เพนดิเมทาลิน (pendimethalin) เป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเลือกทำลาย (Selective herbicide) ที่ออกแบบมาเป็นพิเศษสำหรับการควบคุมวัชพืชหลากหลายชนิด รวมถึงหญ้าประจำปี ซึ่งคือวัชพืชที่มีอายุเพียงฤดูเดียวหรือปีเดียว หลังจากงอก ออกดอก เช่น หญ้าตีนกา ผักโขม ผักยาง และวัชพืชใบกว้าง เช่น ผักโขม ผักเบี้ยหิน ไมยราบเครือ ซึ่งเพนดิเมทาลินเป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชตระกูล dinitroaniline
ประวัติของ เพนดิเมทาลิน
เพนดิเมทาลินได้รับการจดทะเบียนครั้งแรกในปี พ.ศ. 2515 และได้รับการอนุมัติจาก U.S. Environmental Protection Agency (US EPA) สำหรับใช้ในการควบคุมวัชพืชก่อนเกิดและหลังเกิดของวัชพืชใบกว้างและใบแคบหลากหลายชนิดในพื้นที่ทำการเกษตรหลายชนิด ได้แก่ ฝ้าย ข้าวโพด ข้าวฟ่าง ถั่วลิสง ข้าว ถั่ว ถั่วลันเตา ข้าวสาลี มันฝรั่ง ถั่วเหลือง ทานตะวัน ยาสูบ และไม้ผล เป็นต้น
เพนดิเมทาลินทำงานยังไง
เพนดิเมทาลินเป็นสารกำจัดวัชพืชแบบเลือกทำลาย (Selective herbicide) ในกลุ่ม dinitroanilines มีความสามารถในการกำจัดวัชพืชคือก่อนวัชพืชก่อนงอก (pre-emergence) และวัชพืชหลังงอก (post-emergence) โดยเพนดิเมทาลินเป็นสารดูดซึมเข้าทางรากและใบวัชพืช จะรบกวนกระบวนการเจริญเติบโตของรากและหน่อต้นกล้าของวัชพืช โดยยับยั้งการแบ่งเซลล์และการยืดตัวของเซลล์วัชพืช ทำให้วัชพืชตายอย่างรวดเร็วตั้งแต่เริ่มงอกขณะโผล่พ้นผิวดิน ซึ่งจะออกฤทธิ์ต่อส่วนปลายรากของวัชพืช ยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมันสายยาว ส่งผลยับยั้งการแบ่งเซลล์และการยืดตัวของเซลล์ส่วนระบบราก ทำให้ต้นอ่อนวัชพืชชะงักการเจริญและตายก่อนโผล่พ้นผิวดิน จึงสามารถควบคุมจำนวนของวัชพืชและป้องกันไม่ให้วัชพืชเจริญเติบโต โดยเฉพาะในช่วงการพัฒนาที่สำคัญของพืชผล เพนดิเมทาลินมักมาในรูปแบบเม็ดซึ่งเป็นของแข็งคล้ายคริสตัลซึ่งมีสีเหลืองอมส้มและมีกลิ่นผลไม้ และถูกจัดอยู่ในกลุ่ม K1 ตามการจัดประเภทของคณะกรรมการดำเนินการต้านทานสารกำจัดวัชพืช (Herbicide Resistance Action Committee: HRAC)
ประโยชน์ของ เพนดิเมทา
เพนดิเมทาลินเป็นสารกำจัดวัชพืชแบบคัดเลือก (Selective herbicide) ซึ่งหมายความว่าแทนที่จะฆ่าพืชทั้งหมดที่สัมผัสกับสารเคมี แต่เพนดิเมทาลินจะฆ่าเฉพาะวัชพืชเป้าหมายที่ต้องการกำจัดเท่านั้น ส่วนพืชปลูกจะไม่รับอันตรายจากเพนดิเมทาลิน
เพนดิเมทาลินมีความสามารถออกฤทธิ์คุมหรือฆ่าวัชพืชชนิดใบแคบ เช่น หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนนก หญ้าปากควาย หญ้าตีนติด เป็นต้น วัชพืชชนิดใบกว้าง เช่น หญ้าตีนกา หญ้าตีนนก หญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย ผักเบี้ยหิน ผักเบี้ยใหญ่ ผักโขม ผักโขมหนาม เป็นต้น และกก แต่จะมีประสิทธิภาพในการควบคุมวัชพืชใบแคบได้ดีกว่าวัชพืชใบกว้าง มักใช้ในพื้นที่การเกษตรสำหรับการปลูกข้าว ฝ้าย ถั่วเหลือง ข้าวโพด ถั่วลันเตา ถั่วเขียว มันฝรั่ง เป็นต้น
