่าเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดของประเทศ ที่จะรับมอบหมายหน้าที่จากรัฐบาลมา ปฏิบัติ เพื่อให้บังเกิดผลตามเป้าหมายของการส่งเสริมชาวไร่และชาวสวน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะมีหน่วยงานย่อยที่จะรับผิดชอบในการปฏิบัติเฉพาะอย่าง หน่วยงานย่อยของกระทรวงเกษตรและ สหกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และมีส่วนสําคัญมากในการส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวน มีดังนี้
1. สํานักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
หน่วยงานนี้จะมีหน่วยงานย่อยที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการปลูกพืชไร่และพืชสวนอยู่ 2 หน่วยงาน คือ
กองบินเกษตร
กองบินเกษตรจะทําหน้าที่ช่วยในด้านการใช้เครื่องบินปฏิบัติการฉีด หรือโปรยสารเคมีที่ใช้ใน การทําลายศัตรูพืชและโรคพืช ในพื้นที่ที่ต้องการ
สํานักงานปฏิบัติการฝนหลวง
จะมีหน้าที่ช่วยเหลือชาวไร่และชาวสวน ในขณะที่ประสบกับภาวะฝนแล้ง ซึ่งเป็นอันตราย ต่อพืช โดยจะทําให้เกิดฝนเทียมตกลงในพื้นที่ที่ประสบกับความแห้งแล้งนั้น
2. กรมชลประทาน
กรมชลประทานจะทําหน้าที่ในการสร้างเขื่อน ฝาย อ่างเก็บน้ํา และอื่น ๆ เพื่อจัดสรรน้ําให้ ชาวไร่และชาวสวนได้มีน้ําใช้ในการเพาะปลูกอย่างเพียงพอ ในขณะเดียวกัน ก็จะป้องกันการเกิดน้ํา ท่วมไปด้วยในกรณีที่เกิดมีน้ํามาก
3. กรมวิชาการเกษตร
กรมวิชาการเกษตรเป็นหน่วยงานด้านวิชาการหรือด้านความรู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับการเกษตร จะ ทําหน้าที่ค้นคว้าวิจัยวิธีการเพาะปลูกพืชต่าง ๆ การใช้ปุ๋ย การใช้สารเคมีฆ่าแมลง ฯลฯ แล้วนํามาเผย แพร่ถ่ายทอดให้ชาวไร่และชาวสวนนําไปปฏิบัติ กรมวิชาการเกษตรมีหน่วยงานย่อยที่เกี่ยวข้องดังนี้ คือ
สถาบันวิจัยพืชไร่
จะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงด้านพืชไร่ โดยจะทําการคัดเลือกพันธุ์พืช ผสมพันธุ์พืช ปรับ ปรุงบํารุงพันธุ์พืช ขยายพันธุ์พืช เช่น ฝ้าย ถั่ว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วเขียว หม่อน ปอ ป่าน ฯลฯ นอกจากนี้ยังค้นคว้าเกี่ยวกับโรคพืชไร่ แมลงศัตรูพืชไร่ เพื่อนําไปส่งเสริมให้ชาวไร่ได้รับความรู้ต่อไป
มีสถานีทดลองพืชไร่อยู่ในจังหวัดต่างๆ ทุกภาคไม่น้อยกว่า 20 สถานี เช่น
– สถานีทดลองพืชไร่ตาคลี จังหวัดนครสวรรค์
– สถานีทดลองพืชไร่ศรีสําโรง จังหวัดสุโขทัย
– สถานีทดลองพืชไร่แม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
– สถานีทดลองพืชไร่เชียงราย จังหวัดเชียงราย
– สถานีทดลองพืชไร่ชัยนาท จังหวัดชัยนาท
– สถานีทดลองพืชไร่พระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
– สถานีทดลองพืชไร่อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
– สถานีทดลองพืชไร่ห้วยโป่ง จังหวัดระยอง
– สถานีทดลองพืชไร่มุกดาหาร จังหวัดนครพนม
– สถานีทดลองพืชไร่มหาสารคาม จังหวัดมหาสารคาม
– สถานีทดลองพืชไร่โนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
– สถานีทดลองพืชไร่ขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น
– สถานีทดลองพืชไร่สกลนคร จังหวัดสกลนคร
– สถานีทดลองพืชไร่กาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
– สถานีทดลองพืชไร่ร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด
– สถานีทดลองพืชไร่อุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
– สถานีทดลองพืชไร่เลย จังหวัดเลย
– สถานีทดลองพืชไร่บ้านใหม่สําโรง จังหวัดนครราชสีมา
– สถานีทดลองพืชไร่พัทลุง จังหวัดพัทลุง
– สถานีทดลองพืชไร่พิษณุโลก จังหวัดพิษณุโลก
4. กรมส่งเสริมการเกษตร
หน่วยงานนี้จะมีหน้าที่ในการส่งเสริมการเกษตร ที่เกี่ยวข้องกับชาวไร่ชาวสวนมากที่สุดหน่วย งานหนึ่ง โดยมุ่งที่จะทําให้เกษตรกรชาวไร่ชาวสวนได้เปลี่ยนแปลงทัศนคติเดิม ๆ แล้วหันมารับการทําไร่ ทําสวนแบบใหม่ เพื่อจะได้พัฒนาไร่และสวนของตนให้อยู่ในระดับมาตรฐาน หน่วยงานย่อยของกรมส่ง เสริมการเกษตรที่เกี่ยวข้องมีดังนี้ คือ
