(การทำพืชสวน) ยางพารา การปลูก กรีดยาง และการรักษา

การทําสวนยางพารา

ยางพาราเป็นพืชที่สําคัญต่อประเทศไทยรองมาจากข้าว สามารถทํารายได้ให้แก่ประเทศเป็น จํานวนมาก ปัจจุบันความจําเป็นในการใช้ยางมีปริมาณสูงขึ้น เพราะในชีวิตประจําวันของคนเราจะผูก พันอยู่กับยางเสมอ เช่น ทําเสื้อกันฝน ล้อรถ อุปกรณ์กีฬา อุปกรณ์การเรียน กระเบื้องยาง เบาะรถ และของเด็กเล่น เป็นต้น

เมื่อปี พ.ศ. 2444 พระยารัษฎานุประดิษฐ์มหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นําเมล็ดยางพารามา ทดลองปลูกที่จังหวัดตรัง โดยนําเมล็ดยางมาจากประเทศมาเลเซีย ต่อมาได้มีการขยายพันธุ์ยางไปปลูก ในบริเวณจังหวัดจันทบุรี ตราด และระนอง โดยหลวงราชไมตรี (นายปุณ ปุณศรี) จากนั้นต้นยางก็เริ่มมี จํานวนมากขึ้นในแถบจังหวัดภาคใต้ ในปัจจุบันได้มีผู้นําไปทดลองปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยางพารามีถิ่นกําเนิดแถบลุ่มแม่น้ําแอมะซอน ซึ่งอยู่ในประเทศบราซิล คําว่าพารานั้นเป็นชื่อของเมือง ท่าเรือแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นแหล่งที่มีการขนส่งยางในสมัยก่อน และยังเป็นภาษาพื้นเมืองของอเมริกาใต้ ด้วย เราจึงเรียกรวมกันว่า “ยางพารา”

การทําสวนยางพารา

การปลูกยางพารา

1. การเพาะด้วยเมล็ด เป็นการนําเมล็ดพันธุ์ยางไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ หลุมละประมาณ 23 เมล็ด ทิ้งช่วงให้ต้นยางโตได้ขนาดประมาณ 3 เดือน จึงแยกปลูกหรือนํากิ่งยางพันธุ์ดีมาติดตากับต้น ยางที่แข็งแรงก็ได้

2. การติดตา เป็นการนําต้นยางที่เพาะในถุงซึ่งได้มาจากการติดตา จนกลายเป็นต้นอ่อนที่ยังไม่ แตกกิ่ง ไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้

วิธีการปลูก

– การเตรียมดิน ต้องปรับพื้นดินให้เรียบ และกําจัดวัชพืชประเภทต่าง ๆ ให้หมด
– การขุดหลุม ต้องขุดหลุมให้ลึก 50 เซนติเมตร กว้าง 50 เซนติเมตร ยาว 50 เซนติเมตร เว้น ระยะระหว่างแถว 8 เมตร ระหว่างต้น 2.5 เมตร
– การปลูก เมื่อขุดหลุมแล้ว นําดินขึ้นมาตากประมาณ 15 วัน โดยแบ่งดินเป็น 2 กอง คือ ดิน ชั้นบน และดินชั้นล่าง

เมื่อนําต้นยางที่เตรียมไว้ลงปลูกในหลุม ให้นําดินชั้นบนที่มีอาหารพืชสมบูรณ์ใส่ลงไปในหลุม ประมาณ 1/2 หลุม แล้วจึงนําต้นยางที่จะปลูกใส่ลงในหลุม จากนั้นจึงนําดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยใส่ลงไปให้ เต็มหลุม

ขั้นตอนการรักษา

1. การปลูกซ่อม ถ้าต้นยางอ่อนตายลงต้องปลูกซ่อม เพื่อจะทําให้ต้นยางเจริญเติบโตทันกันทั้งสวน

