Adiruj Mahaniyom

Agricultural Chemicals นักวิชาด้านเคมีการเกษตร

ทำไม สารกำจัดแมลง ถึงเขียนว่า “ห้ามใช้ในนาข้าว”

“ห้ามใช้ในนาข้าว” มีใครเคยเห็นคำนี้บ้างครับมันจะอยู่ตรง บนมุมซ้าย ของขวดยา หรือ กล่องยา ที่เราใช้กัน ส่วนมากจะเป็นสารพวกในกลุ่ม ไพรีทรอยด์ หรือ อะเวอร์เมกติน พวก ไซเพอร์เมทริน อะบาเมกติน นั่นเอง 💊 มันเป็นเพราะอะไรกันทำไมต้องมีข้อความเขียนด้วยว่าห้ามใช้ในนาข้าว ❓ วันนี้จะมาเล่าให้ฟัง เริ่มเรื่องเลย 😊 มันมีอยู่ว่าสารกลุ่มพวกนั้น มันไปฆ่าแมลงที่เขากินพวก ไข่พวกตัวอ่อน หรือ ว่าตัวเต็มวัยของเพลี้ยกระโดด 🐌 พูดง่ายๆก็คือสารพวกนี้ มันจะไปกำจัดแมลงพวกนั้น ที่เป็นศัตรูพืชของเพลี้ยกระโดด อีกทีนึง ทางกรมเนี่ยเขาก็เลยกลัวว่า การควบคุมเพลี้ยกระโดดที่มันระบาด อาจทำได้ยากขึ้นหรือว่าควบคุมไม่ได้เขาก็เลยบังคับเป็นกฎหมายขึ้น ว่าต้องเขียนคำว่า ห้ามใช้ในนาข้าว กับสารกลุ่มเหล่านั้นนั่นเอง 🍂 ถ้าถามว่าสามารถใช้ได้ไหม? ก็ต้องดูว่า ในพื้นที่ที่เราอยู่ในเขตนั้นเนี่ย มันมีการระบาดของเพลี้ยกระโดดหรือเปล่า ถ้าไม่มีก็สามารถใช้ได้ตามปกติเลย

ทำไม สารกำจัดแมลง ถึงเขียนว่า “ห้ามใช้ในนาข้าว” Read More »

วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบกว้าง เลือกยาฆ่าหญ้าอย่างไรให้เหมาะสม?

ปัจจุบัน ยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในประเทศไทย รวมถึงในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา อังกฤษ หรือญี่ปุ่น นอกจากการกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นพืชที่ไม่ต้องการในการในแปลงเกษตรแล้วนั้น สารเคมีกำจัดวัชพืชยังมีผลต่อการกำจัดพืชชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น ผัก พืชผล ต้นไม้พุ่มสูง หรือพืชปลูก  วัชพืชสามารถแบ่งออกตามอายุวงจรชีวิต เช่น วัชพืชฤดูเดียวหรือปีเดียว และวัชพืชค้างปีหรือวัชพืชถาวร นอกจากนี้อาจแบ่งตามลักษณะของใบ ซึ่งได้แก่ วัชพืชใบกว้าง และวัชพืชใบแคบ ยาฆ่าหญ้า วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบแคบ(narrow leaf weeds) หมายถึงวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป มีลักษณะคือส่วนยาวของใบยาวกว่าส่วนกว้างของใบ และมีเส้นใบขนานกันไปตามความยาวของใบ ลำต้นกลมมีข้อ ปล้อง เห็นได้ชัดเจน มักเรียกวัชพืชพวกนี้ว่าหญ้า เช่น หญ้าตีนติด หญ้าขน หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าขจรดอกเล็ก เป็นต้น สามารถใช้สารเคมีฉีดพ่นก่อนงอกหรือหลังงอกก็ได้ หากฉีดพ่นก่อนงอกอาจใช้ อะลาคลอร์ (alachlor) หรือที่นิยมเรียกว่า แลสโซ่ ไตรฟลูราลิน (trifluralin) หรือฉีดพ่นหลังงอกอาจใช้ พาราควอต (paraquat) ดาลาพอน

วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบกว้าง เลือกยาฆ่าหญ้าอย่างไรให้เหมาะสม? Read More »

ยาฆ่าหญ้าแบบ เลือกทำลาย/ไม่เลือกทำลาย คืออะไร ต่างกันยังไร?

