ฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชที่คนไทยรู้จักกันมานานแล้วตั้งแต่สมัยโบราณ โดยปลูกขึ้นเพื่อนําเส้นใยจากผลของ ฝ่ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม เป็นต้น แต่ในสมัยก่อนปลูกกันจํานวนน้อยไว้ใช้สําหรับ ในครอบครัวเท่านั้น ไม่ได้ปลูกเป็นอาชีพหรือไว้จําหน่าย ต่อมาในสมัยหลัง ๆ ประชากรเพิ่มมากขึ้น ประเทศชาติเจริญขึ้น ความต้องการผ้ายเพื่อใช้ทอเป็นเครื่องนุ่งห่มก็มีมากขึ้น การปลูกฝ้ายจึงขยายพื้นที่ ปลูกเพิ่มขึ้น และมีการปลูกเป็นอาชีพเพื่อจําหน่าย จนกระทั่งถึงสมัยปัจจุบัน ความต้องการฝ้ายยิ่งทวี จํานวนมากขึ้น จนมีไม่เพียงพอ ต้องสั่งซื้อผ้ายจากต่างประเทศเข้ามาปีละจํานวนมาก
ลักษณะของฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่มีขนาดและทรงต้นไม่สูงนัก จัดอยู่ในจําพวกไม้พุ่มขนาดกลาง มีกิ่งก้าน สาขาแตกแยกออกจากลําต้นจํานวนมาก ใบของฝ่ายจะเป็นแฉก ๆ มี 3-7 แฉก ที่บริเวณใบและลําต้น จะมีขนเล็กปกคลุมแผ่ทั่วไป ดอกของฝ่ายจะเกิดขึ้นตรงบริเวณโคนก้านใบเหนือข้อ ดอกเป็นดอก สมบูรณ์เพศ เมื่อยังอ่อนอยู่จะมีกลีบรองหุ้มอยู่ 3 กลีบ เมื่อดอกบานจะมีสีขาวหรือเหลือง ดอกมี 5 กลีบ ซ้อนกัน ดอกจะบานอยู่เพียงวันเดียว โดยจะบานในตอนเช้า และในตอนบ่ายจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือ ชมพูและจะเที่ยวในที่สุด ผลของฝ่ายจะเกิดจากดอกที่ผ่านการผสมเกสรแล้ว ผลของฝ่ายเรียกว่า “สมอ ฝ้าย” มีรูปร่างกลมมนหรือรูปไข่ปลายแหลม ภายในผลจะประกอบไปด้วยเส้นใยที่เรียกว่า “ปุยฝ้าย” และเมล็ดฝ้ายจํานวนมาก เมื่อผลแก่เต็มที่เปลือกของผลจะแตกและบานออก ปุยฝ้ายที่อยู่ภายในจะฟู ออกมาทําให้มองเห็นปุยฝ้ายขาวไปหมดทั้งต้น
แหล่งปลูกฝ้ายในประเทศไทย
ประเทศไทยปลูกฝ้ายกันมากในจังหวัดสุโขทัย เลย นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ นครปฐม เพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
พันธุ์ฝ้าย
พันธุ์ฝ้ายที่กรมวิชาการเกษตรส่งเสริมให้เกษตรกรปลูก ได้แก่ พันธุ์ศรีสําโรง 2 ศรีสําโรง3 และพันธุ์ตากฟ้า 1
การปลูกฝ้าย
1. การเตรียมดิน การเตรียมดินเพื่อปลูกฝ้ายมีวิธีการและขั้นตอนเช่นเดียวกันกับการเตรียมปลูก พืชไร่ชนิดอื่น ๆ คือ จะต้องกําจัดวัชพืชออกให้หมดจากพื้นที่ที่จะปลูกฝ้าย โดยทําการไถดินและพรวน ดินให้ร่วนซุย ปรับพื้นที่ปลูกให้สม่ําเสมออย่าให้เป็นหลุมเป็นบ่อ เพื่อป้องกันน้ําขังแช่ราก เพราะฝ้าย เป็นพืชที่ไม่ชอบน้ําขัง และการไถพรวนนี้ นอกจากจะช่วยป้องกันกําจัดศัตรูพืชแล้ว ยังช่วยทําให้เมล็ด ฝ้ายที่ปลูกงอกได้ดีและสม่ําเสมอกันด้วย
2. วิธีปลูก ขุดหลุมให้ลึกประมาณ 2-4 เซนติเมตร ห่างกันหลุมละประมาณ 50 เซนติเมตร ระหว่างแถวประมาณ 100 เซนติเมตร หยอดเมล็ดลงไปในหลุมหลุมละ 5-6 เมล็ด ใช้ดินกลบเมล็ดให้มิด ชิด ภายหลังจากเมล็ดฝ้ายงอกแล้วประมาณ 20 วัน จะต้องถอนเอาต้นที่อ่อนแอและไม่แข็งแรงออกให้ เหลือหลุมละ 2 ต้น
