การทําปุ๋ยหมักแบบใหม่

การนําวัสดุเหลือทิ้งมากองรวมกัน
การนําวัสดุเหลือทิ้งมากองรวมกัน

การทําปุ๋ยหมักแบบใหม่เป็นการหมักวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและขยะจากชุมชน โดยการใช้หัวเชื้อจุลินทรีย์ อาหารเสริม และปุ๋ยไนโตรเจน เข้าไปทําการย่อยสลายวัสดุ ดังกล่าวให้เปลี่ยนสภาพเป็นปุ๋ยหมักที่มีคุณภาพสูง และสามารถนําไปใช้ประโยชน์ได้รวดเร็ว ยิ่งขึ้น และเป็นการกองปุ๋ยหมักแบบกองรวม ไม่ต้องกองเป็นชั้นๆ ไม่ต้องมีการกลับกอง ปุ๋ยหมัก และไม่ต้องใช้ปุ๋ยคอก จึงเหมาะสําหรับการทําปุ๋ยหมักในบริเวณที่ไม่มีแหล่งของปุ๋ยคอก

1. ส่วนประกอบของการทําปุ๋ยหมักแบบใหม่ จํานวน 1 ตัน ประกอบด้วย

1.1 วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและชุมชนจํานวน 12 ลูกบาศก์เมตร
1.2 หัวเชื้อจุลินทรีย์จํานวน 1 ซอง
1.3 อาหารเสริมหนัก 1-2 กิโลกรัม
1.4 ปุ๋ยไนโตรเจนหนัก 2-5 กิโลกรัม
1.5 ดินร่วนหรือดินเหนียวตากแห้ง บดย่อยละเอียดจํานวน 2 ลูกบาศก์เมตร

ซากพืช ใบไม้ ที่นํามากองรวมเป็นปุ๋ยหมัก
ซากพืช ใบไม้ ที่นํามากองรวมเป็นปุ๋ยหมัก

 2. การเตรียมส่วนประกอบของปุ๋ยหมักแบบใหม่ จํานวน 1 ตัน มีดังนี้

2.1 วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและชุมชน สามารถแบ่งออกได้ 3 ประเภท ตาม ลักษณะของชิ้นส่วนวัสดุ ดังนี้
1) วัสดุชิ้นหยาบ เช่น ฟางข้าว ตอซังข้าว หญ้า เปลือกผลไม้ กาก ปาล์ม ทะลายปาล์ม กากอ้อย ต้นถั่ว วัชพืชน้ํา ต้นข้าวโพด ต้นข้าวฟ่าง และเศษผัก เป็นต้น
2) วัสดุชิ้นย่อย เช่น แกลบ ขี้เลื่อย ขุยมะพร้าว กากเปลือกกาแฟ กากถั่ว กากมันสําปะหลัง ฟางข้าวที่นวดข้าวด้วยเครื่องนวดข้าว และมูลสัตว์ เป็นต้น
3) วัสดุผสม เช่น เศษขยะจากชุมชน สิ่งปฏิกูลของตลาดสดและ โรงฆ่าสัตว์ วัสดุเหลือทิ้งจากคอกปศุสัตว์ ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และสัตว์น้ํา เป็นต้น

2.2 หัวเชื้อจุลินทรีย์ทําปุ๋ยหมัก มีการผลิตและจําหน่ายในท้องตลาดหรือของ ส่วนราชการต่าง ๆ เช่น พด. – 1 หรือไบโอนิค เอฟ.60 เป็นต้น จะมีน้ําหนัก มาตรฐาน 150 – 250 กรัมต่อซอง

2.3 อาหารเสริม มีลักษณะเป็นสารตัวเร่งการเพิ่มปริมาณของจุลินทรีย์ให้ มากขึ้นอย่างรวดเร็ว อาหารเสริมที่ใช้เป็นสารตัวเร่งจะต้องมีปริมาณสารประกอบ ฟอสเฟตสูง เช่น หินฟอสเฟตบดละเอียด ปุ๋ยซูเปอร์ฟอสเฟต ซึ่งจะมีปริมาณ สารประกอบฟอสเฟตระหว่าง 30 – 38 เปอร์เซ็นต์ จํานวน 1 กิโลกรัมต่อตัน หรือใช้ ปุ๋ยเคมีสูตรผสม เช่น 16-20 – 0 และ 6-24 -6 เป็นอาหารเสริมแทนก็ได้ จํานวน 2 กิโลกรัมต่อตัน

2.4 ปุ๋ยไนโตรเจนสามารถใช้ปุ๋ยเดี่ยวได้ 2 ชนิด คือ
1) ยูเรีย (46-0-0) จํานวน 2 กิโลกรัมต่อตัน
2) แอมโมเนียมซัลเฟต (20 -0-0) จํานวน 5 กิโลกรัมต่อตัน

2.5 ดินร่วนหรือดินเหนียวนํามาตากแห้งให้พอบดละเอียดได้จํานวน 2 ลูกบาศก์ เมตรต่อตัน

2.6 กระบอกไม้ไผ่หรือท่อพีวีซีขนาดหน้าตักกว้าง 3-5 เซนติเมตร ความยาว 75 เซนติเมตร จํานวน 3 ท่อนต่อต้น (วัสดุ) เสี้ยมปลายด้านหนึ่งให้แหลมเป็นรูป ปากเป็ด

2.7 น้ําละลายหัวเชื้อจุลินทรีย์ควรเป็นน้ําสะอาด จํานวน 20 ลิตร (1 ขึ้น)/ตัน

3.ขั้นตอนการทําปุ๋ยหมักแบบใหม่มีดังนี้

3.1 นําวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรและชุมชนมากองรวมกันเป็นรูปสี่เหลี่ยม ผืนผ้า ขนาดกว้าง 2 เมตร ยาว 4 เมตร แล้วเกลี่ยให้สม่ําเสมอ

3.2 ทําการรดน้ําให้ชุ่ม พร้อมเหยียบย่ําให้แน่น และเพิ่มวัสดุลงไปเรื่อยๆ จน ได้ความสูงของกองวัสดุไม่น้อยกว่า 1.50 เมตร แล้วเกลี่ยส่วนบนของกองวัสดุให้ราบ สม่ําเสมอกัน

3.3 นําหัวเชื้อจุลินทรีย์มาผสมกับน้ําจํานวน 20 ลิตร ข้อควรระวังคือ ขณะเท หัวเชื้อจุลินทรีย์ลงในภาชนะบรรจุน้ํา อย่าให้ฟุ้งกระจาย และผสมครั้งเดียวให้หมด ทั้งซอง แล้วใช้ไม้คนให้เข้ากัน ทิ้งไว้ 5-10 นาที

3.4 นําน้ําละลายหัวเชื้อจุลินทรีย์ไปราดลงบนกองวัสดุให้ทั่วในบริเวณส่วนบน ของกองวัสดุ

แบ่งปันบทความ