ในการผลิตปุ๋ยหมักควรมีหลักเกณฑ์ที่พิจารณาถึงปัจจัยที่จําเป็นต่อการทําปุ๋ยหมัก ดังนี้ คือ
1.การเลือกสถานที่ที่จะใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก
การเลือกสถานที่หรือบริเวณที่จะ ผลิตปุ๋ยหมักมีความสําคัญ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสะดวก ประหยัดแรงงานและเวลาในการจัดทํา กองปุ๋ยหมัก จึงมีหลักในการพิจารณาดังนี้ คือ
- ควรเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้กับแหล่งที่มีซากพืชและซากสัตว์มากที่สุด เพื่อ ความสะดวกในการขนย้ายในการทําปุ๋ยหมัก และสะดวกในการขนย้ายไปใช้ในเรน เช่น ลานนวดข้าว ลานสีข้าวโพด และข้าวฟ่าง เป็นต้น
- ควรเป็นบริเวณที่อยู่ใกล้แหล่งน้ํา ทั้งนี้เพื่อความสะดวกในการรดน้ําให้กอ ปุ๋ยหมัก แต่ควรมีระยะห่างจากแหล่งน้ําบริโภค
- ควรเป็นบริเวณที่ดอน น้ําท่วมไม่ถึง และมีระดับพื้นราบเรียบเสมอ” ให้มากที่สุด
2.แรงงาน
ในการกองปุ๋ยหมักปริมาณมากๆ จะต้องใช้แรงงานในการขนย้ายวัสดุและ กลับกองปุ๋ยหมัก ดังนั้นจึงควรพิจารณาถึงปริมาณแรงงานที่จะใช้ในการปฏิบัติงานแต่ละครั้ง
3.การเตรียมวัสดุต่างๆ ที่นํามาใช้ผลิตปุ๋ยหมัก
ในแต่ละท้องถิ่นจะมีวัสดุต่างๆ ที่นํา มาใช้ในการผลิตปุ๋ยหมักได้แตกต่างกัน ซึ่งจําแนกได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้
- ซากพืช ได้แก่ ซากพืชชนิดต่างๆ ที่เหลือทิ้งไว้ในไร่นาหลังจากเก็บเกี่ยว ผลผลิตไปแล้ว สามารถนํามากองทําเป็นปุ๋ยหมักได้ เช่น ฟางข้าว เปลือกถั่ว ต้นถั่ว ต้นข้าวโพด ซังข้าวโพด ใบอ้อย ต้นและใบฝ่าย ซากหญ้าชนิดต่าง ๆ ทั้งที่เป็นหญ้าสดและหญ้าแห้ง ใบไม้ทุกชนิด เป็นต้น ซากพืชดังกล่าวสามารถหา ได้ง่ายจากในไร่นาที่มีการเพาะปลูกพืช ในการเลือกซากพืชเพื่อใช้ในการทําปุ๋ยหมักนี้ ควรพิจารณาถึงความยากง่ายในการสลายตัว โดยพิจารณาจากค่าสัดส่วนของธาตุ คาร์บอนและไนโตรเจนที่เป็นองค์ประกอบ (C/N ratio) ของพืชนั้นๆ เช่น ใน ซากพืชที่สลายตัวได้ง่าย ซึ่งได้แก่ ต้นและใบข้าวโพด ซากพืชตระกูลถั่วต่างๆ จะมีสัดส่วนของคาร์บอนและไนโตรเจนที่ต่ํา ส่วนตอซังของข้าว กากอ้อย ฟางข้าว จะสลายตัวได้ช้ากว่า และจะมีสัดส่วนของคาร์บอนและไนโตรเจนที่สูง ถ้ามีการ กําจัดวัชพืชในไร่นา ก็สามารถนําวัชพืชต่างๆ ในแม่น้ําลําคลอง ไร่นา และจากหนองบึง ซึ่งได้แก่ ผักตบชวา จอก แหน และกกต่างๆ เป็นต้น หรืออาจจะใช้เศษขยะ มูลฝอยต่างๆ ที่ย่อยสลายได้จากครัวเรือน หรือในบริเวณที่มีวัสดุทางการเกษตร ที่เหลือทิ้งจากโรงงานอุตสาหกรรม ได้แก่ กากอ้อยจากโรงงานน้ําตาล เปลือก สับปะรดจากโรงงานอาหารกระป๋อง ขี้เลื่อยจากโรงเลื่อย และแกลบจากโรงสีข้าว เป็นต้น
