การผลิตปุ๋ยหมักอัดแท่ง

สูตรปุ๋ยหมักอัดแท่ง
สูตรปุ๋ยหมักอัดแท่ง

ปุ๋ยหมักอัดแท่ง หรือ ปุ๋ยหมักไฮ – คอมเพล็กซ์ เป็นการนําปุ๋ยหมักที่ใช้ประโยชน์ ได้แล้วมาอัดให้เป็นแท่งหรือเป็นเม็ด แล้วนําไปผ่านกระบวนการที่สามารถทําให้แห้งโดยแสงแดด หรือผ่านความร้อนที่อุณหภูมิเหมาะสม และให้มีความชื้นอยู่ในปริมาณที่ต่ํา สามารถเก็บรักษา ไว้ได้นาน ปุ๋ยหมักอัดแท่งที่ได้นี้จึงอยู่ในสภาพที่แห้ง เป็นแท่งหรือเม็ด สะดวกที่จะนําไปใช้ ในไร่นา และเมื่อถูกน้ําหรือความชื้นจะยุ่ยและปลดปล่อยธาตุอาหารพืชส่วนหนึ่งออกมาอย่าง รวดเร็ว ส่วนสารอินทรีย์ที่เหลืออยู่จะค่อยๆถูกจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์อยู่ในดินใช้เป็นอาหาร และย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารที่เหลืออยู่ลงดิน และเป็นอาหารพืชต่อไปภายหลังได้ โดยปกติปุ๋ยหมักจะมีความชื้นประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์ แต่เมื่อทําให้แห้ง ความชื้นจะ ลดลงเหลือน้อยกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ จะเห็นได้ว่าความชื้นจะลดลงไปประมาณ 1 ใน 3 ดังนั้น ปุ๋ยหมักในขณะที่มีความชื้นสูง 1,000 กิโลกรัม ถ้ามาทําให้แห้งก็จะมีน้ําหนักเพียง 300 กิโลกรัมเท่านั้น และสามารถเก็บปุ๋ยหมักที่อยู่ในสภาพที่แห้งไว้ใช้ได้ในระยะเวลาที่นานกว่า การเก็บปุ๋ยหมักในสภาพชิ้น

ปุ๋ยหมักอัดแท่ง
ปุ๋ยหมักอัดแท่ง

ขั้นตอนการอัดแท่งปุ๋ยหมัก

1. กองปุ๋ยหมักโดยวิธีการทําปุ๋ยหมักโดยทั่วไป ซึ่งจะใช้เวลาในการกองประมาณ 2 เดือน ขึ้นอยู่กับวิธีการกองและวัสดุที่ใช้ในการกอง

2. นําปุ๋ยหมักที่ได้มาตรวจสอบความชื้น ความชื้นที่เหมาะสมในการอัดแท่งประมาณ 40 เปอร์เซ็นต์โดยน้ําหนัก สามารถตรวจสอบโดยการกําและบีบปุ๋ยหมักด้วยมือ
– ถ้าแห้งเกินไปจะเป็นก้อนเหมือนกัน แต่จะหลุดลุ่ยได้ง่าย ลักษณะเช่นนี้ ควรฉีดพ่นด้วยน้ํา แล้วผสมคลุกเคล้ากันให้ดี
– ถ้าความชื้นมากเกินไปจะเป็นก้อนแฉะ และมีน้ําไหลออกจากมือ ควรเกลี่ย กองปุ๋ยให้บาง เพื่อไล่ความชื้นส่วนเกินออกไป

3. ทําการปรุงแต่งให้มีธาตุอาหารหลัก คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม ในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เพื่อเหมาะสําหรับการใช้ในการปลูกผัก ไม้ดอกไม้ประดับ ไม้ผล พืชไร่ และดินผสมสําหรับไม้กระถางต่างๆ และเหมาะเป็นพิเศษกับการใช้บํารุงไม้ใบ

4. นําปุ๋ยหมักที่ปรับความชื้นจนเหมาะสมแล้วเข้าเครื่องอัดแท่ง เครื่องอัด เครื่องบดเนื้อหมูในการอัดแท่ง

