ไกลโฟเซต(Glyphosate) หรือ N-(ฟอสโฟโนเมทิล) ไกลซีน เป็นยาฆ่าวัชพืช (Herbicide) กลุ่ม phosphonic acid ชื่อทางการค้าที่พบบ่อย
คือ ราวด์อั้พ เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้าปริมาณสูงที่สุดและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี สถาบันวิจัยวิจัยมะเร็งระหว่างประเทศ (IARC) ถูกกำหนดเป็น สารก่อมะเร็ง (2A) คือ อาจก่อให้เกิดมะเร็งในมนุษย์ ข้อมูลศูนย์พิษวิทยา รพ.รามาธิบดี แสดงข้อมูลอัตราการตายของผู้ป่วย ในประเทศไทยที่ร้อยละ 3 %
ไกลโฟเซต เป็นสารกำจัดวัชพืชที่จำกัดการใช้ตาม ประกาศกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรื่อง การจำกัดการใช้ การกำหนดฉลากและภาชนะบรรจุวัตถุอันตรายที่เกี่ยวกับไกลโฟเซต ที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ ลงวันที่ 5 เมษายน 2562 ใช้เฉพาะ กำจัดวัชพืชในการปลูกอ้อย ยางพารา ปาล์มน้ำมัน มันสำปะหลัง ข้าวโพด และไม้ผล โดย ห้ามใช้ในพื้นที่ปลูกผัก หรือสมุนไพร พื้นที่ตันน้ำ และพื้นที่ สาธารณะ ผู้ใช้ต้องมีความรู้โดยเข้ารับการอบรมหรือเรียนรู้ด้วย ตนเองตามหลักสูตรของกรมวิชาการเกษตรและผ่านการทดสอบ
ประวัติของไกลโฟเซต
ไกลโฟเสทเป็นสารกำจัดวัชพืช ที่มีการใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย โดย มีการนำเข้าสูงเป็นอันดับต้น ๆ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันสารชนิดนี้จะถูกควบคุมการนำเข้าในหลาย ๆ ประเทศแล้วก็ตาม แต่สำหรับในประเทศไทย พบว่า ยังมีการใช้แทบทั่วทุกภาคของประเทศไทย มีรายงานว่าไกลโฟเสทถูสังเคราะห์ขึ้นในปี ค.ศ. 1950 โดย Dr.Henri Martin ขณะนั้นยังไม่ทราบถึงฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืช ต่อมาถูกพัฒนาโดยบริษัทมอนซานโท (Monsanto) และ ถูกใช้เป็นสารกำจัดวัชพืช
สารเคมีกำจัดวัชพืช ในประเทศไทย มีแนวโน้มการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เริ่มมีการนำเข้าสารเหล่านี้ ในยุคปฏิวัติเขียวเมื่อราว 50 ปีที่แล้ว หากพิจารณาข้อมูลตั้งแต่ปี 2540 จะเห็นได้ว่ามีการเพิ่มขึ้นประมาณ 13% ต่อปี หรือ 3 เท่าตัว โดยในปี พ.ศ. 2553 มีการนำเข้ามากถึง 117,698,480 กี้โลกรัม เป็นมูลค่า 17,924,407,345 บาท
ไกลโฟเซต ทำงานยังไง
ไกลโฟเสทใช้ในการกำจัดวัชพืช (Post-Emergence) โดยซึมเข้าทางใบ แล้วแพร่กระจายไปทั่วต้นและราก สามารถใช้ ฆ่าหญ้าประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าตีนนก หญ้าปาก ควายหญ้าตีนกา หญ้าปล้อง หญ้าขน หญ้าชันอากาศ หญ้าลูกเห็บ และ หญ้าใบไผ่ วัชพืชประเภทใบกว้าง ต่างๆ เช่น ผักตบชวา สาบแร้งสาบกา และไมยราบยักษ์ และ วัชพืชประเภทกก เช่น แห้วหมู อย่างไรก็ตาม ไกลโฟเสท สามารถทำลายระบบประสาท ของคนได้ ไกลโฟเซต ถูกดูดซึมทางใบ และ ทางรากของวัชพืช จากนั้นสารเคมีเข้าไปออกฤทธิ์ในส่วนที่มีการเจริญเติบโตของวัชพืชนั้นๆ โดยยับยั้งเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ สังเคราะห์กรดอะมิโนจำพวก ที่สำคัญของพืช 3 ชนิด คือ ทริปโตเฟน ไทโรซีน และฟีนิลอะลานีน การใช้ไกลโฟเซตจะมีประสิทธิภาพเฉพาะในช่วงที่วัชพืชกำลังเจริญเติบโตเท่านั้น จะไม่สามารถใช้ควบคุมก่อนงอกได้ (preemergent herbicide)
ประโยชน์ และ วิธีนำไปใช้
วิธีการใช้สารไกลโฟเชต สามารกใช่ได้ทั้งระยะก่อนและหลังปลูกพืช
1) ระยะก่อนปลูก ใช้พ่นกำจัดวัชพืช ทิ้งไว้ 10-14 วัน ก่อนไถเตรียมดินปลูกพืช
2) ระยะหลังปลูก เนื่องจากไกลโฟเซตเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ไม่เลือกทำลาย ดังนั้น จึงใช้กำจัดวัชพืชในพืชปลูกที่ ปลูกเป็นแถว โดยใช้พ่นระหว่างแถว แต่ต้องระวัง ไม่ให้ละอองสารปลิวไปสัมผัสส่วนของใบและลำต้นของพืชปลูก หากมีลมแรงในขณะพ่น ควรใส่อุปกรณ์ครอบหัวพ่นเพื่อป้องกัน ละอองสารปลิวไปยังพืชปลูก