การทำเกษตรกรรมการกำจัดวัชพืชคิดเป็น 1 ใน 3 ของต้นทุนการผลิต หากไม่กำจัดหรือกำจัดล่าช้าส่งผลให้ผลผลิตเกิดความเสียหายได้ วัชพืชยังเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชหลายชนิด สารเคมีกำจัดวัชพืชจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำเกษตรกรรมเนื่องจากให้ผลในการกำจัดวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ซึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ หรือชนิดสัมผัสตาย (contact herbicides) เป็นสารเคมีในการกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ สารเคมีประเภทนี้เมื่อสัมผัสกับส่วนของพืชจะทำอันตรายต่อเซลล์บริเวณที่สัมผัส และจะไม่เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ปกติสารพวกนี้จะทำลายเซลล์พืชอย่างรวดเร็ว เหมาะที่จะใช้กับวัชพืชล้มลุก ถ้าใช้กับพวกที่มีเง่าหรือวัชพืชถาวรจะไม่ได้ผล สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดสัมผัสตาย สามารถจำแนกตามขอบเขตของวัชพืชที่ถูกควบคุมโดยจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย (Selective) และสารกำจัดวัชพืชประเภทไม่เลือกทำลาย (non-selective) ตัวอย่างของสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดสัมผัสตาย ได้แก่ oils, D N B P (sinox PE), solan เป็นต้น สารกำจัดวัชพืช แบบเลือกทำลาย สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย (selective herbicide) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีคุณสมบัติในการทำลายวัชพืชบางชนิด แต่จะไม่ทำลายวัชพืช หรือพืชปลูกบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายใบแคบ และสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายใบกว้าง ตัวอย่างของสารกำจัดวัชพืชพวกนี้ได้แก่ clomazone,

ยาฆ่าหญ้าแบบ เลือกทำลาย/ไม่เลือกทำลาย คืออะไร ต่างกันยังไร? Read More »

ยาฆ่าหญ้า แบบ ดูดซึม เผาไหม้ คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

วัชพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลยับยั้งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมใช้การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีการทางเคมี (Chemical Control) ซึ่งเป็นวิธีการที่ให้ผลดี และสามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว การจำแนกประเภทสารเคมีกำจัดวัชพืชสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับหลักการที่ใช้ หากพิจารณาลักษณะการทำลาย สามารถจำแนกสารเคมีกำจัดวัชพืชออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม และสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ หรือชนิดสัมผัสตาย ยาฆ่าหญ้า ชนิดดูดซึม สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม (systemic herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่น มีลักษณะการทำลายคือ หลังจากสารกำจัดวัชพืชเข้าสู่ต้นพืชแล้ว จะเคลื่อนที่ไปทั่วต้นพืชโดยไปถึงลำต้นและรากที่อยู่ใต้ดิน ทำให้พืชตายได้ทั่วถึงและไม่มีหน่อของพืชแทงโผล่พ้นดินขึ้นมาใหม่ สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดนี้จะมีผลรุนแรงกับพวกพืชใบกว้าง หรือใบแคบเท่านั้น โดยสารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ สารเคมีกำจัดวัชพืชในกลุ่มไกลโฟเซต ซึ่งกำจัดวัชพืชแบบทำลายได้ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบ แต่กำจัดได้ดีที่สุดกับชนิดใบแคบ มักใช้ในการกำจัดวัชพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น หญ้าคา แห้วหมู ไมยราบยักษ์ ใช้ฉีดพ่นทางใบ และวัชพืชจะดูดซึมเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ อย่างช้าๆ สามารถเห็นผลได้ภายในสัปดาห์ที่ 3 หากต้องการให้ได้ผลดีจะต้องฉีดพ่นวัชพืชที่มี 4-8 ใบ หรือต้นที่แก่เต็มที่ หากฉีดพ่นวัชพืชที่มีอายุน้อยมักจะไม่ได้ผล ซึ่งไกลโฟเซทมีผลตกค้างในดินน้อยมาก เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลาย และสารกำจัดวัชพืชกลุ่ม 2,4-ดีโซเดียมซอลท์ จะใช้ฉีดพ่นทางใบโดยเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง และกก เช่น ผักตบชวา ขาเขียด

