มันสำปะหลัง การดูแลรักษา ชนิดและพันธุ์ การเก็บเกียว

มันสําปะหลัง

มันสําปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญชนิดหนึ่ง ในจํานวนพืชไร่หลายชนิดที่ปลูกกันมากใน ประเทศไทย มันสําปะหลังเป็นพืชที่ให้ประโยชน์ได้หลายทาง เช่น ใช้เป็นอาหารสัตว์ในรูปของมันอัด เม็ด มันปูน ใช้ทําแป้งมั่นในการปรุงเป็นอาหารและทําขนมต่างๆ ใช้ในงานอุตสาหกรรม เช่น ทํา กาว ทําผงชูรส ทําสาคู ทําสีผสมอาหาร ทําแอลกอฮอล์เพื่อใช้เป็นพลังงานแทนน้ํามัน เป็นต้น

มันสำปะหลัง

ในปัจจุบันประเทศไทยส่งมันสําปะหลังไปจําหน่ายต่างประเทศ ทํารายได้ให้แก่ประเทศปีละ หลายล้านบาท

มันสําปะหลังจัดอยู่ในประเภทไม้ยืนต้นที่มีพุ่มเตี้ย มีอายุอยู่ได้หลายปี ส่วนที่จะนํามาใช้ ประโยชน์ ได้แก่ ราก หรือที่เรานิยมเรียกว่า หัว นั่นเอง ซึ่งหัวของมันสําปะหลังจะเกิดอยู่บริเวณโคนต้น ลึกลงไปในดินประมาณ 6-8 หัว ลําต้นของมันสําปะหลังจะเป็นข้อ ๆ มองเห็นได้ชัดเจน ซึ่งข้อนั้นเกิด ขึ้นจากรอยแผลของก้านใบที่ร่วงหล่นไปนั่นเอง มันสําปะหลังมีถิ่นกําเนิดอยู่ในแถบอเมริกาใต้ เช่น ประเทศเม็กซิโก และบราซิล

การดูแลรักษามันสำปะหลัง

การปฏิบัติดูแลรักษา

ภายหลังจากการปลูกแล้วอ้อยจะเริ่มเจริญเติบโต การที่อ้อยจะเจริญเติบโตช้าหรือเร็ว งอกงาม มากน้อย หรือจะให้ผลผลิตมากน้อยเพียงใดนั้น ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติดูแลรักษา เช่น การให้น้ํา ให้ปุ๋ย การพรวนดิน การกําจัดวัชพืช โรค แมลง และศัตรูอื่น ๆ เป็นต้น

1. การให้น้ํา ควรให้น้ําเมื่อสังเกตเห็นว่าดินเริ่มแห้ง

2. การให้ปุ๋ย การให้ปุ๋ยแก่อ้อยอาจจะให้ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักผสมคลุกเคล้ากับ ดินก่อนปลูก จะช่วยทําให้ดินเหมาะแก่การเจริญเติบโตงอกงาม และเพิ่มธาตุอาหารให้แก่อ้อย หรืออาจ จะให้ปุ๋ยเคมี เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของอ้อยให้เร็วยิ่งขึ้น

3. การพรวนดินกําจัดวัชพืช การพรวนดินจะช่วยให้อ้อยเจริญเติบโตเร็วยิ่งขึ้น เพราะทําให้ ดินร่วนโปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก ช่วยรักษาความชื้นในดิน และกําจัดวัชพืชที่คอยแย่งน้ําและอาหาร ในดินด้วย

4. โรคของอ้อย โรคของอ้อยเกิดขึ้นจากเชื้อโรคต่างๆ หลายชนิด เช่น โรคที่เกิดจากเชื้อรา ได้แก่ โรคราดําหรือโรคแส้ดํา โรคไส้แดง โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ได้แก่ โรคใบลายหรือใบด่าง เป็นต้น ควรป้องกันกําจัดทันทีเมื่อปรากฏว่าเกิดโรคเหล่านี้ขึ้น