3) สามารถใช้สารไกลโฟเซตกำจัดวัชพืชฤดูเดียวที่งอกจากเมล็ด เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้านก สีชมพู สาบม่วง ผักโขม หญ้ายาง ผักเบี้ยใหญ่ เป็นต้น และ เหมาะสำหรับพ่นกำจัดวัชพืชข้ามปี ซึ่งมีหัว เหง้า ไหลหรือลำต้นใต้ดิน เช่น แห้วหมู หญ้าคา หญ้าพง หญ้าชันกาด หญ้าแพรก
4) ควรพ่นไกลโฟเซต ในระยะวัชพืชยังไม่ออกดอก และ มีความสูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร
5) ไม่ควรใช้น้ำขุ่นหรือน้ำกระด้าง ผสมกับไกลโฟเซค เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพในการกำจัดลำต้น และรากของวัชพืชลดลง
6) ควรติดตามพยากรณ์อากาศ หากมีแนวโน้มฝนจะตกไม่ควรพ่น (ระยะปลอดฝนหลังพ่นไกลโฟเซต 4-6 ชั่วโมง จึงจะมีประสิทธิภาพดีในการกำจัดวัชพืช)
คุณสมบัติของ ไกลโฟเซต
สารใกลโฟเซตเป็นสารกำจัดวัชพืชที่ใช้พ่นทางใบและ ใช้พ่นหลังวัชพืชงอก กำจัดวัชพืชฤดูเดียวและวัชพืชข้ามปี เป็นสารประเภทไม่เลือกทำลาย กำจัดวัชพืชได้ทั้งประเภท ใบแคบ ใบกว้าง และกกเคลื่อนย้ายได้ดีในพืชกำจัดวัชพืชที่มี หัว เหง้า ไหลใต้ดินได้ดี เข้าทำลายโดยการขับยั้งการสร้างกรดอะโหนี้ วัชพืชที่ได้รับสารจะตายภายใน 10 – 14 วัน
อันตราย และ ข้อควรระวัง
เพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะเร็งต่อมน้ำเหลือง จากการประมวลงานวิจัยจำนวนมากล่าสุด (2019) พบว่าการสัมผัส สารไกลโฟเซตเพิ่มความเสี่ยงการเป็นมะร็งต่อมน้ำเหลืองชนิด NHL(Non-Hodgkin’s lymphoma) สูงกว่าผลการศึกษาเดิมถึง 41% ศาลในรัฐแคลิฟอร์เนียร์ ตัดสินให้บริษัทผู้ผลิตสารเคมีต้องชดใช้ค่าเสียหาย แก่ผู้ใช้ไกลโฟเซตและต่อมาพบว่าป่วยด้วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง NHL
ผลกระทบต่อการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ (EDC) สมาคมต่อมไร้ท่อสหรัฐอเมริกา (endocrine society) ระบุว่าเป็นสารที่รบกวนการทำงานของระบบต่อมไร้ท่อ
ผลกระทบต่อการเกิดโรคไตเรื้อรัง ผลงานวิจัยของ นักวิทยาศาสตร์ชาวศรีลังกา พบว่า ไกลโฟซตสามารถจับตัวกับสารหนูในน้ำบาดาลก่อให้เกิดโรคไตเรื้อรัง (CKD)
ไกลโฟเซตในซีรั่มของแม่และสะดือทารก
พบไกลโฟเซตในซีรั่มของแม่และสะดือทารก เด็กแรกเกิด 46.3 – 50.7 % ของจำนวนตัวอย่าง การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและห่วงซ่อาหาร ไกลโฟเซตอาจจะตกค้างในดินมากกว่า 1 ปี ในดินเหนียวซึ่งมีสารอินทรีย์วัตถุมากและจะถูกชะล้าง ได้เร็วในดินทราย การตกค้างของสารไกลโฟเซตในประเทศไทยนั้น ม.นเรศวร ได้ตรวจพบที่จังหวัดน่าน โดยพบในดิน 145.04 – 3,311.69 ug/kg และพบการตกค้างในน้ำดื่มบรรจุขวด จังหวัดน่าน เฉลี่ย 10.1 ug/ และพบในน้ำประปา 11.26 ug/
ยี่ห้อ/ราคา จำหน่ายในไทย
ราวด์อั้พ (RoundUp)
ไกลโฟเสต-ไอโซโพพิลแอมโมเนีย 48%
แมมมอธแดง
ไกลโฟเสต-ไอโซโพพิลแอมโมเนีย 48%
ตราไก่พระอาทิตย์
ไกลโฟเสต-ไอโซโพพิลแอมโมเนีย 48%
จระเข้ยิ้ม
ไกลโฟเสต-ไอโซโพพิลแอมโมเนีย 48%
หวีทอง
ไกลโฟเสต-ไอโซโพพิลแอมโมเนีย 48%
มาร์เก็ต ตราหมาแดง
ไกลโฟเสต-ไอโซโพพิลแอมโมเนีย 48%
บทความที่เกียวข้อง
ไกลโฟเซต ตกค้างในดิน ผลกระทบอาจมากกว่าที่คิด !!
ไกลโฟเซต เป็นอีกหนึ่งสารกำจัดวัชพืชยอดฮิตในไทย โดยจะออกฤทธิ์กับวัชพืชในช่วงกำลังเจริญเติบโต (post emergence) ไม่สามารถใช้เป็นสารควบคุมก่อนงอกของพืชได้ กลไกที่ออกฤทธิ์ คือ […]
ไกลโฟเซต ออกฤทธิ์กี่วัน ?
ไกลโฟเซต เป็น ยาฆ่าหญ้า ในกลุ่ม phosphonic acid ชื่อทางการค้าที่พบบ่อยในไทยและต่างประเทศคือ “ราวด์อั๊พ” […]