การส่งเสริมพืชพันธุ์
จะทําหน้าที่ติดต่อเพื่อหาความรู้มาถ่ายทอดให้พนักงานส่งเสริม เพื่อนําไปถ่ายทอดให้แก่ ชาวไร่และชาวสวน
กองขยายพันธุ์พืช
จะทําหน้าที่วางแผนการผลิตและขยายพันธุ์ที่สําคัญทางเศรษฐกิจ ให้เหมาะสมแก่เกษตรกร ชาวไร่และชาวสวน และสิ่งที่สําคัญอีกอย่างหนึ่ง คือ จะควบคุมให้เมล็ดพันธุ์พืชที่จะใช้ในการเพาะ ปลูกมีคุณภาพมาตรฐานตลอดเวลา
กองป้องกันและกําจัดศัตรูพืช
จะทําหน้าที่ป้องกันและกําจัดศัตรูพืช และให้บริการความรู้แก่เกษตรกรในการป้องกันและ กําจัดศัตรูพืชที่ถูกต้อง
กองพัฒนาการการบริหารงานเกษตร
จะทําหน้าที่วางแผน สนับสนุน ให้คําแนะนํา และส่งเสริมการทํางานของกลุ่มเกษตรกร
สถาบันวิจัยพืชสวน
จะรับผิดชอบด้านพืชสวน โดยทําหน้าที่เกี่ยวกับพันธุ์ผัก ไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้เมืองหนาว หัวผักกาด ลิ้นจี่ น้อยหน่า องุ่น ลําไย สับปะรด มะม่วง ขนุน ทุเรียน ฯลฯ เพื่อสร้างพันธุ์ที่ดีขึ้น ค้นคว้าวิธีการปลูก การใช้ปุ๋ย ฯลฯ เพื่อนําไปส่งเสริมให้กับชาวสวน
มีสถานีทดลองพืชสวนอยู่ในจังหวัดต่าง ๆ ทุกภาค เช่น
– สถานีทดลองพืชสวนดอยมูเซอ จังหวัดตาก
– สถานีทดลองพืชสวนท่าชัย จังหวัดสุโขทัย
– สถานีทดลองพืชสวนน่าน จังหวัดน่าน
– สถานีทดลองพืชสวนห้างฉัตร จังหวัดลําปาง
– สถานีทดลองพืชสวนฝาง จังหวัดเชียงใหม่
– สถานีทดลองพืชสวนบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
– สถานีทดลองพืชสวนพลิ้ว จังหวัดจันทบุรี
– สถานีทดลองพืชสวนนครพนม จังหวัดนครพนม
– สถานีทดลองพืชสวนศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
– สถานีทดลองพืชสวนสวี จังหวัดชุมพร
– สถานีทดลองเกษตรที่สูงแม่จอมหลวง จังหวัดเชียงใหม่
– สถานีทดลองเกษตรที่สูงขุนวาง จังหวัดเชียงใหม่
สถาบันวิจัยยาง
จะมีหน้าที่ค้นคว้าและทดสอบเกี่ยวกับการปลูกยาง เช่น การใช้ปุ๋ย การปลูกพืชแซมยาง การขยายพันธุ์ยางพันธุ์ดี วิธีการกรีดยาง วิธีการปราบวัชพืช ฯลฯ แล้วนํามาฝึกอบรมให้แก่ชาวสวนยาง เพื่อนําไปใช้ในการทําสวนยางต่อไป กองการยางมีสถานีทดลองยางในภาคใต้และภาคตะวันออก เช่น
– สถานีทดลองยางในช่อง จังหวัดกระบี่
– สถานีทดลองยางคันธุลี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
– สถานีทดลองยางวังทั้ง จังหวัดพังงา
– สถานีทดลองยางโคกโพธิ์ จังหวัดปัตตานี
– สถานีทดลองยางโคกปรเม็ง จังหวัดนราธิวาส
– สถานีทดลองยางคลองท่อม จังหวัดกระบี่
– สถานีทดลองยางคอหงส์ จังหวัดสงขลา
– สถานีทดลองยางถลาง จังหวัดภูเก็ต
– สถานีทดลองยางกระบุรี จังหวัดระนอง
กองเกษตรสัมพันธ์
จะทําหน้าที่เผยแพร่ความรู้ด้านการเกษตรแก่เกษตรกรชาวไร่และชาวสวน โดยการทํา เอกสารคําแนะนํา หนังสือคู่มือ วารสาร โปสเตอร์ ภาพยนตร์ ภาพนิ่ง เผยแพร่ข่าวสารทางวิทยุ กระจายเสียง โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ จัดแสดงนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
สํานักงานเกษตร
จะมีสํานักงานเกษตรจังหวัด อําเภอ และตําบล ทําหน้าที่ลงไปคลุกคลีอยู่กับเกษตรกรชาวไร่ และชาวสวนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมีส่วนช่วยเกษตรกรชาวไร่และชาวสวนได้เป็นอย่างมาก
5. กรมส่งเสริมสหกรณ์
จะมีส่วนช่วยให้เกษตรกรชาวไร่และชาวสวนในด้านการจัดตั้งให้เกิดกลุ่มสหกรณ์ในกลุ่มชาว ไร่และชาวสวน ซึ่งจะทําให้เกิดการระดมเงินทุน การบริหารงาน การดําเนินธุรกิจ และส่งเสริมประโยชน์ ทางเศรษฐกิจของเกษตรกรให้บังเกิดผลดี
6. กรมพัฒนาที่ดิน
กรมพัฒนาที่ดินทําหน้าที่ในการศึกษาและเผยแพร่ให้ความรู้ ความร่วมมือ แก่เกษตรกรชาวไร่ และชาวสวนในเรื่องของที่ดินและแหล่งน้ํา เพื่อให้เกษตรกรปลูกพืชได้ถูกต้องและเหมาะสม ได้ผลดีตาม ความต้องการ