กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม ยาฆ่าหญ้าใน ไร่อ้อย

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปลูกอ้อย และส่งผลให้ผลผลิตของอ้อยลดต่ำลงเป็นอย่างมากรวมถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม ไม่ทันตามเวลา โดยความเสียหายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัชพืชและอายุของอ้อย

วัชพืชในไร่อ้อย มีกี่แบบ?

วัชพืชสำคัญในไร่อ้อย สามารถแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ได้ดังนี้ คือ วัชพืชใบกว้าง เป็นวัชพืชใบเลี้ยงคู่ การขยายพันธุ์ส่วนใหญ่ใช้เมล็ด เช่น ผักเบี้ยหิน โคกกระสุน ผักยาง เป็นต้น และวัชพืชใบแคบ ซึ่งเป็นวัชพืชใบเลี้ยงเดี่ยว การขยายพันธุ์มีหลายแบบ ส่วนใหญ่ใช้เมล็ดนอกจากนั้นขยายพันธุ์โดยใช้ส่วนรากและลำต้น วัชพืชพวกนี้แบ่งได้ 2 กลุ่ม ได้แก่ วัชพืชวงศ์หญ้า และวัชพืชวงศ์กก ซึ่งการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจึงเป็นทางเลือกหนึ่งเพื่อเพิ่มผลผลิตสำหรับเกษตรกรรมไร่อ้อย          

กลูโฟซิเนต แอมโมเนีย กำจัดหญ้าวัชพืช

กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม เป็นสารกำจัดวัชพืชชนิดหนึ่งที่นิยมใช้หลังงอกแบบไม่เลือกทำลาย ซึ่งจะเป็นอันตรายกับพืชทุกชนิดที่รับสารนี้เข้าไป มักใช้กำจัดวัชพืชทั้งใบแคบ เช่น หญ้าหางนกยูงใหญ่ หญ้าตีนติด หญ้านกสีชมพู หญ้าตีนกา และหญ้าดอกขาวไร่ ใช้กำจัดหญ้าตีนนก หญ้าลูกเห็บ หญ้ารังนก หญ้าตีนกา หญ้าตีนติด หญ้าปากควาย หญ้านกสีชมพู หญ้าขจรจบ หญ้าข้อ หญ้าขน หญ้าแพรก หญ้าคา ขี้ไก่ย่าน หญ้าเขมร ไมยราบเลื้อย ผักปราบ ผักยางสาบเสือ และวัชพืชใบกว้าง เช่น ผักเบี้ยหิน ผักโขมหนาม ซึ่งการออกฤทธิ์ในการกำจัดวัชพืชนั้นสามารถกำจัดวัชพืชได้ทั้งการสัมผัส และแทรกซึม ซึ่งในการกำจัดวัชพืชปราบยาก เช่น หญ้าเขมร ผักปราบ และหญ้ากัญชา ใช้ระยะปลอดฝนสั้นเพียง 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น 

วิธีกำจัดวัชพืชด้วย กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม

การใช้งาน กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม มักใช้หลังวัชพืชงอกเพื่อกำจัดวัชพืช โดยใช้อัตรา 600 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 60-80 ลิตร พ่นในพื้นที่ 1 ไร่ หรืออัตรา 150 มิลลิลิตร ผสมน้ำ 15-20 ลิตร พ่นบนพื้นที่ 1 งาน โดยพ่นลงบนต้นวัชพืชที่มีความสูงไม่เกิน 30 ซม. โดยระวังไม่ให้ละอองสารสัมผัสต้น และใบพืชปลูก 

ข้อดีของกลูโฟซิเนต แอมโมเนียม คือ สามารถออกฤทธิ์ทั้งการสัมผัสและแทรกซึม ฉีดได้ทั้งดินเปียกและดินแห้ง สามารถฉีดชิดใกล้โคนต้นได้ ปลอดภัยต่อระบบรากและลำต้นของพืชประธานทุกชนิด และออกฤทธิ์กำจัดรากวัชพืชระดับใต้ดิน 15 ซม. ทำให้ปลอดภัยต่อระบบรากพืชประธานรวมไปถึงมีฤทธิ์กำจัดวัชพืชปราบยากและวัชพืชดื้อยาทุกชนิด สลายตัวง่ายไม่ตกค้างในดินอีกด้วย 

ข้อควรระวัง ในการใช้ ..!!

แม้ว่า กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม จะมีก่อให้เกิดประโยชน์ต่อการเพิ่มผลผลิตในเกษตรกรรมไร่อ้อย แต่ในการใช้งานควรระมัดระวังความเป็นพิษของกลูโฟซิเนต แอมโมเนียมต่อพืชอื่นๆ ที่ปลูกร่วม ปลูกใกล้เคียงหรือปลูกตามหลัง และเกษตรกรเองสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น ถุงมือ หรือหน้ากาก เพื่อป้องกันการเกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังและดวงตาจากการสัมผัสกับกลูโฟซิเนต แอมโมเนีย

Adiruj Mahaniyom
ผู้เขียนบทความ
แบ่งปันบทความ