5.นําปุ๋ยหมักที่อัดแท่งแล้วทําให้แห้ง เหลือความชื้นประมาณ 10 เปอร์เซ็น การตากแดดเพียงแดดเดียว เพราะว่าหากตากแดดมากเกินไปจะสูญเสียธาตุอาห ความร้อนจากแสงแดด หรือถ้าตากน้อยเกินไป ยังมีความชื้นเหลืออยู่มาก จุลินทรีย์ ย่อยสลายต่อไป และทําให้สูญเสียธาตุอาหารได้เช่นกัน

6. เก็บรักษาปุ๋ยหมักอัดแท่งที่แห้งแล้วในภาชนะที่แห้ง ปิดสนิท เช่น ถุง เพื่อป้องกันความชื้น

ข้อดีของปุ๋ยหมักอัดแท่งมีดังนี้

1. สะดวกแก่การขนส่ง และเก็บรักษาได้นาน โดยจะมีการสูญเสียธาตุอาหารพืช ในระหว่างการเก็บรักษาน้อยมาก

2. เม็ดปุ๋ยมีลักษณะแห้ง แข็ง และมีน้ําหนักเบา แต่เมื่อถูกน้ําหรือความชื้นจะค่อยๆ ยุย และปลดปล่อยธาตุอาหารพืชออกมา

3. สะดวกแก่การใส่ลงดิน

4. สามารถใช้กับพืชได้ทุกชนิด

5. ค่าใช้จ่ายในการดําเนินการไม่แพง และสามารถดําเนินการได้เอง

การทำปุ๋ยหมักแบบอัดแท่ง
การทำปุ๋ยหมักแบบอัดแท่ง

การใช้ปุ๋ยหมักอัดแท่ง

เนื่องจากปุ๋ยหมักอัดแท่งมีปริมาณธาตุอาหารสูงกว่าในปุ๋ยหมักโดยทั่วไป ดังนั้นอัตรา การใช้จะน้อยลงจากเดิมประมาณ 3 เท่า

การใช้ปุ๋ยหมักอัดแท่งกับพืชผักและไม้ดอกไม้ประดับ

การใช้ในแปลง หว่านปุ๋ยอัดแท่งให้ทั่วแปลงในอัตรา 1 กิโลกรัมต่อตารางเมตร คลุกเคล้า กับดินแล้วจึงหยอดเมล็ดหรือย้ายกล้า และต่อมาอีกหนึ่งเดือนให้ใส่ปุ๋ยหมักอัดแท่งนี้อีกครั้ง ในอัตราเท่าเดิมในระหว่างแถวของพืช แล้วพรวนดิน รดน้ําแต่พอดี

การใช้ผสมดินสําหรับปลูกพืชในกระถาง โดยใช้ดิน 2 ส่วน ขุยมะพร้าวแห้ง 1 ส่วน และปยหมักอัดแท่ง 1 ส่วน เข้าด้วยกัน แล้วจึงย้ายกล้าหรือกิ่งชําลงกระถาง ในระหว่างการ เจริญเติบโตให้โรยปุ๋ยหมักอัดแท่งนี้ที่ผิวหน้าดินในกระถาง หนา 1 เซนติเมตร ทุกๆ 2 เดือน

ไม้ผลและไม้ยืนต้น

ใส่ปุ๋ยหมักอัดแท่งในระยะการเตรียมหลุมปลูก ผสมปุ๋ยหมักอัดแท่ง 1 ส่วน กับดิน 2-3 ส่วน แล้วเทใส่ลงด้านล่างของหลุมปลูก
การใส่ปุ๋ยหมักอัดแท่งกับไม้ผลที่เจริญเติบโตดีแล้ว ให้ใส่รอบทรงพุ่มในอัตรา 10-15 กิโลกรัมต่อต้น ในทุกๆ ปีหลังการตัดแต่งทรงพุ่ม

พืชไร่ต่างๆ

หว่านปุ๋ยหมักอัดแท่งให้ทั่วแปลง หรือโรยปุ๋ยเป็นแถวตามแนวของพืชที่ปลูกใน อัตรา 300 – 500 กิโลกรัมต่อไร่ คลุกเคล้ากับดินให้ดี แล้วจึงหยอดเมล็ดพืช และเมื่อพืช มีอายุ 40 – 50 วัน ให้ปุ๋ยนี้เสริมแก่พืชอีกครั้งหนึ่ง

แบ่งปันบทความ