กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม | คือ ราคา ยี่ห้อ วิธีใช้ คุณสมบัติ

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_Glufosinate

กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม (glufosinate-ammonium) เป็น ยาฆ่าหญ้าที่อยู่ในกลุ่ม ฟอสฟินิค แอซิด(Phosphinic Acid) ซึ่งในกลุ่มสารนี้จะมีสารอยู่ 2 ตัวคือ กลูโฟซิเนต และ ไบลาฟอส กลูโฟซิเนต มีฤทธิ์เข้าทำลายเหมือนกลุ่ม ไกลซีน คือ ไกลโฟเซต และ อีก 3 กลุ่มแต่เห็นขายน้อยคนน่าจะไม่ค่อยรู้จัก
เป็นสารที่ใช้ฉีดพ่นหลังวัชพืชงอกแบบไม่เลือกทำลาย จึงมีฤทธิ์ในการทำลายวัชพืชได้ค่อนข้างกว้าง ต้องมีเวลาปลอดฝนประมาณ 2-3 ชั่วโมงในการฉีดพ่น

กลูโฟซิเนต – แอมโมเนียม เป็นสารกําจัดวัชพืชที่มีประสิทธิภาพสูงที่ใช้ในการกำจัดวัชพืชในพืชมากกว่า 100 ชนิด ในหลากหลายประเทศทั่วโลก เกษตรกรใช้ กลูโฟซิเนต – แอมโมเนียม เพราะช่วยให้มั่นใจในความปลอดภัยของพืชในระดับสูงเนื่องจากมีผลต่อส่วนต่าง ๆ ของพืชที่ใช้เท่านั้น มันมีประสิทธิภาพต่อวัชพืชหลากหลายชนิดทําให้ไม่จําเป็นต้องใช้สารกําจัดวัชพืชหลายชนิดเพื่อควบคุมวัชพืชที่แตกต่างกัน

ประวัติของ กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม

ในช่วงทศวรรษที่ 1960 และ 1970 นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Tübingen และที่ บริษัท Meiji Seika Kaisha ได้ค้นพบอย่างอิสระว่าแบคทีเรีย Streptomyces สายพันธุ์ผลิตไตรเปปไทด์ที่พวกเขาเรียกว่า bialaphos ที่ยับยั้งแบคทีเรีย ประกอบด้วยอะลานีนตกค้างสองชนิดและกรดอะมิโนที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นอะนาล็อกของกลูตาเมตที่พวกเขาตั้งชื่อว่า “ฟอสฟีโนทริซิน” พวกเขาระบุว่าฟอสฟีโนทริซินยับยั้งกลูตามีนซินเทเทสอย่างถาวร

ในช่วงปีทศวรรษ 1980 นักวิทยาศาสตร์ค้นพบเอนไซม์สายพันธุ์ Streptomyces เหล่านี้ซึ่งเลือกยับยั้งฟอสฟีโนทริซินอิสระ ยีนที่เอนไซม์ที่แยกได้จาก Streptomyces hygroscopicus เรียกได้ว่ายีน “ความต้านทาน bialaphos” หรือ “บาร์” และยีนที่เอนไซม์ใน Streptomyces viridochromogenes เรียกว่า “phosphinothricin acetyltransferase”

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_ทำงานยังไง

กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม ทำงานยังไง

เป็นสารกำจัดวัชพืชประเภทหลังงอก (post emergence) แบบไม่เลือกทำลาย ใช้กำจัดวัชพืชได้ทั้ง ใบแคบ และ ใบกว้าง กำจัดวัชพืช ทั้งสัมผัส และ แทรกซึม กำจัดวัชพืชปราบยาก เช่น หญ้าเขมร ผักปราบ ซึ่งมีความปลอดภัยต่อพืชประธาน ไม่ดูดซึมเข้าทางราก สลายตัวง่ายไม่ตกค้างในดิน มีกลไกออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์แสงของวัชพืช ในช่วงแดดจัดวัชพืชจะตายเร็วขึ้น ไม่ดูดซึมเข้าทางราก สลายตัวง่ายไม่ตกค้างในดิน โดยจะถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ ในดินอย่างรวดเร็ว สามารถกำจัดวัชพืชได้หลากหลาย

กลไกการทำงานของสารนี้คือไปยับยั้งการสร้างเอนไซม์ glutamine synthetase (GS) ซึ่งเอนไซม์หลักที่เกี่ยวข้องกับ การสังเคราะห์กรดอะมิโน glutamine (กลูตามีน) ทำให้มีผลกระทบต่อพืช โดยกลไกการทำลาย ทำให้เกิดการสร้างแอมโมเนียมสะสมในพืช ส่งผลในการสร้างโปรตีนในพืช ไปทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของพืช ยับยั้งกระบวนการสำคัญต่างๆของพืช เช่น การสังเคราะห์แสง การหายใจของแสง ทำให้พืชจะไม่เกิดการสร้างคลอโรฟิวส์ (สภาวะบกพร่องทางคลอโรฟิวส์) และ เกิดการตายเฉพาะส่วนอย่างรวดเร็วจน

