พาราควอต (Paraquat) เป็นสารเคมีทางการเกษตรที่ใช้กำจัดวัชพืช ออกฤทธิ์โดยการดูดซึมทางใบอย่างไม่เจาะจงชนิดของวัชพืช ส่งผลทำลายเยื่อพืชโดยก่อกวนการสังเคราะห์ด้วยแสงรวมทั้งเยื่อห่อหุ้มเซลล์ ส่งผลให้ใบแห้งอย่างเร็ว เกษตรกรไทยนิยมใช้กำจัดวัชพืชใน ไร่อ้อย มันสำปะหลัง ยางพารา ฯลฯ การวิเคราะห์ทางพิษวิทยา องค์การอนามัยโลก (WHO) กล่าวว่า พาราควอตเป็นสารที่มีความเป็นพิษสูงจำนวนที่ทำให้คนแก่เสียชีวิตได้อยู่ที่ 4 มก.ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. ถ้าหากได้รับสารทางปาก นำมาซึ่งการก่อให้เกิดอาการแสบร้อน กำเนิดแผลในหลอดลมรวมทั้งระบบทางเดินอาหารสามารถไปสู่ร่งกายผ่านการสัมผัส สูด แปดเปื้อนในของกิน แล้วก็ยังนำมาซึ่งการก่อให้เกิดโรคต่างๆตัวอย่างเช่น ก่อโรคพาร์กินสัน โรคสมองเสื่อม ที่สำคัญเป็นสารก่อโรคมะเร็ง นอกเหนือจากการที่จะเป็นอันตรายต่มนุษย์แล้ว ยังหลงเหลือในสภาพแวดล้อม ดิน แหล่งน้ำธรรมชาติ และก็สินค้าการกสิกรรม ทำให้คนสามัญที่มิได้สัมผัสโดยตรง ได้รับผลพวงต่อร่างกายจากสารแปดเปื้อนได้เหมือนกันในประเทศไทย พาราคว็อทมีชื่อทางการค้าว่า กรัมม็อกโซน (Grammoxone) เป็นยาฆ่าวัชพืชที่นิยมใช้ที่สุดในประเทศไทย
พาราควอท (Paraquat) สารเคมีที่เกิดจากการสังเคราะห์ หรือ ยาฆ่าหญ้า ชนิดหนึ่ง โดยจัดอยู่ในกลุ่มชนิดของสารกำจัดศัตรูพืชซึ่งโดยปกติสารเคมีกำจัดวัชพืช แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ พวกที่มีพิษทำลายไม่เลือก กับพวกที่มีเจาะจงกลุ่มวัชพืช คือทำลายเฉพาะ วัชพืชใบกว้าง หรือ วัชพืชใบแคบ ทั้งนี้ พาราควอท จัดอยู่กลุ่มของสารกำจัดวัชพืชที่มีไม่เลือกทำลาย
ประวัติของ พาราควอต
พาราควอต เป็นสารเคมีที่ถูกคิดค้นขึ้นมาครั้งแรกในปี 1882 รู้จักในฐานะเป็น ยาปราบศัตรูพืช (Herbicide) ในปี 1955 และผลิตในเชิงอุตสาหกรรมครั้งแรกเพื่อเป็นสารกำจัดวัชพืชในปี 1962 โดยบริษัท ICI ที่ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร จากการรวมกิจการหลายครั้ง ในที่สุด ICI ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของ “ซินเจนทา” บรรษัทข้ามชาติสัญชาติสวิส บริษัทนี้เป็นผู้ผลิตพาราควอตรายใหญ่ของโลก ในชื่อการค้า “กรัมม็อกโซน” รายได้หลักของบริษัทนี้มาจากการขายสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยมียอดขาย ยาฆ่าหญ้า ทั้งหมดปีละ 11.381 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ปี 2014) เฉพาะในประเทศไทยมียอดขายเฉพาะพาราควอต มากกว่า 1,000 ล้านบาทต่อปี
พาราควอท ถูกมาใช้ประโยชน์ในทางการเกษตรในไทยครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2505 ในชื่อที่เราอาจคุ้ยเคย กรัมม็อกโซน ไตรควอท หรือ เดกซ์ซูรอน สารที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสารเคมีที่สามารถกำจัดวัชพืชได้รวดเร็วที่สุด ด้วยคุณสมบัติในการทำลายคลอโรฟิลล์ในพืชได้อย่างดีเยี่ยม จึงเป็นที่นิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้ชาวเกษตรกร เพราะเป็นสารเคมีที่ออกฤทธิ์ ได้อย่างรวดเร็วทันใจ สามารถทำลายพืชให้แห้งเหี่ยวตายได้ภายในระยะเวลาเพียงแค่ 1-2 ชม. หลังถูกสารเคมีดังกล่าว มักพบใช้มากในกลุ่มเกษตรกร ผู้ที่ปลูกอ้อย ยางพารา และมันสำปะหลัง
พาราควอต ทำงานยังไง