- ซากสัตว์หรือปุ๋ยคอก ซึ่งเป็นแหล่งของจุลินทรีย์และอาหารของจุลินทรีย์ หรืออาจจะใช้สารเร่งที่เป็นแหล่งจุลินทรีย์ที่มีประสิทธิภาพในการย่อยสลายสูง จะ เป็นตัวเร่งให้เกิดการย่อยสลายเร็วขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยร่นระยะเวลาในการทําปุ๋ยหมัก
- ปุ๋ยเคมี การใช้ปุ๋ยเคมีในการทําปุ๋ยหมักมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มธาตุอาหาร ให้แก่จลินทรีย์ เช่น การเพิ่มธาตุไนโตรเจนลงในกองปุ๋ย ซึ่งจะใช้ปุ๋ยแอมโมเนียม ซัลเฟต หรือปุ๋ยยูเรีย เพื่อเป็นแหล่งธาตุอาหารให้แก่จุลินทรีย์ที่ทําหน้าที่ในการ ย่อยสลายซากพืชในกองปุ๋ยหมัก โดยไนโตรเจนจากปุ๋ยเคมีที่ใส่ลงในกองปุ๋ยจะถูก จุลินทรีย์นําไปใช้และแปรสภาพให้เป็นสารอินทรีย์ไนโตรเจน กล่าวคือ ประมาณ หนึ่งเดือนหลังจากเริ่มหมักจะปรากฏว่ามีกรดแอมิโนในรูปน้ําตาล และกรดแอมิโน ต่างๆ ในกองปุ๋ยมากขึ้น และต่อมาจะมีสารประกอบกาแล็กโตซามีนเพิ่มปริมาณขึ้น ด้วย สารประกอบเหล่านี้สร้างขึ้นโดยจุลินทรีย์ที่เจริญเติบโตในกองปุ๋ยหมัก และ จะแปรรูปไปเป็นประโยชน์ต่อพืช นอกจากนี้การใช้ปุ๋ยเคมียังมีความสําคัญต่อการ
- หมักซากพืชที่มีสัดส่วนของคาร์บอนต่อไนโตรเจนกว้าง เช่น ฟางข้าวและตอซัง ข้าวโพด ดังนั้นการทําปุ๋ยหมักควรมีการใช้อัตราส่วนของซากพืชแห้ง ปุ๋ยคอก และ ปุ๋ยแอมโมเนียมซัลเฟตเท่ากับ 100 : 10 : 2 นอกจากนี้ การเพิ่มปุ๋ยฟอสเฟตและ โพแทสเซียมลงไปด้วยจะช่วยให้คุณภาพของปุ๋ยหมักนั้นดียิ่งขึ้น
- ปูนขาว เป็นการใส่เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เหมาะสมต่อ การเจริญเติบโตและการย่อยสลายซากพืชของจุลินทรีย์ โดยใช้ปูนขาวประมาณ 20 กิโลกรัมต่อซากพืชแห้ง 1 ตัน
- อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการผลิตปุ๋ยหมัก เป็นอุปกรณ์ที่มีใช้ในไร่นา เช่น คราด มีด จอบ เพื่อใช้ในการเตรียมเศษวัสดุหรือซากพืชที่จะนํามากองรวมกัน และใช้สําหรับปรับพื้นที่หรือขุดหลุมที่จะใช้เป็นที่กองซากพืชซากสัตว์และพลิกกลับ กองปุ๋ยหมักนั้น รถเข็น บึงกี่ หรือเข่งไม้ไผ่ สําหรับใช้ขนซากพืชซากสัตว์และ สารเร่งที่จะนํามากองรวมกัน และควรจะมีถังน้ํา บัวรดน้ํา และสายยางสําหรับใช้รดน้ํา