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_ประโยชน์

ประโยชน์ และ วิธีนำไปใช้

ใช้กำจัดวัชพืชใบแคบ

  • หญ้าตีนติด
  • หญ้าตีนนก
  • หญ้านกสีชมพู
  • หญ้าปากควาย

ใช้กำจัดวัชพืชใบกว้าง

  • ผักเบี้ยหิน
  • ปอวัชพืช
  • ถั่วลิสงนา
  • ผักโขม

ใช้กำจัดวัชพืชปราบยาก เช่น หญ้าเขมร หญ้ากัญชา และ ผักปราบ

  • ออกฤทธิ์ทั้งเผาไหม้และดูดซึม
  • พ่นชิดใกล้โคนต้นได้ ปลอดภัยต่อราก และ ลำต้นของพืชประธานทุกชนิด
  • พ่นได้ทั้งดินเปียกและดินแห้ง
  • ปลอดภัยสำหรับการใช้กำจัดวัชพืชในไม้ผล
  • ออกฤทธิ์กำจัดรากวัชพืชระดับใต้ดิน 15 ซม. ทำให้ปลอดภัยต่อรากพืชประธาน
  • กำจัดวัชพืชปราบยากรวมถึงวัชพืชดื้อยาทุกชนิด
  • สลายตัวได้ไวไม่ตกค้างในดิน / ปลาไม่ตาย
  • ระยะปลอดฝนสั้น เพียง 2-3 ชั่วโมง
  • มีความปลอดภัยต่อพืชประธาน ไม่ดูดซึมเข้าทางราก

คุณสมบัติของ กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม

กลูโฟซิเนต มีคุณสมบัติเป็นสารประเภท สัมผัส เช่นเดียวกับพาราควอต เมื่อใช้ ยาฉีดหญ้าไปแล้วสารจะไปทำลายเฉพาะจุดที่พ่น ยาฆ่าหญ้าจะเข้าสู่พืชจะผ่านทางใบและส่วนที่มีสีเขียว แต่จะไม่เข้าทำลายทางรากของพืชที่งอกมาแล้ว ปลอดภัยต่อพืชประธาน แต่ไม่ควรฉีดโดนใบ เพราะมันเข้าสู่พืชทางใบ กลูโฟซิเนต สามารถกำจัดวัชพืชได้หลายชนิดมาก ทั้งพวก ใบกว้าง และ วงศ์หญ้า วัชพืชฤดูเดียว และ ข้ามปี แต่ไม่เป็นที่นิยมเอาไปใช้คุมวัชพืชข้ามปี เพราะว่ามีรากเหง้าและไหลใต้ดินขยายพันธุ์ต่อได้ กำจัดวัชพืชใน สวนยางพารา สวนปาล์ม สวนผลไม้ รวมถึง ในหัวคันนา ก็ได้เช่นกัน

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_วิธีใช้

อันตราย และ ข้อควรระวัง

เป็นวัตถุอันตราย ต้องใช้ด้วยความระมัดระวัง เพื่อป้องกันไม่ให้เป็นอันตรายต่อผู้ใช้และผู้อื่นๆ ผู้ใช้ต้องปฏิบัติดังนี้
1.ห้ามดื่มน้ำ กินอาหาร หรือสูบบุหรี่ ในขณะปฏิบัติงาน ห้าม เทสารที่เหลือหรือล้างภาชนะบรรจุ อุปกรณ์ เครื่องพ่นสาร ลงในแม่น้ำลำคลองหรือบริเวณใกล้เคียง เมื่อใช้สารหมดแล้ว ห้ามใช้ไฟเผาภาชนะบรรจุ หรือนำกลับมาไปใช้อีก ห้ามเด็กและผู้ที่ไม่เกี่ยวข้องเข้าไปในบริเวณที่กำลังพ่นสาร ห้ามใช้เครื่องพ่นนี้พ่นสารกำจัดศัตรูพืชชนิดอื่น
2.ขณะผสม ต้อง สวมถุงมือยางและหน้ากาก เพื่อป้องกันมิให้สารเข้มข้นถูกผิวหนังและกระเด็นเข้าตา การผสมให้ใช้ไม้กวน ขณะพ่นสาร ต้อง อยู่เหนือลมเสมอ และต้องสวมถุงมือยางและหน้ากาก ต้องล้างมือและหน้าให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำ ก่อนที่จะกินอาหาร ดื่มน้ำ หรือสูบบุหรี่ หลังจากทำงานเสร็จแล้วต้องอาบน้ำ สระผม เปลี่ยนเสื้อผ้า และทำการซักชุดที่สวมทำงานให้สะอาด ภาชนะบรรจุเมื่อใช้หมดแล้วให้กลั้วล้างด้วยน้ำ และ รวมเอาน้ำล้างไปใช้ผสมพ่นสาร กำจัดภาชนะบรรจุโดยทำลายแล้วฝังดิน หรือรวมไปทิ้งให้ปลอดภัย
3.ระวังอย่าให้เข้าปาก ตา จมูก หรือถูกผิวหนังและเสื้อผ้า ระวังความเป็นพิษไปสู่พืชอื่นๆ ที่ปลูกร่วม ปลูกใกล้เคียง หรือปลูกตามหลัง
4.การใช้สารกำจัดวัชพืช ซึ่งอยู่ในกลุ่มเดียวกันติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะทำให้วัชพืชเกิดการดื้อยา
5.อาจก่อให้เกิดอาการ ระคายเคืองตา และ บริเวณรอบดวงตา