พาราควอท เป็นสาร กำจัดวัชพืช กลุ่ม Dipyridyl ซึ่งใช้กำจัดวัชพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพและรวดเร็ว แต่ถึงกระนั้นพาราควอทก็มีพิษต่อมนุษย์อย่างร้ายแรง ถ้ากินเข้าไปแม้เพียงเล็กน้อย ก็อาจทำให้ถึงแก่ชีวิตได้ จากระบบอวัยวะภายในล้มเหลว ปอดไม่สามารถแลกเปลี่ยนแก๊สได้ ทำให้ปอดเกิดพังผืด จนผู้ป่วยระบบหายใจล้มเหลว และ เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว อีกทั้งยังหาซื้อได้ง่าย จึงมีผู้นำพาราควอทมาใช้เป็นยาพิษในการฆ่าตัวตาย จึงทำให้มีผู้เสียชีวิตจากสารเคมีชนิดนี้จำนวนมาก
โดยทัวไป พาราควอท จะออกฤทธิ์โดยการหยุดยั้งการเติบโตของเซลวัชพืช เฉพาะในส่วนที่เป็นสีเขียว และทำให้เนื้อเยื่อของเซลล์นั้นแห้งลง โดยไม่แพร่กระจายเข้าสู่เนื้อเยื่อไม้ จึงสามารถใช้ได้กับพืชผลหลายชนิด ทั้งไม้ต้นสูงและเตี้ย
ประโยชน์ คุณสมบัติ และ วิธีนำไปใช้
พาราควอต เป็นยาฆ่าหญ้าที่มีประสิทธิภาพสูง ทำให้ต้นหญ้าหรือพืชใบเขียวไหม้ตายได้อย่างรวดเร็ว มีราคาประหยัดมาก และการสลายตัวในสิ่งแวดล้อมก็ทำได้ค่อนข้างดี แต่ในทางวิชาการนั้นเราวัดจากปริมาณของวัชพืชที่แห้งตาย – เทียบกับช่วงเวลาการฉีดพ่น ซึ่งพาราควอตทำให้วัชพืชแห้งตายภายในสัปดาห์แรกมาก แต่ประสิทธิภาพลดลงในสัปดาห์ถัดๆไป ดังนั้นประสิทธิภาพของพาราควอตจึงจะไม่ดีเท่าสารอื่นๆ อีกหลายชนิดเมื่อวัดจากระยะเวลาในการฉีดพ่นที่ทิ้งระยะยาว
ประโยชน์
- กำจัดวัชพืชใบกว้าง เช่น ผักเบี้ยหิน ถั่วลิสงนา เช่งใบมน ผักโขม และปอวัชพืช เป็นต้น
- กำจัดวัชพืชใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนติด หญ้าปากควาย และหญ้านกสีชมพู เป็นต้น
- กำจัดวัชพืชที่สูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร
ปล. เหมาะสำหรับกำจัดวัชพืชสูงไม่เกิน 30 เซนติเมตร
อันตราย และ ข้อควรระวัง
ช่องทางการสัมผัส พาราควอท ที่ร้ายแรงที่สุดคือทางการกิน หากพาราควอทถูกดูดซึมผ่านเยื่อบุทางเดิน จะขึ้นถึงระดับสูงสุดในเลือดได้ภายใน 2 ชั่วโมง แต่หากมีอาหารอยู่ในกระเพาะอาหารการดูดซึมจะลดลงบ้าง ในการสัมผัสผ่านผิวหนัง หากเป็นผิวหนังปกติที่ไม่มีแผลการดูดซึมทำได้ไม่ดีมากนัก แต่หากเป็นผิวหนังที่มีแผลหรือสัมผัสอยู่เป็นเวลานาน สามารถดูดซึมเข้าทางผิวหนังจนเกิดพิษได้ ส่วนการดูดซึมเข้าทางการหายใจนั้นทำได้ไม่ค่อยดีนัก การหายใจจึงไม่ใช่ช่องทางสำคัญของการดูดซึมพาราควอท โดยโอกาสเกิดพิษอย่างรุนแรงจากช่องทางนี้มีไม่มากนัก สำหรับการขับถ่ายออกจากร่างกายจะขับออกทางปัสสาวะเป็นหลัก
ในการได้รับสารเข้าสู่ทางร่างกายจากทางปาก ผิวหนัง ในกลุ่มเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ จากพฤติกรรมต่างๆ เช่น การใช้งาน บรรจุ ขนส่ง การผลิต และจำหน่าย เมื่อร่างกายได้รับสารเคมีชนิดนี้เข้าไป อาจมีอาการตั้งแต่เล็กน้อย จนไปถึงขั้นร้ายแรง จนอาจเสียชีวิตได้ โดยแยกเป็น พิษแบบเฉียบพลัน และ พิษแบบเรื้อรัง อาการเฉียบพลันที่พบเห็นได้บ่อยคือ อาจเกิดแปลในปาก อาเจียน ปวดท้อง เจ็บคอ แสบร้อนในช่องอก ระยะต่อมาคือ อาการทางระบบปัสสาวะ ทำให้ปัสสาวะน้อยหรือติดขัด ไตวาย หอบ เหนื่อย ตับอักเสบ จนระบบภายในไม่ทำงาน และถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด หากโดนผิวหนังก็จะทำให้เกิดบาดแผลผุพอง ไหม้ แสบร้อน
ยี่ห้อ/ราคา จำหน่ายในไทย
– พาราควอต (กรัมม็อกโซน) ถูกแบนในไทยแล้ว –
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง บัญชีรายชื่อวัตถุอันตราย (ฉบับที่ 6) ปี พ.ศ. 2563 วันที่ 15 พ.ค. 2563 ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 19 พ.ค. 2563 มีผลบังคับใช้ และกำหนดให้ พาราควอต คลอร์ไพริฟอส เป็นวัตถุอันตรายชนิดที่ 4
บทความที่เกียวข้อง
No posts