วิธีการนำเพนดิเมทาลินไปใช้
การใช้งานเพนดิเมทาลินจะมีความแตกต่างกันออกไปตามขนาดและชนิดของพื้นที่เกษตรกรรม เช่น
– สำหรับพื้นที่ในการปลูกข้าวไร่ และข้าวนาหว่านแห้ง อัตราในการใช้คือ 400-600 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 60-80 ลิตร ฉีดพ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ โดยต้องพ่นหลังหว่านข้าว
– สำหรับพื้นที่ในการปลูกอ้อย อัตราในการใช้คือ 600-800 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 60-80 ลิตร ฉีดพ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ โดยฉีดพ่นหลังปลูกอ้อย หรือหลังตัดแต่งตออ้อยก่อนวัชพืชงอก
– สำหรับพื้นที่ในการปลูกหอม กระเทียมและพืชผัก อัตราในการใช้คือ 400-600 มิลลิลิตร ต่อน้ำ 60-80 ลิตร พ่นฉีดบนพื้นที่ 1 ไร่
เกษตรกรควรศึกษารายละเอียดการใช้จากฉลากเพิ่มเติมก่อนใช้ เพื่อใช้สารกำจัดวัชพืชที่เหมาะสม และหลีกเลี่ยงการใช้ในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น เพื่อปกป้องพืชผล และลดผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อม
อันตราย และ ข้อควรระวัง จากการใช้ เพนดิเมทาลิน
การได้รับสัมผัสสารเพนดิเมทาลินอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรัง ซึ่งผลกระทบต่อสุขภาพแบบเฉียบพลัน จะเป็นผลกระทบต่อร่างกายที่เกิดขึ้นในระยะสั้น โดยเกิดผลกระทบทันทีหรือไม่นานหลังจากสัมผัสเพนดิเมทาลิน ดังต่อไปนี้
– การสัมผัสจะทำให้ผิวหนังและดวงตาระคายเคืองได้
– การสูดดมเพนดิเมทาลินอาจทำให้จมูกและคอระคายเคือง
– การได้รับสารเพนดิเมทาลินอาจทำให้เกิดอาการปวดศีรษะ วิงเวียน คลื่นไส้ และอาเจียน
ส่วนผลกระทบต่อสุขภาพแบบเรื้อรัง หรือระยะยาว สามารถเกิดขึ้นจากผ่านระยะหนึ่งหลังจากได้รับสารเพนดิเมทาลิน และซึ่งเพนดิเมทาลินสามารถตกค้างอยู่ได้นานเป็นเดือนหรือปี ถึงแม้ว่าจะสามารถตกค้างภายในร่างกายได้อย่างยาวนาน แต่ไม่มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ใดที่บ่งชี้ว่าการใช้เพนดิเมทาลินจะก่อให้เกิดอันตรายจากมะเร็ง
นอกจากผลกระทบต่อสุขภาพแล้วข้อควรระวังจากการใช้เพนดิเมทาลินเพิ่มเติมคือ เพนดิเมทาลินเป็นพิษต่อปลา และข้าวโพดเนื่องจากถ้าใช้แบบก่อนเพาะปลูกเพนดิเมทาลินอาจโดนเมล็ดพันธุ์ได้ แต่ข้อดีของเพนดิเมทาลินคืออาจผสมใช้ร่วมพร้อมกับสารกำจัดวัชพืชชนิดอื่นๆ ได้ หากจำเป็นต้องใช้เพนดิเมทาลินในพื้นที่การเกษตร เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อใช้ในการกำจัดวัชพืชได้อย่างถูกต้อง และมีประสิทธิภาพสูงสุด
ยี่ห้อ/ราคา จำหน่ายในไทย
บทความที่เกียวข้อง
No posts