ควรที่จะเก็บ กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม ในภาชนะเดิมที่ปิดแน่น มีฉลากติดอยู่ และ ไม่ให้โดนแสงแดด สถานที่เก็บต้องแห้ง และ เย็น ห่างจากมือเด็ก อาหาร สัตว์เลี้ยง น้ำดื่ม และเปลวไฟ

ยี่ห้อ/ราคา จำหน่ายในไทย

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_บาสโซน

บาสโซน

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_ทีเอที

ทีเอที

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_ตราช้างไทยออน

ช้างไทยออน

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_ตราเสือคู่

ตราเสือคู่

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_ไฟท์ติ้ง_แมมมอธแดง

ไฟท์ติ้ง แมมมอธแดง

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_แอสตราฟอส_นกยูง

แอสตราฟอส นกยูง

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL

กลูโฟซิเนต_แอมโมเนียม_เอ็กซ์กลูโฟ

เอ็กซ์กลูโฟ

กลูโฟสิเนต แอมโมเนียม 15%W/V SL


บทความที่เกียวข้อง

ยาฆ่าหญ้า เพชรดำ
กลูโฟซิเนต

การใช้ กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม กำจัดวัชพืช

การพึ่งพา ยาฆ่าหญ้า ชนิดเดียวมากเกินไปอาจทําให้วัชพืชที่ดื้อยาพัฒนาได้ สิ่งนี้ทําให้ความสามารถในการปลูกพืชในพื้นที่เฉพาะตกอยู่ในอันตราย เมื่อวัชพืชที่ดื้อยาพัฒนาขึ้นเกษตรกรต้องเผชิญกับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมที่จําเป็นในการควบคุมพวกเขา – การใช้สารกําจัดวัชพืชที่ไม่ได้วางแผนการใช้แรงงานคนที่รุนแรงและในกรณีที่รุนแรงการสูญเสียพืชผลทั้งหมด   แนวทางปฏิบัติในการจัดการวัชพืชแบบบูรณาการ […]

กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม-ยาฆ่าหญ้าใน-ไร่อ้อย
กลูโฟซิเนต

กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม ยาฆ่าหญ้าใน ไร่อ้อย

วัชพืชเป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการปลูกอ้อย และส่งผลให้ผลผลิตของอ้อยลดต่ำลงเป็นอย่างมากรวมถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากการใช้ กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม ไม่ทันตามเวลา โดยความเสียหายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับความหนาแน่นของวัชพืชและอายุของอ้อย วัชพืชในไร่อ้อย มีกี่แบบ? […]

ยาฆ่าหญ้า เพชรดำ
กลูโฟซิเนต

กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม ทํางานอย่างไร

กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม เป็นผลิตภัณฑ์ กำจัดวัชพืช ที่ทํางานโดยการยับยั้งเอนไซม์ที่เป็นศูนย์กลางของการเผาผลาญของพืช พืชดูดซับสารนี้เป็นหลักผ่านใบและส่วนสีเขียวอื่น ๆ ในฐานะที่เป็นสารกําจัดวัชพืชแบบสัมผัสกลูโฟซิเนต – […]

ยาฆ่าหญ้า เพชรดำ
กลูโฟซิเนต

กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม คือสารอะไร?

กลูโฟซิเนต-แอมโมเนียม เป็น สารกำจัดวัชพืช หรือที่เรียกกันว่า “ยาฆ่าหญ้า” ที่มีประสิทธิภาพสูงซึ่งใช้ในการ ควบคุมวัชพืช ในพืชมากกว่า […]

ยาฆ่าหญ้า เพชรดำ
กลูโฟซิเนต

กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม เผาไหม้ หรือ ดูดซึม?

กลูโฟซิเนต แอมโมเนีย เป็นอีกหนึ่ง ยาฆ่าหญ้ายอดนิยมในไทย โดนที่สามารถจะนำมาใช้ทดแทนสารเคมีกำจัดวัชพืชอื่นๆได้หลายประเภท โดยกลูโฟซิเนตสามารถออกฤทธิ์ได้ทั้ง เผาไหม้ และ […]