โพรพานิล เป็นสารเคมีในกลุ่มสารกำจัดวัชพืชที่จัดอยู่ในกลุ่มของ organic herbicides โดยการออกฤทธิ์ของ โพรพานิลนั้นจะยับยั้งการสังเคราะห์แสงของวัชพืชภายหลังการงอกของวัชพืช (post emergence) ในประเทศไทยนั้นสารกำจัดวัชพืชในกลุ่มนี้มักจะเป็นสารผสมระหว่างบิวทาคลอร์ และโพรพานิลซึ่งเป็นสูตรผสมของสารกำจัดวัชพืชสามารถใช้ภายหลังการเกิดขึ้นเพื่อควบคุมวัชพืชหลายชนิดได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะในข้าว หรือเป็นโพรพานิลที่มีความเข้มข้นได้ตั้งแต่ 30% – 98%
ประวัติของ บิวทาคลอร์ และ โพรพานิล
ตามประกาศของกระทรวงมหาดไทยในปี พ.ศ. 2515 บิวทาคลอร์ และ โพรพานิล ถูกจัดเป็นสารเคมีอันตราย และจากสถิติการนำเข้าวัตถุอันตรายที่ใช้ในทางการเกษตรในปี พ.ศ. 2562 พบว่าบิวทาคลอร์ และโพรพานิลเป็นมีลำดับติดในสิบของกำจัดวัชพืชที่มีการนำเข้าในประเทศไทยสูงสุด 10 อันดับแรก โดยมีการนำเข้าบิวทาคลอร์กว่า 2,364 ตัน และมีการนำเข้าโพรพานิล 980 ตัน ซึ่งคิดเป็นมูลค่าโดยประมาณกว่า 229 ล้านบาท และ 152 ล้านบาท ตามลำดับ
บิวทาคลอร์ และ โพรพานิล ทำงานยังไง?
บิวทาคลอร์และโพรพานิลเป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย (Selective herbicide) ในกลุ่ม chloroacetamide และ amide สามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งก่อนงอก (pre-emergence) และภายหลังงอก (post-emergence) มีฤทธิ์ดูดซึมเข้าทำลายวัชพืชส่วนที่อยู่ใต้ดินและยอดอ่อนวัชพืชที่พึ่งงอก ยับยั้งการเจริญเติบโตของราก หรือลำต้นของวัชพืช และฤทธิ์สัมผัสตาย กลไกออกฤทธิ์ของบิวทาคลอร์ คือการยับยั้งการสังเคราะห์กรดไขมันสายยาวโดยการจับกับ specific site ในคลอโรฟิลล์ของวัชพืช ส่งผลยับยั้งการแบ่งเซลล์ส่วนปลายยอดเจริญของวัชพืช และโพรพานิล จะออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ด้วยแสงของวัชพืช โดยขัดขวางการขนส่งอิเล็กตรอน ขัดขวางการตรึงคาร์บอนไดออกไซด์ ผลจากการทำงานร่วมกันของบิวทาคลอร์และโพรพานิลจึงให้ประสิทธิภาพสูงในการกำจัดวัชพืช
ประโยชน์ของ บิวทาคลอร์ และ โพรพานิล
ใช้กำจัดวัชพืชก่อนงอกและหลังวัชพืชงอกใช้ได้ทั้งใบแคบ เช่น หญ้าดอกขาว หญ้าขาวนก หญ้าแดง หญ้านกสีชมพู และใบกว้าง เช่น ผักปอดนา ขาเขียด ผักปลาบ และกก เช่น หนวดปลาดุก แห้วหมู กกขนาก กกทราย กกแดง กกสามเหลี่ยม เป็นต้น โดยเกษตรกรนิยมใช้ในพื้นที่เกษตรสำหรับนาข้าวหว่าน และข้าวนาตม
วิธีการนำ บิวทาคลอร์ และ โพรพานิล ไปใช้
บิวทาคลอร์และโพรพานิล เป็นสารเคมีกำจัดวัชพืชที่ใช้ควบคุมวัชพืชในนาข้าวหลังหว่าน 7-15 วัน ปริมาณและวิธีการใช้งานนั้นขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ใช้หลังหว่านข้าว และขนาดของพื้นที่แปลงเกษตร โดยทั่วไปอัตราที่ใช้คือ 300 – 400 ซีซี ต่อน้ำ 60-80 ลิตร ฉีดพ่นบนพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 50 – 65 มิลลิลิตร ผสมกับน้ำ 15 – 20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน และหากใช้ฉีดพ่นหลังหว่านข้าว 12 วัน ก่อนพ่นให้ระบายน้ำออก ให้ดินชื้นหลังจากฉีดพ่นเสร็จแล้วให้ทดน้ำเข้าหลังจากพ่น 2-3 วัน ทั้งนี้เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมก่อนการใช้งาน และใช้ตามอัตราที่ปรากฏบนตามฉลากข้างขวดเพื่อป้องกันการใช้บิวทาคลอร์และโพรพานิลมากเกินความจำเป็นเพราะอาจทำให้ข้าวที่ปลูกตายได้
อันตราย และ ข้อควรระวัง จากการใช้บิวทาคลอร์และโพรพานิล
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ได้รับสัมผัสกับบิวทาคลอร์และโพรพานิล มีดังนี้
สำหรับบิวทาคลอร์จะก่อให้เกิดผลกระทบในระยะสั้น หากสัมผัสโดยการสูดดม อาจระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ หากสูดดมอย่างต่อเนื่องอาจเกิดอาการวิงเวียนศีรษะได้ การสัมผัสทางผิวหนัง อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังแดงและแห้งกร้านจนทำให้เกิดอาการแพ้ หากสัมผัสกับตาอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองแก่ดวงตา หรือหากกลืนกินก็จะทำให้เกิดการคลื่นไส้ และอาเจียน
สำหรับโพรพานิลหากรับสัมผัสจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองต่อดวงตา และผิวหนัง หากได้รับปริมาณมากก็จะสามารถเข้าสู่กระแสโลหิตได้ อีกทั้งสามารถละลายได้ดีในไขมัน ส่งผลให้เกิดอาการโลหิตจางในที่สุด และมีผลเป็นอันตรายต่อตับและไตอีกด้วย
จากรายงานของศูนย์พิษวิทยา รามาธิบดี พบว่ามีผู้เสียชีวิตจากการได้รับพิษจากโพรพานิล อยู่ที่ประมาณ 10.9% และ 2.7% ในผู้เสียชีวิตที่ได้รับพิษจากสารผสมระหว่างโพรพานิลและบิวทาคลอร์ ดังนั้นเกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการหายใจเอาไอ สเปรย์ หรือละอองเข้าไป และหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผิวหนัง ดวงตา หรือสวมใส่เสื้อผ้าและอุปกรณ์ป้องกันอย่างเหมาะสมเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการใช้งาน นอกจากนี้แล้วบิวทาคลอร์และโพรพานิลยังเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำอีกด้วย
ยี่ห้อ/ราคา จำหน่ายในไทย
ดาราม๊อกซ์ 700
บิวทาคลอร์+โพรพานิล ขนาด 1 ลิตร ตราหมาแดง
ไซมาเรน 70
.
.
ซีโตรล่า
.
ชัตเตอร์
.
ทูริช 70
.
โทมามุ 700
.
บทความที่เกียวข้อง
No posts