3. การดูแลรักษา หลังจากการถอนแยกต้นฝ้ายให้เหลือหลุมละ 2 ต้นแล้ว อีกประมาณ 1 สัปดาห์ ควรจะถอนต้นฝ้ายให้เหลือหลุมละ 1 ต้น ทั้งนี้เพื่อสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เช่น การ พรวนดิน การพูนโคน การดายหญ้า การให้ปุ๋ย และการกําจัดศัตรูฝ้าย
ประโยชน์ของฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชไร่ที่สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนต่าง ๆ ได้ดี ดังนี้
ปุยฝ้าย ปุยฝ้ายหรือเส้นใยนําไปใช้ทําเครื่องนุ่งห่มชนิดต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ผ้าห่ม กางเกง ถุงเท้า หมวก ถุงมือ ฯลฯ ใช้ทําเครื่องใช้ภายในบ้านเรือน เช่น ผ้าม่าน ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้า ปูโต๊ะ พรม ฯลฯ ใช้ทําเชือกและใช้เป็นส่วนประกอบของเส้นใยเทียม เป็นต้น
เมล็ดฝ้าย เมล็ดฝ้ายสามารถนําไปสกัดเอาน้ํามัน เพื่อใช้ในการประกอบอาหารประจําวันได้เป็น อย่างดีเช่นเดียวกันกับน้ํามันพืชอื่น ๆ นอกจากจะใช้ประกอบอาหารแล้ว ยังนําไปใช้เป็นวัตถุดิบใน โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น ทํายารักษาโรค ทําเนยเทียม ทําสารเคมีปราบศัตรูพืช ทําเครื่องสําอาง ได้อีกด้วย ส่วนกากเมล็ดที่เหลือจากการสกัดเอาน้ํามันจะมีโปรตีนสูงมาก สามารถนําไปใช้ทําเป็น อาหารสัตว์หรือปุ๋ยได้เป็นอย่างดี
สภาพภูมิอากาศที่เหมาะแก่การปลูกฝ้าย
ฝ้ายเป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในเขตร้อนและมีแสงแดดเพียงพอ ฝ้ายไม่ชอบอากาศหนาว ประเทศที่ปลูกฝ่ายมาก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต เม็กซิโก บราซิล ตุรกี อินเดีย จีน ปากีสถาน และอียิปต์ เป็นต้น ดินที่เหมาะแก่การปลูกฝ้าย สภาพดินที่เหมาะสมแก่การปลูกฝ่ายควรจะเป็นดินร่วน ดินร่วนปนทราย หรือดินเหนียวปนทราย ที่สามารถระบายน้ําได้ดีและมีความอุดมสมบูรณ์พอสมควร
การพรวนดินคายหญ้า ควรจะกระทําเป็นระยะ ๆ หลังจากฝ่ายอายุได้ประมาณ 60 วันไม่ต้อง พรวนดินคายหญ้าอีก เพราะต้นฝ้ายจะเจริญเติบโตเป็นพุ่มปกคลุมพื้นดินหมดแล้วการป้องกันกําจัดศัตรูฝ้าย ศัตรูฝ้ายที่สําคัญมีหลายชนิด เช่น เพลี้ยจักจัน เพลี้ยอ่อนย้าย เพลีย ไฟ จะคอยดูดกินน้ําเลี้ยงจากส่วนต่าง ๆ ของฝ้าย เช่น ใบอ่อน ยอดอ่อน ดอก และลําต้น หนอนชนิด ต่าง ๆ เช่น หนอนม้วนใบ หนอนกินใบ หนอนเจาะสมออเมริกัน หนอนเจาะสมอสีชมพู หนอนพวกนี้จะ คอยกัดกินและทําลายใบสมอฝ้ายและลําต้นให้ได้รับความเสียหาย การ
เก็บเกี่ยวฝ้าย
ตามปกติฝ้ายจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุโดยเฉลี่ยประมาณ 120 วันหลังจากปลูก โดยจะเก็บเกี่ยว เฉพาะปุยฝ้ายที่มีสีขาวเท่านั้น และจะต้องไม่ให้มีส่วนอื่น ๆ ของฝ้ายติดมาด้วย