ยาฆ่าหญ้า แบบ ดูดซึม เผาไหม้ คืออะไร ต่างกันอย่างไร? Read More »

การใช้ กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม กำจัดวัชพืช

การพึ่งพา ยาฆ่าหญ้า ชนิดเดียวมากเกินไปอาจทําให้วัชพืชที่ดื้อยาพัฒนาได้ สิ่งนี้ทําให้ความสามารถในการปลูกพืชในพื้นที่เฉพาะตกอยู่ในอันตราย เมื่อวัชพืชที่ดื้อยาพัฒนาขึ้นเกษตรกรต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่จําเป็นในการควบคุมพวกเขา – การใช้สารกําจัดวัชพืชที่ไม่ได้วางแผนการใช้แรงงานคนที่รุนแรงและในกรณีที่รุนแรงการสูญเสียพืชผลทั้งหมด   แนวทางปฏิบัติในการจัดการวัชพืชแบบบูรณาการ (IWM) ช่วยในการเตรียมปัญหาเหล่านี้และส่งผลให้การจัดการประชากรวัชพืชดื้อยาประสบความสําเร็จ เหล่านี้รวมถึงการหมุนปกติของสารกําจัดศัตรูพืชที่มีโหมดที่แตกต่างกันของการกระทํา ด้วยโหมดการทํางานที่เป็นเอกลักษณ์กลูโฟซิเนต – แอมโมเนียมจึงเหมาะอย่างยิ่งสําหรับใช้ในการหมุนด้วยสารกําจัดวัชพืชในวงกว้างเช่นไกลโฟเสตที่ใช้กันทั่วไป เพื่อปกป้องผลผลิตของพวกเขาเกษตรกรหันมาใช้สารกําจัดวัชพืชและสารละลายพืชมากขึ้นด้วยโหมดการทํางานที่หลากหลายและทําตามขั้นตอนเชิงรุกเพื่อจัดการการต้านทานวัชพืช โปรแกรมการจัดการวัชพืชแบบบูรณาการ (IWM) เพิ่มประสิทธิภาพการหมุนเวียนพืชและผลิตภัณฑ์อารักขาพืช เนื่องจากกลูโฟซิเนต – แอมโมเนียมทํางานในลักษณะที่แตกต่างจากสารกําจัดวัชพืชที่ไวต่อการต้านทานวัชพืชจึงเหมาะสําหรับการหมุนกับพวกเขาหรือสารผสม สามารถควบคุมวัชพืชที่ทนต่อสารกําจัดวัชพืชได้ในเวลาเดียวกันช่วยลดการสะสมของความต้านทานดังกล่าวตั้งแต่แรกเราแนะนำ ยาฆ๋าหญ้า เพชรดำ ทำจากน้ำส้มควันไม้ ปลอดภัย ต่อผู้ใช้ และ สิ่งแวดล้อม เพราะ ไร้สารเคมี เราขอแนะนำ ยาฆ๋าหญ้า เพชรดำ ทำจาก น้ำส้มควันไม้ ปลอดภัย ต่อผู้ใช้และสิ่งแวดล้อม เพราะ ไร้สารเคมี

การใช้ กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม กำจัดวัชพืช Read More »