2. การตัดแต่งกิ่ง ปกติชาวสวนยางจะตัดกิ่งต้นยางที่แตกกิ่งใกล้บริเวณหน้ากรีด (บริเวณที่ทําให้ น้ํายางไหล) ในขณะที่กิ่งยังเขียวและไม่มีใบ และไม่ควรตัดกิ่งมากเกินไป จะทําให้ต้นยางอ่อนแอได้

3. การกําจัดวัชพืช ได้แก่ พวกหญ้าคา และหญ้าอื่น ๆ วัชพืชเหล่านี้จะคอยแย่งอาหารในดิน และยังเป็นเชื้อเพลิง อาจทําให้เกิดการลุกไหม้ได้ ดังนั้น ชาวสวนยางต้องกําจัดวัชพืชเหล่านี้อย่างสม่ํา เสมอ

4. การปลูกพืชคลุมดิน เป็นการบํารุงดินและเพิ่มอินทรียวัตถุภายในดิน ตลอดจนช่วยป้องกัน การชะล้างหน้าดิน พืชที่นิยมปลูก คือ พืชตระกูลถั่ว

5. การใส่ปุ๋ย เป็นการเพิ่มอาหารให้กับต้นยาง เพื่อจะได้เจริญเติบโตอย่างเต็มที่ พร้อมที่จะให้ น้ํายางแก่ชาวสวน

6. การคัดทิ้ง เมื่อต้นยางเจริญเติบโตเต็มที่ ได้ผ่านการกรีดยางแล้ว ควรโค่นต้นที่มีประสิทธิ ภาพในการให้น้ํายางน้อยหรือต้นที่อ่อนแอทิ้ง ถ้าหากชาวสวนเป็นผู้กรีดยางเอง ถ้าปลูก 90 ต้นต่อไร่ ควรโค่นทิ้งประมาณ 10 ต้น ให้เหลือ 80 ต้น การคัดทิ้ง ไม่ควรโค่นครั้งละหลาย ๆ ต้น ควรกระทําแบบ ค่อยเป็นค่อยไป เพราะจะทําให้เกิดช่องว่างระหว่างต้นยาง อาจเป็นอันตรายเมื่อมีลมพัดมาแรง ๆ

ลักษณะของต้นยางพารา

ลักษณะของต้นยางพารา

ต้นยางพาราเป็นไม้ยืนต้น ประเภทไม้เนื้ออ่อนลําต้นตั้งตรง มีขนาดใหญ่ สูงประมาณ 35-40 เมตร เมื่ออายุยางพอจะกรีดยางได้เปลือกจะเป็นสีเทาอ่อนหรือสีน้ําตาล ซึ่งที่ส่วนของเปลือกจะมีท่อน้ํา ยางสําหรับกรีด เพื่อนําน้ํายางไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ยางพาราเป็นไม้ผลัดใบ เป็นใบประกอบ แต่ละ ก้านใบมี 3-5 ใบ จะออกดอกเป็นช่อและออกดอกหลังจากมีการผลัดใบ ส่วนนํายางเป็นส่วนที่สําคัญ ที่สุดของยางพารา น้ํายางมีลักษณะสีขาวขุ่นคล้ายน้ํานม เมื่อแห้งจะมีลักษณะเหนียวเกาะกันเป็นแผ่น หรือก้อน

สภาพดินฟ้าอากาศ

ยางพาราเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในสภาพอากาศร้อนและชุ่มชื้น มีฝนตกชุก อุณหภูมิเฉลี่ย ประมาณ 26-36 องศาเซลเซียส ดินที่เหมาะสมในการปลูกยางพาราควรเป็นดินร่วน มีความลึกไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร สามารถอุ้ม น้ําและระบายน้ําได้ดี สภาพพื้นที่ที่เหมาะแก่การปลูกยางพารา ควรเป็นที่ราบหรือเนินเล็กน้อย

