ประเภท ยาฆ่าหญ้า

รวมข้อมูลใน หมวดหมู่ของ “ประเภท ยาฆ่าหญ้า” ซึ่งเป็นข้อมูลที่เกียวข้องกับวัชพืช และ การกำจัดวัชพืช – ยาฆ๋าหญ้า เพชรดำ

วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบกว้าง เลือกยาฆ่าหญ้าอย่างไรให้เหมาะสม?

ปัจจุบัน ยาฆ่าหญ้า หรือสารเคมีกำจัดวัชพืชมีการใช้งานอย่างกว้างขวางในประเทศไทย รวมถึงในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น อเมริกา อังกฤษ หรือญี่ปุ่น นอกจากการกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นพืชที่ไม่ต้องการในการในแปลงเกษตรแล้วนั้น สารเคมีกำจัดวัชพืชยังมีผลต่อการกำจัดพืชชนิดอื่นๆ ด้วย เช่น ผัก พืชผล ต้นไม้พุ่มสูง หรือพืชปลูก  วัชพืชสามารถแบ่งออกตามอายุวงจรชีวิต เช่น วัชพืชฤดูเดียวหรือปีเดียว และวัชพืชค้างปีหรือวัชพืชถาวร นอกจากนี้อาจแบ่งตามลักษณะของใบ ซึ่งได้แก่ วัชพืชใบกว้าง และวัชพืชใบแคบ ยาฆ่าหญ้า วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบแคบ(narrow leaf weeds) หมายถึงวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป มีลักษณะคือส่วนยาวของใบยาวกว่าส่วนกว้างของใบ และมีเส้นใบขนานกันไปตามความยาวของใบ ลำต้นกลมมีข้อ ปล้อง เห็นได้ชัดเจน มักเรียกวัชพืชพวกนี้ว่าหญ้า เช่น หญ้าตีนติด หญ้าขน หญ้าตีนกา หญ้าปากควาย หญ้าขจรดอกเล็ก เป็นต้น สามารถใช้สารเคมีฉีดพ่นก่อนงอกหรือหลังงอกก็ได้ หากฉีดพ่นก่อนงอกอาจใช้ อะลาคลอร์ (alachlor) หรือที่นิยมเรียกว่า แลสโซ่ ไตรฟลูราลิน (trifluralin) หรือฉีดพ่นหลังงอกอาจใช้ พาราควอต (paraquat) ดาลาพอน …

วัชพืชใบแคบ วัชพืชใบกว้าง เลือกยาฆ่าหญ้าอย่างไรให้เหมาะสม? Read More »

ยาฆ่าหญ้าแบบ เลือกทำลาย/ไม่เลือกทำลาย คืออะไร ต่างกันยังไร?

การทำเกษตรกรรมการกำจัดวัชพืชคิดเป็น 1 ใน 3 ของต้นทุนการผลิต หากไม่กำจัดหรือกำจัดล่าช้าส่งผลให้ผลผลิตเกิดความเสียหายได้ วัชพืชยังเป็นที่อยู่อาศัยของศัตรูพืชหลายชนิด สารเคมีกำจัดวัชพืชจึงเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการทำเกษตรกรรมเนื่องจากให้ผลในการกำจัดวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว และสามารถใช้งานได้อย่างสะดวก ซึ่งสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ หรือชนิดสัมผัสตาย (contact herbicides) เป็นสารเคมีในการกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ สารเคมีประเภทนี้เมื่อสัมผัสกับส่วนของพืชจะทำอันตรายต่อเซลล์บริเวณที่สัมผัส และจะไม่เคลื่อนย้ายไปตามส่วนต่างๆ ปกติสารพวกนี้จะทำลายเซลล์พืชอย่างรวดเร็ว เหมาะที่จะใช้กับวัชพืชล้มลุก ถ้าใช้กับพวกที่มีเง่าหรือวัชพืชถาวรจะไม่ได้ผล สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดสัมผัสตาย สามารถจำแนกตามขอบเขตของวัชพืชที่ถูกควบคุมโดยจำแนกออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย (Selective) และสารกำจัดวัชพืชประเภทไม่เลือกทำลาย (non-selective) ตัวอย่างของสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดสัมผัสตาย ได้แก่ oils, D N B P (sinox PE), solan เป็นต้น สารกำจัดวัชพืช แบบเลือกทำลาย สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลาย (selective herbicide) เป็นสารกำจัดวัชพืชที่มีคุณสมบัติในการทำลายวัชพืชบางชนิด แต่จะไม่ทำลายวัชพืช หรือพืชปลูกบางชนิด ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายนี้สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ สารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายใบแคบ และสารกำจัดวัชพืชประเภทเลือกทำลายใบกว้าง ตัวอย่างของสารกำจัดวัชพืชพวกนี้ได้แก่ clomazone, …

ยาฆ่าหญ้าแบบ เลือกทำลาย/ไม่เลือกทำลาย คืออะไร ต่างกันยังไร? Read More »

ยาฆ่าหญ้า แบบ ดูดซึม เผาไหม้ คืออะไร ต่างกันอย่างไร?

วัชพืชเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลยับยั้งการเพิ่มขึ้นของผลผลิตทางการเกษตร โดยทั่วไปเกษตรกรนิยมใช้การควบคุมวัชพืชด้วยวิธีการทางเคมี (Chemical Control) ซึ่งเป็นวิธีการที่ให้ผลดี และสามารถกำจัดวัชพืชได้อย่างรวดเร็ว การจำแนกประเภทสารเคมีกำจัดวัชพืชสามารถจำแนกได้หลายรูปแบบขึ้นอยู่กับหลักการที่ใช้ หากพิจารณาลักษณะการทำลาย สามารถจำแนกสารเคมีกำจัดวัชพืชออกได้เป็น 2 ประเภท คือ สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม และสารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดเผาไหม้ หรือชนิดสัมผัสตาย ยาฆ่าหญ้า ชนิดดูดซึม สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดดูดซึม (systemic herbicides) เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่น มีลักษณะการทำลายคือ หลังจากสารกำจัดวัชพืชเข้าสู่ต้นพืชแล้ว จะเคลื่อนที่ไปทั่วต้นพืชโดยไปถึงลำต้นและรากที่อยู่ใต้ดิน ทำให้พืชตายได้ทั่วถึงและไม่มีหน่อของพืชแทงโผล่พ้นดินขึ้นมาใหม่ สารเคมีกำจัดวัชพืชชนิดนี้จะมีผลรุนแรงกับพวกพืชใบกว้าง หรือใบแคบเท่านั้น โดยสารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ สารเคมีกำจัดวัชพืชในกลุ่มไกลโฟเซต ซึ่งกำจัดวัชพืชแบบทำลายได้ทั้งชนิดใบกว้างและใบแคบ แต่กำจัดได้ดีที่สุดกับชนิดใบแคบ มักใช้ในการกำจัดวัชพืชที่มีหัวอยู่ใต้ดิน เช่น หญ้าคา แห้วหมู ไมยราบยักษ์ ใช้ฉีดพ่นทางใบ และวัชพืชจะดูดซึมเข้าไปทำลายส่วนต่างๆ อย่างช้าๆ สามารถเห็นผลได้ภายในสัปดาห์ที่ 3 หากต้องการให้ได้ผลดีจะต้องฉีดพ่นวัชพืชที่มี 4-8 ใบ หรือต้นที่แก่เต็มที่ หากฉีดพ่นวัชพืชที่มีอายุน้อยมักจะไม่ได้ผล ซึ่งไกลโฟเซทมีผลตกค้างในดินน้อยมาก เนื่องจากถูกจุลินทรีย์ในดินย่อยสลาย และสารกำจัดวัชพืชกลุ่ม 2,4-ดีโซเดียมซอลท์ จะใช้ฉีดพ่นทางใบโดยเลือกทำลายเฉพาะวัชพืชใบกว้าง และกก เช่น ผักตบชวา ขาเขียด …

ยาฆ่าหญ้า แบบ ดูดซึม เผาไหม้ คืออะไร ต่างกันอย่างไร? Read More »

ยาฆ่าหญ้า แบบ ก่อนปลูก, ก่อนงอก, หลังงอก

สารเคมีกำจัดวัชพืช (Herbicide หรือ Weedicide) หรือที่เรียกทั่วไปว่า “ยาฆ่าหญ้า” เป็นสารกำจัดศัตรูพืชที่ใช้ฆ่าพืชที่ไม่ต้องการ หรือยับยั้งการเจริญเติบโตของวัชพืช ไม่ว่าจะเป็นในขณะที่วัชพืชงอกขึ้นมาแล้ว หรือยังเป็นเมล็ดอยู่ รวมไปถึงชิ้นส่วนต่าง ๆ ของวัชพืชที่ขยายพันธุ์ได้ที่อยู่ในดิน หรืออยู่บนดิน ในการผลิตสินค้าทางการเกษตรจำเป็นต้องมีปัจจัยการผลิตเข้ามาสนับสนุน เพื่อให้ได้ทั้งปริมาณและคุณภาพของผลผลิตพอเพียงกับความต้องการบริโภคภายในประเทศ และเพื่อการส่งออก สารเคมีกำจัดวัชพืชนั้นจึงมีความสำคัญต่อเกษตรกรรมเพื่อตัวควบคุมวัชพืช อีกทั้งสารเคมีกำจัดวัชพืชยังมีการใช้อย่างกว้างขวางทั่วโลก รวมถึงในประเทศไทย ปัจจุบันสารกำจัดวัชพืชมีหลายชนิด ในการเลือกสารกำจัดวัชพืชนั้นขึ้นอยู่กับความเฉพาะเจาะจงตามวัตถุประสงค์ของผู้ใช้ ซึ่งหากแบ่งกลุ่มของสารเคมีกำจัดวัชพืชตามลักษณะการใช้งานสามารถแบ่งประเภทได้ดังนี้ ยาฆ่าหญ้า ประเภทก่อนปลูก สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนปลูกหรือล้างแปลง (Pre-Planting) : เป็นสารเคมีที่ใช้พ่นก่อนการเตรียมดิน เพื่อกำจัดวัชพืชที่ขึ้นอยู่ก่อน แล้วจึงไถเตรียมดิน หรือใช้พ่นเพื่อฆ่าวัชพืชแทนการเตรียมดินแล้วปลูกพืช โดยสารกำจัดวัชพืชประเภทนี้ได้แก่ ไกลโฟเซท (Glyphosate), พาราควอท (Paraquat) หรือที่รู้จักในชื่อ กรัมม็อกโซน (Gramoxone), อะทราซีน (Atrazine) หรืออะมีทรีน (Ametryn) เป็นต้น ซึ่งออกฤทธิ์โดยการดูดซึมเข้าสู่วัชพืชเพื่อใช้ป้องกันการขึ้นของหญ้า ยาฆ่าหญ้า ประเภทก่อนงอก สารกำจัดวัชพืชประเภทก่อนงอก (Pre-Emergence) : ส่วนใหญ่เกษตรกรมักเรียก “ยาคุมหญ้า” เป็นสารเคมีที่ใช้ฉีดพ่นหลังปลูกพืช และก่อนที่วัชพืชจะงอกในช่วงเวลาประมาณไม่เกิน …

ยาฆ่าหญ้า แบบ ก่อนปลูก, ก่อนงอก, หลังงอก Read More »