5. แมลงศัตรูอ้อย แมลงศัตรูอ้อยมีอยู่มากมาย แต่ที่ทําความเสียหายให้แก่ชาวไร่อ้อยที่สําคัญ ได้แก่ แมลงสีขาว ตกแตน ปลวก และด้วงกินราก เป็นต้น

พันธุ์ของมันสำปะหลัง

ชนิดและพันธุ์ของมันสําปะหลัง

มันสําปะหลังที่นิยมปลูกอยู่ในประเทศไทย ปัจจุบันนี้แยกออกได้ 3 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. มันสําปะหลังชนิดหวาน หรือประเภทที่ใช้หัวเป็นอาหารของมนุษย์โดยตรง มันสําปะหลัง ประเภทนี้นิยมปลูกกันมากตามบ้านเรือนตามร่องสวนทั่ว ๆ ไป ลักษณะทั่ว ๆ ไปที่สังเกตได้ง่าย คือ เก้านใบจะมีสีแดงเข้ม ต้นและหัวจะมีขนาดเล็ก เปลือกของหัวจะมีสีแดงหรือชมพู มันสําปะหลังชนิดนี้ บางคนเรียกว่า พันธุ์ห้านาที พันธุ์สวน พันธุ์ยอดแดง เป็นต้น นิยมปลูกเพื่อนํามาทําอาหารบริโภค ภายในครอบครัว เช่น ต้ม ปิง เชื่อม เผา หรือขนมอื่น ๆ อีกหลายชนิด

2. มันสําปะหลังชนิดขม ประเภทที่ใช้หัวในงานอุตสาหกรรม มันสําปะหลังชนิดนี้ปลูกกัน มากที่สุดในประเทศไทย เพื่อนําหัวส่งโรงงานอุตสาหกรรมและแปรรูปออกมาเป็นผลิตภัณฑ์มันสําปะหลัง เช่น มันอัดเม็ด มันเส้น สําหรับใช้เป็นอาหารสัตว์ หรือเป็นแป้งมันสําปะหลังเพื่อนําไป ประกอบอาหาร และกิจกรรมอื่น ๆ มันสําปะหลังชนิดนี้ไม่เหมาะแก่การนําหัวมารับประทานหรือใช้ เลี้ยงสัตว์โดยตรง เพราะมีสารพิษปะปนอยู่มาก ลักษณะของมันสําปะหลังชนิดนี้ ก้านใบจะมีสีเขียว อ่อนปนแดงหรือม่วง ลําต้นและหัวจะโตกว่ามันสําปะหลังชนิดหวาน

3. มันสําปะหลังชนิดที่ปลูกเพื่อใช้เป็นไม้ประดับ หรือประเภทที่เรียกว่า มันสําปะหลังประดับ มันด่าง เป็นต้น เป็นชนิดที่ปลูกเพื่อความสวยงาม ไม่ได้ปลูกเพื่อรับประทานหรือใช้ประโยชน์จากหัว มันสําปะหลังชนิดนี้ใบจะมีสีเขียวปนสีเหลืองหรือขาวอยู่ทั่วไป มีความสวยงามมาก เมื่อต้นโตจะเป็นพุ่ม

การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยว

มันสําปะหลังจะเก็บเกี่ยวได้เมื่อมีอายุประมาณ 8-12 เดือน หลังจากการปลูก การเก็บเกี่ยว สามารถทําได้หลายวิธี เช่น การถอนขึ้นมาทั้งต้นพร้อมกับหัว การใช้จอบหรือเสียมขุด การใช้จอบหรือ เสียมขุดจะต้องระมัดระวังอย่าให้จอบหรือเสียมถูกหัวมันเป็นแผล เพราะจะทําให้หัวมันเสียหายและ เสื่อมคุณภาพ

แบ่งปันบทความ