พันธุ์ยางพารา

พันธุ์ยางพาราที่นิยมปลูกโดยทั่วไป ได้แก่
พันธุ์ยางชั้นที่ 1 ประกอบด้วยพันธุ์ PR 255 GT 1 RRIM 600 PR 261 และ PB 5/51
พันธุ์ยางชั้นที่ 2 ประกอบด้วยพันธุ์ RRIM 623 PB 235 PB 225 และ PB 26
พันธุ์ยางชั้นที่ 3 ประกอบด้วยพันธุ์ RRIM 703 RRIM 712 RRIM 725 RRIC 6 AVROS 2 RRIM 527 และ PB 28/59

การกรีดยาง

การกรีดยาง

การกรีดยางเป็นงานที่สําคัญของชาวสวน เพราะจะได้ผลผลิตมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับการกรีดยาง เป็นสําคัญ ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้

1. อายุของต้นยาง โดยทั่วไปแล้วต้นยางที่ได้รับการบํารุงรักษา จะสามารถกรีดยางได้เมื่ออายุ 5 -6 ปี แต่ถ้าขาดการบํารุงรักษา จะกรีดได้เมื่ออายุ 7-8 ปี

2. ระยะเวลาในการกรีด ชาวสวนจะเริ่มกรีดยางตั้งแต่เวลา 05.30-06.00 น. ซึ่งเป็นช่วงที่ไม่มืด จนเกินไป และยังรักษาไม่ให้น้ํายางแห้ง แต่ถ้ามีฝนตกตั้งแต่กลางคืนหรือช่วงเวลาที่ชาวสวนจะออกกรีด ยาง ต้องรอให้ฝนหยุดตกและต้นยางแห้งจนจะสามารถกรีดยางได้

3. อุปกรณ์ในการกรีด จะใช้มีดสําหรับกรีดยาง และต้องมีความคมอยู่เสมอ ลักษณะของมีดจะ แตกต่างกันไป แต่จะต้องเหมาะสมกับการกรีดยาง นอกจากนี้ก็จะมีถ้วยรองน้ํายางซึ่งมีห่วงคล้องติดกับ ต้นยาง และยังมีตะเกียงสําหรับให้แสงสว่างในตอนกลางคืน

4. วิธีการกรีดยาง เริ่มจากลอกเปลือกของต้นยางตั้งแต่บริเวณติดตาของต้นยาง ซึ่งสูงจาก พื้นดินประมาณ 150 เซนติเมตรขึ้นไป และขนาดของลําต้นวัดได้ประมาณ 50 เซนติเมตร เราเรียกว่า การเปิดกรีด หลังจากเปิดกรีดเรียบร้อยชาวสวนก็จะกรีดยาง ซึ่งเริ่มกรีดโดยวนจากซ้ายไปขวา เป็นการ ตัดผ่านท่อน้ํายาง ซึ่งท่อน้ํายางจะวนจากขวาไปซ้ายทุกท่อ วิธีการนี้ทําให้ชาวสวนได้น้ํายางมาก หาก ปฏิบัติผิดวิธีจะทําให้ได้น้ํายางน้อย

น้ำยาง

น้ำยาง

เป็นส่วนที่เป็นของเหลว ลักษณะข้นและมีสีขาวคล้ายน้ํานม เมื่อชาวสวนได้น้ํายางมาแล้ว ก็จะ นําไปทํายางแผ่น โดยนําไปเข้าเครื่องรีดและเครื่องอัดกลีบ แล้วทําให้กว้าง นอกจากยางแผ่นแล้วยังทํา เป็นยางแท่ง และน้ํายางข้น เมื่อผ่านกระบวนการทั้งหมด ชาวสวนจะส่งยางไปยังโรงงานต่าง ๆ เพื่อแปรรูปเป็นสิ่งของเครื่อง ใช้ต่าง ๆ ที่อํานวยความสะดวกสบายให้แก่พวกเราทุก ๆ คน

แบ่งปันบทความ